ประวัติหลวงพ่อพุทธทาสภิกขุ

ประวัติหลวงพ่อพุทธทาสภิกขุ

เกิด

เกิดวันอาทิตย์ที่ ๒๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๔๙ ขึ้น ๗ ค่ำ เดือน ๗ ปีมะเมีย หมู่บ้านกลาง
ตำบลพุมเรียง ที่ตั้งเดิมของจังหวัดไชยา ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นสุราษฎร์ธานี
เป็นบุตรชายคนโตของนายเซี้ยง และนางเคลื่อน พานิช มีชื่อเดิมว่า เงื่อม อายุห่างจากนายยี่เกย
ผู้เป็นน้องชายสองปี

เรียน

เมื่ออายุได้ ๘ ขวบ ก็เข้ารับการศึกษาแบบโบราณโดยบิดานำไปฝากเป็นเด็กวัด
ที่วัดพุมเรียงใกล้บ้าน เรียนได้สามปีก็กลับมาอยู่บ้าน
เข้าเรียนขั้นประถมที่โรงเรียนวัดโพธารามจนถึงชั้นมัธยมหนึ่ง
ก่อนจะย้ายเข้าไปเรียนที่โรงเรียนสารภีอุทิศ ตำบลตลาด อำเภอไชยา เพื่อไปอยู่กับบิดา
ซึ่งมาเปิดร้านค้าใหม่ที่นี่ แต่ต้องออกจากการศึกษากลางคัน
เนื่องจากบิดาถึงแก่กรรมด้วยโรคลมปัจจุบัน มาช่วยดำเนินกิจการค้ากับมารดา
ระหว่างนี้น้องชายบวชเป็นสามเณร และศึกษาระดับมัธยมที่โรงเรียนประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี
อ่านเพิ่มเติม

คำสอนท่านพุทธทาสภิกขุ

คำสอนท่านพุทธทาสภิกขุ

วันนี้เอาคำสอนของท่านพุทธทาสภิกขุมาฝากให้อ่านกันค่ะ เป็นคนหนึ่งที่ชื่นชอบและศรัทธาในคำสอนของท่าน เห็นด้วยกับหลายๆ คำสอนของท่าน ลองอ่านกันดูค่ะ น่าจะนำมาใช้ร่วมกับชีวิตประจำวันได้บ้างเล็กๆ น้อยๆ คะ ^ ^

โลกกลมๆ ใบนี้ไม่มีอะไรได้มาฟรีๆ
ของฟรีไม่เคยมี ของดีไม่เคยถูก

อยู่ให้ไว้ใจ ไปให้คิดถึง
คนเราต้องเดินหน้า เวลายังเดินหน้าเลย
ไม่ต้องสนใจว่าแมวจะสีขาวหรือดำ ขอให้จับหนูได้ก็พอ
ยิ่งมีใจศรัทธา ยิ่งต้องมีสายตาที่เยือกเย็น

ในโลกกลมๆ ใบนี้ ไม่มีคำว่า แน่นอน
คนเราเมื่อ ตัวตาย ก็ต้องลงดิน
ท้อแท้ได้ แต่อย่าท้อถอย
อิจฉาได้ แต่อย่าริษยา
พักได้ แต่อย่าหยุด
เหตุผลของคนๆ หนึ่ง อาจไม่ใช่ของคนอีกคนหนึ่ง
ถ้าไม่ลองก้าว จะไม่มีวันรู้ได้เลยว่า ข้างหน้าเป็นอย่างไร
อ่านเพิ่มเติม

จงทำกับเพื่อนมนุษย์ คำสอนท่านพุทธทาส ภิกขุ

จงทำกับเพื่อนมนุษย์ คำสอนท่านพุทธทาส ภิกขุ

พุทธทาส ภิกขุ
คำสอนท่านพุทธทาส

จงทำกับเพื่อนมนุษย์โดยคิดว่า
เขาเป็นเพื่อนเกิดแก่เจ็บตายของเรา
เขาเป็นเพื่อนเวียนว่ายอยู่ในวัฏฎสงสารเช่นเดียวกันกะเรา
เขาก็ตกอยู่ใต้อำนาจกิเลสเหมือนเราย่อมพลั้งเผลอไปบ้าง
เขาก็มีราคะโทสะโมหะไม่น้อยไปกว่าเรา
เขาก็ไม่รู้ว่าเกิดมาทำไมเหมือนเราไม่รู้จักนิพพานเหมือนเรา
เขาโง่ในบางอย่างเหมือนที่เราเคยโง่
เขาก็ตามใจตัวเองในบางอย่างเหมือนที่เราเคยกระทำ
เขาก็อยากดีเหมือนเราที่อยากดีเด่นดัง
เขาก็มักจะกอบโกยและเอาเปรียบเมื่อมีโอกาสเหมือนเรา
เขาเป็นคนธรรมดาที่ยึดมั่นถือมั่นอะไรต่าง ๆ เหมือนเรา
เขาไม่มีหน้าที่ที่จะเป็นทุกข์หรือตายแทนเรา
เขาเป็นเพื่อนร่วมชาติร่วมศาสนากะเรา
เขาก็ทำอะไรด้วยความคิดชั่วแล่นและผลุนผลันเหมือนเรา
เขามีหน้าที่รับผิดชอบต่อครอบครัวของเขา มิใช่ของเรา
เขามีสิทธิที่จะมีรสนิยมตามพอใจของเขา
เขามีสิทธิที่จะเลือกแม้แต่ศาสนาตามพอใจของเขา
เขามีสิทธิที่จะใช้สมบัติสาธารณะเท่ากันกะเรา
เขามีสิทธิที่จะเป็นโรคประสาทหรือบ้าเท่ากับเรา
เขามีสิทธิที่จะขอความช่วยเหลือ เห็นอกเห็นใจจากเรา
เขามีสิทธิที่จะได้รับอภัยจากเราตามควรแก่กรณี
เขามีสิทธิที่จะเป็นสังคมนิยมหรือเสรีนิยมตามใจเขา
เขามีสิทธิที่จะเห็นแก่ตัว ก่อนเห็นแก่ผู้อื่น
เขามีสิทธิแห่งมนุษยชนเท่ากันกะเรา สำหรับจะอยู่ในโลกนี้
ถ้าเราคิดกันอย่างนี้ จะไม่มีการขัดแย้งใดๆเกิดขึ้น

http://www.pranamo.com/

อิทธิพลคำสอนของพุทธทาสภิกขุต่อการดำเนินชีวิตของผู้ที่ประสบผลสำเร็จในชีวิต

อิทธิพลคำสอนของพุทธทาสภิกขุต่อการดำเนินชีวิตของผู้ที่ประสบผลสำเร็จในชีวิต
ผู้วิจัย : จินตนา เฉลิมชัยกิจ

