ตอน สิบสอง อานาปานสติ ขั้นที่แปด (การกำหนดจิตตสังขารให้รำงับ)

ตอน สิบสอง อานาปานสติ ขั้นที่แปด (การกำหนดจิตตสังขารให้รำงับ)

อุทเทสแห่งอานาปานสติขั้นที่แปดนี้ มีหัวข้อว่า “ภิกษุนั้น ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ทำจิตตสังขารให้รำงับอยู่ จักหายใจเข้า ดังนี้ ; ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ทำจิตตสังขารให้รำงับอยู่ จักหายใจออก ดังนี้”. (ปสฺสมฺภยํ จิตฺตสงฺขารํ อสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ ; ปสฺสมฺภยํ จิตฺตสงฺขารํ ปสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ.)
สิ่งที่ต้องวินิจฉัย มีอยู่เฉพาะคำว่า “ทำจิตตสังขารให้รำงับอยู่”. ส่วนคำนอกนั้น มีคำอธิบายเช่นเดียวกับคำอธิบายในอานาปานสติข้ออื่น ๆ ทุกประการ.

การทำจิตตสังขารให้รำงับ ย่อมเนื่องกันอยู่กับการทำกายสังขารให้รำงับ, ฉะนั้น จึงมีการทำโดยแยบคาย ในส่วนที่เป็นการทำกายสังขารให้รำงับรวมอยู่ด้วย กล่าวคือ เมื่อบุคคลผู้ปฏิบัติกำลังมีอำนาจของสัญญาและเวทนาครอบงำจิตอยู่อย่างรุนแรง มีวิตกอย่างใดอย่างหนึ่งอยู่ แม้ในทางที่เป็นกุศลก็ตามเขาย่อมสามารถบรรเทากำลังหรืออำนาจของสัญญาและเวทนาลงเสียได้ ด้วยการทำลมหายใจเข้า – ออกที่กำลังเป็นไปอยู่อย่างหยาบ ๆ นั้น ให้ละเอียดลง ๆ ; เมื่อลมหายใจละเอียดลง ความรู้สึกที่เป็นสัญญาและเวทนาก็รำงับลง ซึ่งมีผลทำให้วิตกพลอยรำงับลงไปตามกัน. นี่คือการทำจิตสังขารให้รำงับลงด้วยอุบายอันแรก.
อ่านเพิ่มเติม

ตอน สิบเอ็ด อานาปานสติ ขั้นที่ เจ็ด (การกำหนดจิตตสังขาร)

ตอน สิบเอ็ด อานาปานสติ ขั้นที่ เจ็ด (การกำหนดจิตตสังขาร)

อุทเทสแห่งอานาปานสติขั้นที่เจ็ด มีหัวข้อโดยบาลีพระพุทธภาษิตว่า “ภิกษุนั้น ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิตตสังขาร จักหายใจเข้าดังนี้ ; ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิตตสังขาร จักหายใจออก ดังนี้”. ( จิตฺตสงฺขารปฏิสํเวที อสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ ;จิตฺตสงฺขารปฏิสํเวที ปสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ)
หัวข้อที่ต้องวินิจฉัย คือ จิตตสังขารคืออะไร ? ปรากฏแก่ใคร ? ในขณะไหน ? และรู้พร้อมเฉพาะด้วยอาการอย่างไร ? ซึ่งจะได้วินิจฉัยกันดังต่อไปนี้ :

“จิตตสังขาร” ในที่นี้ คือสัญญา และเวทนา ซึ่งเป็นพวกเจตสิกธรรม. สัญญาและเวทนาถูกจัดเป็นจิตตสังขาร เพราะเป็นสิ่งที่เป็นไปกับด้วยจิต เนื่องเฉพาะอยู่กับจิต และเป็นสิ่งที่ปรุงแต่งจิต. เหตุนั้นสิ่งทั้งสองนี้จึงได้ชื่อว่าจิตตสังขาร ซึ่งแปลว่