การศึกษาอิทธิพลคำสอนของพุทธทาสภิกขุต่อการดำเนินชีวิตของผู้ที่ประสบผลสำเร็จในชีวิต มีวัตถุประสงค์เพื่อ (๑) ศึกษาหลักธรรมที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตในพุทธศาสนา (๒) ศึกษาคำสอนของพุทธทาสภิกขุที่เกี่ยวข้องกับแนวทางการดำเนินชีวิตด้านต่าง ๆ และ(๓) ศึกษาวิเคราะห์อิทธิพลคำสอนของพุทธทาสภิกขุต่อการดำเนินชีวิตของบุคคลที่ประสบความสำเร็จในสาขาอาชีพต่าง ๆ

วิธีดำเนินการศึกษามี ๒ แบบคือแบบเอกสารและแบบสัมภาษณ์เชิงลึก แบบเอกสาร ได้ศึกษาหลักธรรมที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตจากพระไตรปิฎก อรรถกถา ฎีกา และแนวคำสอนรวมทั้งผลงานของพุทธทาสภิกขุด้านต่างๆ และแบบสัมภาษณ์เชิงลึกได้เลือกกลุ่มตัวอย่างผู้ได้รับอิทธิพลจากแนวคำสอนของพุทธทาสภิกขุที่ประสบผลสำเร็จในชีวิตทางด้านศาสนา ด้านการเมืองการปกครอง ด้านการศึกษา ด้านศิลปะและสุนทรียภาพ และด้านเศรษฐศาสตร์
อ่านเพิ่มเติม

สืบสานปณิธานของท่านพุทธทาสภิกขุ

สืบสานปณิธานของท่านพุทธทาสภิกขุ

พระไพศาล วิสาโล
บทความจากหนังสือ
อยู่ใน ใจเหนือ เกื้อโลก : เมกะเทรนด์ – เมกะธรรม

๘๐ ปี สวนโมกข์ ควรคิดอ่านทำอะไร ? อย่าให้พุทธทาสร้องไห้

แบ่งปันบน facebook Share
เมื่อท่านอาจารย์พุทธทาสเริ่มก่อตั้งสวนโมกข์นั้น ความตั้งใจแต่เดิมคือมุ่งศึกษาหาคำตอบว่าการปฏิบัติที่ถูกต้องของพุทธศาสนานั้นคืออะไร ทั้งนี้เพราะท่านพบว่า การศึกษาปฏิบัติพุทธศาสนาในเวลานั้นผิดทางไปมากโดยเฉพาะในกรุงเทพ ฯ ซึ่งเป็นศูนย์กลางของการศึกษาพุทธศาสนา ท่านเชื่อว่าคำตอบนั้นสามารถหาได้พุทธวจนะที่บันทึกไว้ในพระไตรปิฎก ดังนั้นในปีแรก ๆ ของชีวิตที่สวนโมกข์ ท่านจึงศึกษาพระไตรปิฎกอย่างจริงจัง ผลที่เกิดขึ้นคือหนังสือ ตามรอยพระอรหันต์ ซึ่งล้วนมีเนื้อหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธองค์โดยตรง จุดหมายนั้นมิใช่เพื่ออะไรอื่น หากเพื่อ “ค้นคว้าสำหรับไว้ใช้เอง เพื่อตามรอยเอง” แต่เมื่อท่านเห็นว่าคนอื่นสามารถใช้ประโยชน์ได้ด้วย จึงให้มีการพิมพ์เป็นหนังสือเผยแพร่สู่คนวงกว้าง นับแต่นั้นมาสวนโมกข์ก็มิใช่เป็นแค่สถานที่สำหรับการศึกษาและปฏิบัติส่วนตัวของท่านอาจารย์พุทธทาสเท่านั้น หากยังมีงานเผยแผ่รวมทั้งงานส่งเสริมปริยัติและปฏิบัติที่ส่งผลกระทบอย่างกว้างขวาง การ “ฟื้นฟูการปฏิบัติพุทธศาสนาที่มันสูญหาย” * (เล่าไว้เมื่อวัยสนธยา น.๑๓๘)มิใช่เพื่อตัวท่านเองเท่านั้น แต่เพื่อชาวพุทธทั่วไปด้วย
นั่นเป็นจุดเริ่มต้นของการปฏิรูปพุทธศาสนาที่สำคัญที่สุดในรอบร้อยปีของไทย กล่าวโดยสรุปแล้ว คุณูปการสำคัญที่ท่านอาจารย์พุทธทาสได้ทำในส่วนที่เกี่ยวกับพุทธศาสนา ประการแรกได้แก่ การกอบกู้พุทธศาสนาจากการครอบงำของไสยศาสตร์ ตลอดจนประเพณีพิธีกรรมต่าง ๆ ที่บดบังพอกหุ้มแก่นแท้ของพุทธศาสนา ท่านได้ชี้ให้เห็นว่าพุทธศาสตร์กับไสยศาสตร์นั้นต่างกันอย่างไร อีกทั้งประเพณีพิธีกรรมต่าง ๆ นั้นทำให้เกิดความหลงงมงายอย่างไร พูดอีกอย่างคือท่านกอบกู้พุทธศาสนาจากการปฏิบัติตามประเพณีสืบ ๆ กันมาซึ่งคลาดเคลื่อนจากพุทธวจนะมากขึ้นทุกที
อ่านเพิ่มเติม

พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาส อินทปัญโญ)

พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาส อินทปัญโญ)

พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาส อินทปัญโญ) วัดธารน้ำไหล (สวนโมกขพลาราม) อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี เป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งสวนโมกขพลารามเพื่อให้เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมและสถาน ที่เผยแผ่พระพุทธศาสนา นอกจากนี้ผลงานของท่านพุทธทาสภิกขุยังมีปรากฏอยู่มากมายทั้งในรูปพระธรรม เทศนา และในงานเขียน โดยท่านตั้งใจทำการถ่ายทอดพระพุทธศาสนาให้อยู่ในฐานะที่เป็นพุทธะศาสนาอย่าง แท้จริง นั่นคือเป็นศาสนาแห่งความรู้ ไม่เจือปนไปด้วยความหลงผิดที่เข้าแทรกจนกลายเป็นเนื้อร้ายที่คอยกัดกิน ได้แก่ เรื่อง พุทธพาณิชย์, ไสยศาสตร์ และเรื่องความหลงใหลในลาภยศของพระสงฆ์ ฯลฯ อีกทั้งคำสอนของท่านพุทธทาสภิกขุก็ได้ถูกถ่ายทอดให้อยู่ในรูปแบบที่คนทั่วไป สามารถเข้าถึงและเข้าใจได้ โดยที่ยังคงเนื้อหาสำคัญไว้ได้อย่างครบถ้วน ซึ่งคำสอนของท่านยังรวมไปถึงเรื่องทั่วๆ ไปด้วย เช่น การทำงาน, การเรียน ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้กับชีวิตประจำวัน
ท่านพุทธทาสภิกขุ หรือฉายาก่อนหน้านี้ว่า อินทปัญโญ แปลว่า ผู้มีปัญญาอันยิ่งใหญ่ ก่อนบวชท่านมีชื่อว่า เงื่อม นามสกุล พานิช เกิดวันอาทิตย์ที่ 27 พฤษภาคม 2449 ซึ่งตรงกับวันขึ้น 7 ค่ำ เดือน 7 ปีมะเมีย ณ อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นบุตรชายคนโตของนายเซี้ยง และนางเคลื่อน มีน้องสองคน ผู้ชายชื่อ ยี่เก้ย ผู้หญิงชื่อ กิมซ้อย
บิดาของท่านประกอบอาชีพค้าขายเฉกเช่นที่ชาวไทยเชื้อสายจีนทั่วไปนิยมทำกัน ส่วนอิทธิพลที่ได้รับมานั่นก็คือ ความสามารถทางด้านกวี และทางด้านช่างไม้ ซึ่งเป็นงานอดิเรกของบิดา ส่วนอิทธิพลที่ได้รับจากมารดา คือความสนใจในการศึกษาธรรมะ ส่วนทางด้านการเล่าเรียนนั้นท่านต้องออกจากโรงเรียนตอน ม.3 เพื่อมาช่วยมารดาค้าขาย หลังจากที่บิดาของท่านถึงแก่กรรม
อ่านเพิ่มเติม

แม่สอนไว้ (พุทธทาสภิกขุ)

แม่สอนไว้ (พุทธทาสภิกขุ)

รวบรวมคำสอนของแม่
พุทธทาสภิกขุ

พจน์ ยังพลขันธ์
เรียบเรียง
————————————————————————————————

แม่ คือ อะไร ?
…………………
วันแม่คราวหนึ่ง

ณ ลานหินโค้ง วัดธารน้ำไหล สวนโมกขพลาราม อำเภอไชยา จ.สุราษฎร์ธานี ท่านพุทธทาสได้รับอาราธนาขึ้นแสดงธรรมเกี่ยวกับพระคุณของแม่ในวาระพิเศษนี้ ตอนหนึ่งของธรรมบรรยาย ท่านอาจารย์ได้ตั้งปุจฉา และวิสัชนาถึงความหมายของ คำว่า “แม่” แก่ศิษย์และสาธุชนทั้งหลาย ดังนี้

ถ้าถามนักวิทยาศาสตร์ที่มันเป็นนักวัตถุนิยมว่า แม่ คือ อะไร ?

มันก็ว่าธรรมดา, ธรรมชาติ ไม่มีความหมายอะไร นอกไปจากธรรมดามีชีวิตขึ้นมา ถึงเวลาก็สืบพันธุ์ … คือมันอย่างนี้เท่านั้น

คราวนี้…สมมุติว่าไปถามพระอรหันต์ ว่าแม่คืออะไร
พระอรหันต์จะตอบว่าอย่างไร…?
พระอรหันต์คงจะตอบว่า “แม่คือผู้สร้างมนุษย์ให้มาเป็นพระอรหันต์ เหมือนฉัน”

ไปถามคนเคร่งคัมภีร์ ก็ตอบอย่าง, นักวิทยาศาสตร์ ก็ตอบอย่าง
ถามพระอรหันต์ ก็ตอบอย่าง
อ่านเพิ่มเติม

รวมคำสอน ท่านพุทธทาสภิกขุ

รวมคำสอน ท่านพุทธทาสภิกขุ

มองแต่แง่ดีเถิด
เขามีส่วน เลวบ้าง ช่างหัวเขา
จงเลือกเอา ส่วนดี เขามีอยู่
เป็นประโยชน์ ต่อโลกบ้าง ยังน่าดู
ส่วนที่ชั่ว อย่าไปรู้ ของเขาเลย

จะหาคน มีดี เพียงส่วนเดียว
อย่ามัวเที่ยว มองหา สหายเอ๋ย
เหมือนเที่ยวหา หนวดเต่า ตายเปล่าเลย
ฝึกให้เคย มองแต่ดี มีคุณจริง

• หมู่นกจ้อง มองเท่าไร ไม่เห็นฟ้า
ถึงฝูงปลา ก็ไม่เห็น น้ำเย็นใส
ไส้เดือนมอง ไม่เห็นดิน ที่กินไป
หนอนก็ไม่ มองเห็นคูก ที่ดูดกิน;
• คนทั่วไป ก็ไม่ มองเห็นโลก
ต้องทุกข์โศก หงุดหงิด อยู่นิจสิน
ส่วนชาวพุทธ ประยุกต์ธรรม ตามระบิล
เห็นหมดสิ้น ทุกสิ่ง ตามจริงเอย ฯ
อ่านเพิ่มเติม

ตอน ยี่สิบสี่ ผนวก ๔ – ว่าด้วยบทสวดแปล หลักปฏิบัติอานาปานสติปาฐะ

ตอน ยี่สิบสี่ ผนวก ๔ – ว่าด้วยบทสวดแปล หลักปฏิบัติอานาปานสติปาฐะ

(หนฺท มยํ อานาปานสติปาฐํ ภณาม เสฯ)

อานาปานสติ ภิกฺขเว ภาวิตา พหุลีกตา,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, อานาปานสติอันบุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว.
มหปฺผลา โหติ มหานิสํสา ฯ
ย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่.
อานาปานสติ ภิกฺขเว ภาวิตา พหุลีกตา,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, อานาปานสติอันบุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว.
จตฺตาโร สติปฏฺฐาเน ปริปูเรติฯ
ย่อมทำสติปัฏฐานทั้งสี่ ให้บริบูรณ์.
จตฺตาโร สติปฏฺฐานา ภาวิตา พหุลีกตา,
สติปัฏฐานทั้งสี่ อันบุคคลเจริญให้มากแล้ว.
สตฺต โพชฺฌงฺเค ปริปูเรนฺติฯ
ย่อมทำโพชฌงค์ทั้งเจ็ดให้บริบูรณ์.
สตฺต โพชฺฌงฺคา ภาวิตา พหุลีกตา,
โพชฌงค์ทั้งเจ็ด อันบุคคลเจริญทำให้มากแล้ว.
วิชฺชาวิมุตฺตึ ปริปูเรนฺติฯ
ย่อมทำวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์.
กถํ ภาวิตา จ ภิกฺขเว อานาปานสติ, กถํ พหุลีกตา,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ก็อานาปานสติอันบุคคลเจริญ ทำให้มากแล้วอย่างไรเล่า,
มหปฺผลา โหติ มหานิสํสา ?
จึงมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่ ?
อ่านเพิ่มเติม

ตอน ยี่สิบสาม ผนวก ๓ – ว่าด้วยพระพุทธวจนะ เนื่องด้วยอานาปานสติ

ตอน ยี่สิบสาม ผนวก ๓ – ว่าด้วยพระพุทธวจนะ เนื่องด้วยอานาปานสติ

ต่อไปนี้ จะได้กล่าวถึงบาลีพระพุทธภาษิตโดยตรง ที่ได้ตรัสไว้ในที่ต่าง ๆ กัน ซึ่งล้วนแต่กล่าวถึง อานาปานสติปริยายใดปริยายหนึ่งด้วยกันทั้งนั้น ประมวลมาไว้ในที่แห่งเดียวกัน เพื่อความสะดวกแก่การศึกษาจากพระพุทธภาษิตนั้น ๆ โดยตรง เพื่อความเข้าใจยิ่งขึ้นจากข้อความที่กล่าวมาแล้วนี้อย่างหนึ่ง อีกอย่างหนึ่งเพื่อเป็นเครื่องช่วยให้เกิดความเชื่อ ความพอใจ และความพากเพียรในการปฏิบัติยิ่ง ๆ ขึ้นไป ดังต่อไปนี้ :-

(ก) เกี่ยวกับอานิสงส์แห่งการเจริญอานาปานสติ นั้น มีพระพุทธภาษิตในเอกธัมมวัคค์ อานาปานสังยุตต์ สังยุตตนิกาย (๑๙ / ๓๙๗ / ๑๓๑๔) ว่า :

“ภิกษุ ท. ! อานาปานสติ อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลใหญ่ ย่อมมีอานิสงส์ใหญ่.

“ภิกษุ ท. ! อานาปานสติ อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้วอย่างไรเล่า ? จึงมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่.

“ภิกษุ ท. ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไปแล้วสู่ป่าก็ตาม ไปแล้วสู่โคนไม้ก็ตาม ไปแล้วสู่เรือนว่างก็ตาม นั่งคู้ขาเข้ามาโดยรอบแล้ว ตั้งกายตรงดำรงสติมั่น.
ภิกษุนั้นเป็นผู้มีสติอยู่นั่นเทียว หายใจเข้า, มีสติอยู่นั่นเทียว หายใจออก ;
ภิกษุนั้น – – – –

(๑) เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้สึกตัวทั่วถึง ว่าเราหายใจเข้ายาว ดังนี้ ; เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้สึกตัวทั่วถึง ว่าเราหายใจออกยาว ดังนี้.
(๒) เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้สึกตัวทั่วถึง ว่าเราหายใจเข้าสั้น ดังนี้ ; เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้สึกตัวทั่วถึง ว่าเราหายใจออกสั้น ดังนี้.
(๓) ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวงจักหายใจเข้า ดังนี้ ; ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง
จักหายใจออก ดังนี้.
(๔) ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ทำกายสังขารให้รำงับอยู่ จักหายใจเข้า ดังนี้ ; ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ทำกายสังขารให้รำงับอยู่จักหายใจออก ดังนี้.
อ่านเพิ่มเติม

ตอน ยี่สิบสอง ผนวก ๒ – ว่าด้วยการตัดสัญโญชน์ ของอริยมรรคทั้ง ๔

ตอน ยี่สิบสอง ผนวก ๒ – ว่าด้วยการตัดสัญโญชน์ ของอริยมรรคทั้ง ๔

ทางที่สะดวกที่สุดสำหรับการศึกษานั้น ควรจะกำหนดมาจากการที่อริยมรรคทั้ง ๔ ตัดสัญโญชน์และอนุสัยนั้นโดยตรง แล้วพิจารณากันถึงลักษณะแห่งสัญโญชน์และอนุสัยนั้นโดยละเอียดจนเห็นได้ว่า ถ้าสิ่งเหล่านี้ ๆ หมดไปแล้วผลอะไรจะเกิดขึ้น ก็จะทราบคุณสมบัติแห่งวิมุตติสุขญาณเหล่านั้นได้เป็นอย่างดี ดังต่อไปนี้ คือ :-
๑. โสดาปัตติมรรค

โสดาปัตติมรรค ย่อมตัดสัญโญชน์คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา และสีลัพพตปรามาส และย่อมตัดอนุสัยคือ ทิฏฐานุสัยและวิจิกิจฉานุสัย ถ้านับเรียงอย่างก็ถึง ๕ อย่าง หรือกล่าวได้ว่า มีวิมุตติสุขและวิมุตติสุขญาณ เกิดขึ้นได้ถึง ๕ อย่าง ข้อนี้เป็นไปได้ในเมื่อตีความของคำว่า สัญโญชน์และอนุสัยให้ต่างกัน จนกระทั่งเมื่อละได้แล้ว ย่อมเกิดผลเป็นความสุขต่างกันจริง ๆ เช่นสัญโญชน์หรืออนุสัยอันมีนามว่าวิจิกิจฉานั้น ถือว่ามีความหมายต่างกัน กล่าวคือวิจิกิจฉานุสัยหมายถึงวิจิกิจฉาที่นอนเนื่องอยู่ในสันดาน มีผลทำให้สันดานเศร้าหมอง ซึ่งเมื่อละได้แล้ว ทำให้สันดานบริสุทธิ์. ส่วนวิจิกิจฉาที่เป็นสัญโญชน์นั้น หมายถึงวิจิกิจฉาที่ทำหน้าที่ผูกพันสัตว์ไว้ในสังสารวัฏฏ์ คือการเวียนว่ายอยู่ในกองทุกข์ซึ่งเมื่อละได้แล้ว มีผลเกิดขึ้นคือ สัตว์หลุดพ้นจากความทุกข์ หรือจากวัฏฏสงสาร.ที่ทำให้เห็นความแตกต่างกันอยู่คือ ตัดอนุสัยได้ทำให้สันดานบริสุทธิ์ ตัดสัญโญชน์ได้ทำให้หลุดพ้นจากความทุกข์ แต่ความหมายอันแท้จริงของผลทั้ง ๒ อย่างนี้ก็คือความไม่มีทุกข์ หรือที่เรียกว่าวิมุตติสุขอย่างเดียวกันนั่นเอง. อ่านเพิ่มเติม

ตอน ยี่สิบเอ็ด ภาคผนวก ผนวก ๑– ว่าด้วยญาณเนื่องด้วยอานาปานสติ

ตอน ยี่สิบเอ็ด ภาคผนวก

ผนวก ๑ – ว่าด้วยญาณเนื่องด้วยอานาปานสติ

คำว่า “ญาณ” มีความหมาย ๒ ความหมาย อย่างแรกหมายถึงการรู้สิ่งที่ต้องรู้ ซึ่งอาจจะรู้ได้เมื่อกำลังทำอยู่พร้อมกันไปในตัว หรือว่าด้วยการศึกษามาก่อนถึงเรื่องนั้น ๆ ตามสมควร แล้วมารู้แจ้งสิ่งนั้นอย่างสมบูรณ์ ในเมื่อมีการปฏิบัติไปจนถึงที่สุด. ตัวอย่างเช่นเมื่อทำบ้านเรือนสำเร็จ คนคนนั้นก็มีความรู้เรื่องการทำบ้านเรือน ; ความรู้บางอย่างก็มีมาแล้วก่อนทำ ความรู้บางอย่างก็เพิ่งจะมีขึ้นเมื่อกำลังทำ และความรู้ทั้งหมดย่อมสมบูรณ์เมื่อทำงานนั้นสำเร็จไปแล้วจริง ๆ. ฉะนั้น คำว่า ญาณในประเภทแรกนี้ หมายถึงสิ่งที่เราเรียกกันตามโวหารธรรมดาว่า “ความรู้” หมายถึงความรู้ที่ถูกต้อง เพราะได้ผ่านสิ่งนั้น ๆ มาแล้วจริง ๆ. ส่วนความหมายของคำว่า ญาณอย่างที่สองนั้น เล็งถึงความรู้แจ้งแทงตลอดเฉพาะเรื่อง และเป็นการเห็นแจ้งภายในใจล้วน เนื่องมาจากการเพ่งโดยลักษณะมีลักษณะแห่งความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เป็นประธาน ซึ่งเรียกโดยโวหารธรรมดาว่า “ความรู้แจ้ง” เห็นแจ้ง หรือเลยไปถึงความแทงตลอด ซึ่งมีหน้าที่เจาะแทงกิเลสโดยตรง ; ในเมื่อญาณตามความหมายทีแรก หมายถึงเพียงความรู้ที่ทำให้เราสามารถทำสิ่งต่าง ๆ ได้สำเร็จ และรู้ถึงที่สุดเมื่อทำสำเร็จเท่านั้น.และเราจะได้วินิจฉัยกันในญาณตามความหมายประเภทแรกก่อน ดังต่อไปนี้ :-

เมื่อบุคคลเจริญอานาปานสติมีวัตถุ ๑๖ หรือมีจตุกกะสี่ ดังที่กล่าวแล้วโดยละเอียดถึงที่สุดไปแล้ว เขาย่อมมีความรู้เกี่ยวกับการทำ อานาปานสติทั้งหมดหรือแม้ว่าก่อนจะเจริญอานาปานสติอันมีวัตถุสิบหกนี้ ถ้าเขาอยากจะศึกษามาก่อนเขาก็ต้องศึกษาเรื่องความรู้เหล่านี้เอง ซึ่งจะต้องตรงเป็นอันเดียวกันเสมอไปความรู้ที่กล่าวนี้แบ่งเป็น ๑๑ หมวด ดังต่อไปนี้ :-

อ่านเพิ่มเติม

ตอน ยี่สิบ อานาปานสติ ขั้นที่ สิบหก

ตอน ยี่สิบ อานาปานสติ ขั้นที่ สิบหก

(การตามเห็นความสลัดคืนอยู่เป็นประจำ)

อานาปานสติขั้นที่สิบหก หรือข้อที่สี่แห่งจตุกกะที่สี่ มีหัวข้อว่า “ภิกษุนั้น ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ตามเห็นซึ่งความสลัดคืนอยู่เป็นประจำจักหายใจเข้า ดังนี้ ; ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ตามเห็นซึ่งความสลัดคืนอยู่เป็นประจำ จักหายใจออก ดังนี้.” (ปฏินิสฺสคฺคานุปสฺสี อสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ ;ปฏินิสฺสคฺคานุปสฺสี ปสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ.)

สิ่งที่จะต้องวินิจฉัยในอานาปานสติขั้นนี้ คือ ทำอย่างไรเรียกว่าเป็นการสลัดคืน ;และทำอย่างไรจึงจะเรียกว่า ปฏินิสสัคคานุปัสสี คือผู้ตามเห็นความสลัดคือนอยู่เป็นประจำ. สำหรับสิ่งที่จะต้องสลัดคืนก็หมายถึงทั้ง ๓ ประเภท กล่าวคือ เบญจขันธ์ สฬายตนะ และ ปฏิจจสมุปบาทมีอาการสิบสอง เช่นเดียวกับในอานาปานสติขั้นที่แล้วมา. ส่วนการทำในบทศึกษาทั้งสามนั้น มีอาการ อย่างเดียวกับที่กล่าวแล้วในอานาปานสติขั้นที่สิบสาม. คำว่า สลัดคืน หรือปฏินิสสัคคะ นั้น มีลักษณะ ๒ อย่าง คือ การสลัดคืนซึ่งสิ่งนั้นออกไปโดยตรง อย่างหนึ่ง ; หรือมี จิตน้อมไปในนิพพานอันเป็นที่ดับสนิทแห่งสิ่งทั้งหลายเหล่านั้น อีกอย่างหนึ่ง. อย่างแรกมีความหมายเป็นการสลัดสิ่งเหล่านั้นออกไปในทำนองว่าผู้สลัดยังคง อยู่ในที่เดิม ; อย่างหลังมีความหมายไปในทำนองว่า สิ่งเหล่านั้นอยู่ในที่เดิม ส่วนผู้สลัดผลหนีไปสู่ที่อื่น.ถ้ากล่าวอย่างบุคคลาธิษฐานก็เหมือนอย่างว่า เป็นคนละอย่าง แต่ย่อมมีผลในทางธรรมาธิษฐานเป็นอย่างเดียวกัน เปรียบเหมือนบุคคลที่สลัดสิ่งอันเป็นที่รักที่พอใจ เขาจะกระทำโดยเอาสิ่งเหล่านั้นไปทิ้งเสีย หรือจะกระทำโดยวิธีหนีไปให้พ้นจากสิ่งเหล่านั้นก็ตาม ผลย่อมมีอยู่เป็นอย่างเดียวกัน คือความปราศจากสิ่งเหล่านั้น.การที่ท่านกล่าวไว้เป็น ๒ อย่างดังนี้ เพื่อการสะดวกในการที่จะเข้าใจสำหรับบุคคลบางประเภทที่มีสติปัญญาต่างกัน มีความหมายในการใช้คำพูดจาต่างกัน เท่านั้น ; แต่ถ้าต้องการความหมายที่แตกต่างกันจริง ๆ แล้ว ก็พอที่จะแบ่งออกได้เป็น ๒ อย่าง ดังนี้ คือ :-
อ่านเพิ่มเติม

ตอน สิบเก้า อานาปานสติ ขั้นที่ สิบห้า

ตอน สิบเก้า อานาปานสติ ขั้นที่ สิบห้า

(การตามเห็นความดับไม่เหลืออยู่เป็นประจำ)

อานาปานสติขั้นที่สิบห้า หรือข้อสามแห่งจตุกกะที่สี่ มีหัวข้อว่า “ภิกษุนั้น ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ตามเห็นซึ่งความดับไม่เหลืออยู่เป็นประจำ จักหายใจเข้า ดังนี้ ; ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ตามเห็นซึ่งความดับไม่เหลืออยู่เป็นประจำ จักหายใจออก ดังนี้” (นิโรธานุปสฺสี อสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ ;นิโรธานุปสฺสี ปสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ.).

สิ่งที่จะต้องวินิจฉัยในที่นี้ คือ ความดับไม่เหลือ นั้นคืออะไร ; ความดับไม่เหลือของอะไร ; ดับไม่เหลือได้โดยวิธีใด ; และทำอย่างไรชื่อว่า นิโรธานุปัสสี คือตามเห็นความดับไม่เหลืออยู่เป็นประจำ.

คำว่า ความดับไม่เหลือ ในที่นี้ หมายถึงความตรงกันข้ามต่อความมีอยู่ ยกตัวอย่างเช่นความมีอยู่แห่งรูป กับความไม่มีอยู่แห่งรูป นี้เรียกว่าภาวะที่ตรงกันข้าม ; อย่างแรกเป็นความมีอยู่ อย่างหลังเป็นความดับไม่เหลือ. แต่ความหมายตามทางธรรมของคำว่า “มีอยู่” กับคำว่า “ดับไม่เหลือ” นี้ มิได้หมายถึงตัววัตถุ นั้นมีอยู่หรือไม่มีอยู่ หากแต่หมายถึง “คุณ” หรือคุณลักษณะของสิ่งเหล่านั้นที่มี ผลต่อจิตใจหรือไม่อีกต่อหนึ่ง. ที่เห็นได้ง่าย ๆ เช่นความมีอยู่แห่งรูป หมายถึง ความมีอยู่แห่งความไม่เที่ยง ความเป็นทุกข์ทรมาน และสิ่งอื่น ๆ ที่เนื่องกันอยู่กับรูป ; ถ้าสิ่งเหล่านี้ไม่มี ก็มีค่าเท่ากับรูปไม่มี หรือเป็นความดับไม่เหลือของรูป. เพราะฉะนั้น คำว่า “ดับไม่เหลือ” จึงหมายถึงความดับทุกข์ที่เนื่องมาจากรูปนั้น โดยไม่เหลือ นั่นเอง ; นี่เรียกสั้น ๆ ว่านิโรธ หรือความดับไม่เหลือ ในกรณีที่เกี่ยวกับรูป.
อ่านเพิ่มเติม

ตอน สิบแปด อานาปานสติ ขั้นที่ สิบสี่

ตอน สิบแปด อานาปานสติ ขั้นที่ สิบสี่

(การตามเห็นความจางคลายอยู่เป็นประจำ)

อานาปานสติขั้นที่สิบสี่ หรือข้อที่สองแห่งจตุกกะที่สี่นี้ มีหัวข้อว่า “ภิกษุนั้นย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ตามเห็นซึ่งความจางคลายอยู่เป็นประจำ จักหายใจเข้า ดังนี้ ; ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ตามเห็นซึ่งความจางคลายอยู่เป็นประจำ
จักหายใจออก ดังนี้”. (วิราคานุปสฺสี อสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ :วิราคานุปสฺสี ปสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ.)

สิ่งที่ต้องวินิจฉัยในที่นี้คือ อะไรคือความจางคลาย : ความจางคลายเกิดขึ้นได้อย่างไร ; และ เกิดขึ้นในสิ่งใด ; ทำอย่างไร ได้ชื่อว่า เป็นผู้ตามเห็นซึ่งความจางคลายนั้น. ความจางคลายเรียกโดยบาลีว่า วิราคะ โดยตัวพยัญชนะแปลว่าปราศจากราคะ คือปราศจากเครื่องย้อม อันได้แก่ความกำหนัด. ส่วนโดยความหมายหรือโดยอาการอันแท้จริง หมายถึงความจางคลายของความยึดมั่นถือมั่น และความสำคัญผิดอื่น ๆ ที่ทำให้หลงรักหลงพอใจอย่างหนึ่ง และหลงเกลียดชังอีกอย่างหนึ่งเป็นอันว่าวิราคะในที่นี้ หาได้หมายถึงอริยมรรคโดยตรงแต่อย่างเดียว เหมือนในที่บางแห่งไม่ แต่หมายความกว้าง ๆ ถึงการทำกิเลสให้ขาดออก หรือหน่ายออกโดยอาการอย่างเดียวกันกับอริยมรรคทำลายกิเลสนั่นเอง และมุ่งหมายถึง อาการที่จางคลาย ยิ่งกว่าที่จะมุ่งหมายถึง ธรรมที่เป็นเครื่องทำความจางคลาย.แต่โดยนัยแห่งการปฏิบัตินั้น ย่อมเห็นพร้อมกันไปทั้ง ๒ สิ่ง กล่าวคือ เมื่อเห็นความจางคลายอยู่อย่างชัดแจ้ง ก็ย่อมเห็นธรรมเป็นเครื่องทำความจางคลายด้วยเป็นธรรมดา เหมือนกับเมื่อเราเห็นเชือกที่ขมวดอยู่คลายออก ก็ย่อมเห็นสิ่งที่ทำให้ขมวดนั้นคลายออกด้วยกันเป็นธรรมดา. ฉะนั้น ถึงถือวิราคะในขณะแห่งอานาปานสตินี้ หมายถึง ความจางคลาย โดยตรง และ ธรรมที่ทำความจางคลายโดยอ้อม ในฐานะเป็นของผนวกอยู่ในความจางคลายนั้น. คำว่าจางคลายมีความหมายตรงกันข้ามจากคำว่า ย้อมติด.ตามธรรมดาสัตว์มีใจย้อมติดอยู่ในสิ่งทั้งปวง โดยความเป็นของน่าใคร่อย่างหนึ่ง และโดยความเป็นตัวตนอย่างนั้นอย่างนี้ อีกอย่างหนึ่ง ด้วยอำนาจความยึดมั่นถือมั่นหรือความสำคัญผิดอันมีมูลมาจากอวิชชา. เมื่อใดความย้อมติดอันนี้ถูกทำให้หน่ายออก เมื่อนั้นชื่อว่ามีความจางคลายในที่นี้ ; โดยกิริยาอาการก็คือ คลายความรู้สึกที่เป็นความใคร่ และความรู้สึกว่าเป็นนั่นเป็นนี่ เป็นตัวตนอย่างนั้นอย่างนี้.
อ่านเพิ่มเติม

ตอน สิบเจ็ด อานาปานสติ ขั้นที่สิบสาม การเห็นความไม่เที่ยง

ตอน สิบเจ็ด อานาปานสติ ขั้นที่สิบสาม การเห็นความไม่เที่ยง

จตุกกะที่ ๔ – ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน

(ตั้งแต่การเห็นอนิจจังโดยประจักษ์ จนถึง การเห็นความสลัดคืนสังขารออกไป)

บัดนี้มาถึงการปฏิบัติในอานาปานสติ จตุกกะที่สี่ ซึ่งกล่าวถึงอานาปานสติอีก ๔ ขั้น เป็นลำดับไปคือ :-

ขั้นที่ ๑๓ การตามเห็น ความไม่เที่ยง อยู่เป็นประจำ หายใจเข้า – ออก ๑,
ขั้นที่ ๑๔ การตามเห็น ความจางคลาย อยู่เป็นประจำ หายใจเข้า – ออก ๑,
ขั้นที่ ๑๕ การตามเห็น ความดับไม่เหลือ อยู่เป็นประจำ หายใจเข้า – ออก ๑,
ขั้นที่ ๑๖ การตามเห็น ความสลัดคืน อยู่เป็นประจำ หายใจเข้า – ออก ๑,

รวมเป็น ๔ ขั้นด้วยกัน ดังนี้. ทั้ง ๔ ขั้นนี้ จัดเป็นหมวดแห่งการเจริญภาวนา ที่พิจารณาธรรม คือความจริงที่ปรากฏออกมา เป็นอารมณ์สำหรับการศึกษา แทนที่จะกำหนดพิจารณากายคือลมหายใจ เวทนาคือปีติและสุข และพิจารณาจิตในลักษณะต่าง ๆ กัน ดังที่กล่าวแล้วในจตุกกะที่หนึ่ง สอง และสาม.

ในจตุกกะที่สี่นี้ มีสิ่งที่จะต้องสนใจเป็นสิ่งแรก คือท่านได้กล่าวถึงธรรม๔ อย่าง คือ อนิจจัง วิราคะ นิโรธะ และปฏินิสสัคคะ ซึ่งเห็นได้ว่า ไม่มีการกล่าวถึงทุกขังและอนัตตา ผู้ที่เป็นนักคิดย่อมสะดุดตาในข้อนี้ และมีความฉงนว่าเรื่องทุกข์และเรื่องอนัตตา ไม่มีความสำคัญหรือย่างไร. เกี่ยวกับข้อนี้พึงเข้าใจว่า เรื่องความทุกข์และความเป็นอนัตตานั้น มีความสำคัญเต็มที่หากแต่ในที่นี้ ท่านกล่าวรวมกันไว้กับเรื่องอนิจจัง เพราะความจริงมีอยู่ว่า ถ้าเห็นความไม่เที่ยงถึงที่สุดแล้ว ย่อมเห็นความเป็นทุกข์อยู่ในตัว ถ้าเห็นความไม่เที่ยงและความเป็นทุกข์จริง ๆ แล้ว ย่อมเห็นความเป็นอนัตตา คือไม่น่ายึดถือว่าเป็นตัวตน หรือตัวตนของเราอยู่ในตัว. เหมือนอย่างว่าเมื่อเราเห็นน้ำไหล เราก็ย่อมจะเห็นความที่มันพัดพาสิ่งต่าง ๆ ไปด้วย หรือเห็นความที่มันไม่เชื่อฟังใคร เอาแต่จะไหลท่าเดียว ดังนี้เป็นต้นด้วย ; นี้ย่อมแสดงให้เห็นว่า มันเป็นเรื่องที่เนื่องกันอย่างที่ไม่แยกออกจากกัน. โดยใจความก็คือ เมื่อเห็นอย่างใดอย่างหนึ่งถึงที่สุดจริง ๆ แล้ว ย่อมเห็นอีก ๒ อย่างพร้อมกันไปในตัว ดังนี้ ; เพราะเหตุนี้เองพระพุทธองค์จึงได้กล่าวถึงแต่อนิจจัง และข้ามไปกล่าวิราคะ และนิโรธะเป็นลำดับไป โดยไม่กล่าวถึงทุกขังและอนัตตา ในลักษณะที่แยกให้เด่นออกมาเป็นอย่างหนึ่ง ๆ ต่างหาก.
อ่านเพิ่มเติม

ตอน สิบหก อานาปานสติ ขั้นที่ สิบสอง

ตอน สิบหก อานาปานสติ ขั้นที่ สิบสอง

(การทำจิตให้ปล่อย)

อุทเทสแห่งอานาปานสติขั้นที่สิบสอง หรือข้อที่สี่แห่งจตุกกะที่สามนี้มีหัวข้อว่า “ภิกษุนั้น ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ทำจิตให้ปล่อยอยู่ จักหายใจเข้าดังนี้ ; ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ทำจิตให้ปล่อยอยู่ จักหายใจออก ดังนี้” (วิโมจยํ จิตฺตํ อสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ ; วิโมจยํ จิตฺตํ ปสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ.)

วินิจฉัยมีอยู่ดังต่อไปนี้ :-

การทำ ในบทศึกษาทั้งสามในอานาปานสติขั้นนี้นั้น ความสำรวมสติในการคอยกำ หนดการปล่อยชนิดต่าง ๆ ของจิต หรือแม้แต่การคอยกำหนดจิตให้ทำการปลดเปลื้องสิ่งต่าง ๆ จากจิต ซึ่งเป็นความสำรวมอย่างยิ่ง และอย่างละเอียดที่สุดนั่นแหละ คือ ความสำ รวมที่ประมวลไว้ได้ซึ่งสีลสิกขาในขณะนี้. สำหรับจิตตสิกขาและปัญญาสิกขานั้น มีอยู่ได้โดยลักษณะเดียวกันกับอานาปานสติขั้นอื่น ๆ ทุกขั้นดังที่กล่าวแล้ว ไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยซ้ำในที่นี้อีก. สำหรับคำว่า “ทำจิตให้ปล่อยอยู่” นั้น มีสิ่งที่จะต้องวินิจฉัยเป็น ๒ อย่างคือ :-
อ่านเพิ่มเติม

ตอน สิบห้า อานาปานสติ ขั้นที่ สิบเอ็ด

ตอน สิบห้า อานาปานสติ ขั้นที่ สิบเอ็ด

(การทำจิตให้ตั้งมั่นอยู่)

อุทเทสแห่งอานาปานสติขั้นที่สิบเอ็ด หรือข้อที่สามแห่งจตุกกะที่สามนั้นมีว่า “ภิกษุนั้น ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ทำจิตให้ตั้งมั่นอยู่ จักหายใจเข้าดังนี้ ; ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ทำจิตให้ตั้งมั่นอยู่ จักหายใจออก ดังนี้” ; (สมาทหํ จิตฺตํ อสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ ; สมาทหํ จิตฺตํ ปสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ)

และมีอธิบาย ดังต่อไปนี้คือ :-

การวินิจฉัยในบทว่า “ย่อมทำในบทศึกษา” ย่อมมีใจความเหมือนกับในขั้นที่แล้วมาโดยประการทั้งปวง มีอยู่บ้างที่จะต้องทำความเข้าใจเป็นพิเศษเฉพาะขั้นนี้คือ:- ส่วนที่จะถือว่าเป็นสีลสิกขา นั้น จะต้องรู้จักสอดส่องให้ถูกตรงตามที่มีอยู่ ; โดยใจความใหญ่ ๆ นั้นเล็งถึง ข้อที่มีการสำรวมหรือระวังจิตไม่ให้ละไปจากอารมณ์ ที่กำลังกำหนดอยู่ในขั้นนั้น ๆ ; ตัวการสำรวมนั่นแหละจัดเป็นศีลในที่นี้. เพราะว่าเมื่อมีการสำรวมในเวลาใด โทษทางกาย วาจา หรือการทุศีลอย่างใด ๆ ก็มีขึ้นไม่ได้.การชี้ให้เห็นเช่นนี้เป็นการป้องกัน ไม่ให้เกิดความเข้าใจผิดไปว่า เมื่อการปฏิบัติดำเนินมาถึงขั้นสมาธิหรือปัญญาอย่างสูงเช่นนี้แล้วมันจะยังคงมีการสำรวมศีลอยู่ได้อย่างไรกัน ; ฉะนั้น ขอให้ถือว่า เมื่อมีการสำรวมจิตใด ๆ อยู่ในเรื่องใดก็ตาม ด้วยอำนาจของสติแล้ว การสำรวมนั้นย่อมเป็นการประมวลไว้ได้ซึ่งสีลสิกขาอยู่ในตัวโดยสมบูรณ์. เป็นอันกล่าวได้ว่าแม้ในขณะที่กำลังปฏิบัติหมกมุ่นอยู่ในอานาปานสติขั้นสูงเหล่านี้ การสำรวมในศีลก็ยังสมบูรณ์อยู่ตามเดิม จึงเป็นการทำให้ไตรสิกขา หรือสิกขาทั้งสามยังคงเป็นธรรมสมังคีสมบูรณ์อยู่ ; ฉะนั้น คำว่า “ย่อมทำในบทศึกษา” ในอานาปานสติข้อนี้ และในอานาปานสติข้อต่อไปทั้งหมด ก็ยังหมายความถึงการทำเต็มที่ในสิกขาทั้งสามอยู่นั่นเอง.
อ่านเพิ่มเติม

ตอน สิบสี่ อานาปานสติ ขั้นที่ สิบ

ตอน สิบสี่ อานาปานสติ ขั้นที่ สิบ

(การทำจิตให้ปราโมทย์ยิ่งอยู่)

อุทเทสแห่งอานาปานสติขั้นที่สิบ หรือข้อที่สองแห่งจตุกกะที่สาม นั้นมีหัวข้อว่า “ภิกษุนั้น ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ทำจิตให้ปราโมทย์ยิ่งอยู่ จักหายใจเข้า ดังนี้ ; ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ทำจิตให้ปราโมทย์ยิ่งอยู่ จักหายใจออกดังนี้ (ปโมทยํ จิตฺตํ อสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ ;ปโมทยํ จิตฺตํ ปสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ.)

มีอธิบายโดยละเอียดดังต่อไปนี้ :- คำว่า ย่อมทำในบทศึกษา มีอธิบายอย่างเดียวกัน กับที่อธิบายมาแล้วในตอนก่อน. คำว่า ทำจิตให้ปราโมทย์ มีข้อควรวินิจฉัยคือ ทำให้ปราโมทย์เกิดขึ้นในขณะไหน และความปราโมทย์นั้นมีอยู่อย่างไร, ดังจะได้วินิจฉัยสืบไปดังต่อไปนี้ :

ความปราโมทย์โดยธรรม ในที่นี้ เมื่อกล่าวโดยสรุปแล้ว ย่อมทำให้เกิดขึ้นได้ในทุกขั้นแห่งอานาปานสติ เพราะฉะนั้นผู้ที่ลงมือปฏิบัติในขั้นนี้จะต้องพยายามทำให้เกิดความปราโมทย์ขึ้น ในทุกขั้นแห่งอานาปานสติ. เขาจักต้องย้อนไปปฏิบัติมาตั้งแต่อานาปานสติขั้นที่หนึ่งเป็นลำดับมา. จนกระทั่งถึงขั้นที่ ๙ พยายามทำความปราโมทย์ให้เกิดขึ้น ให้ปรากฏชัดในทุกขั้นและให้ประณีต หรือสูงขึ้นมาตามลำดับดุจกัน คือ :-
อ่านเพิ่มเติม

ตอน สิบสาม อานาปานสติ ขั้นที่เก้า การรู้พร้อมซึ่งจิต

ตอน สิบสาม อานาปานสติ ขั้นที่เก้า การรู้พร้อมซึ่งจิต

จตุกกะที่ ๓ – จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน

(ตั้งแต่การกำหนดลักษณะของจิต จนถึง การทำจิตให้ปล่อยสิ่งที่เกิดกับจิต)

บัดนี้มาถึงการปฏิบัติในอานาปานสิจตุกกะที่สาม ซึ่งกล่าวถึงอานาปานสติอีก ๔ ขั้น เป็นลำดับไปคือ :-

ขั้นที่ ๙ การเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิต หายใจเข้า – ออก ๑,
ขั้นที่ ๑๐ การทำจิตให้ปราโมทย์ยิ่งอยู่ หายใจเข้า – ออก ๑,
ขั้นที่ ๑๑ การทำจิตให้ตั้งมั่นอยู่ หายใจเข้า – ออก ๑,
ขั้นที่ ๑๒ การทำจิตให้ปล่อยอยู่ หายใจเข้า – ออก ๑,

รวมเป็น ๔ ขั้นด้วยกันดังนี้ ; ทั้ง ๔ ขั้นนี้ จัดเป็นหมวดที่พิจารณาจิตเป็นอารมณ์สำหรับการศึกษา, แทนที่จะกำหนดพิจารณากายคือลมหายใจ และเวทนาดังที่กล่าวแล้ว ในจตุกกะที่หนึ่ง และที่สอง.
อ่านเพิ่มเติม

. . . . . . .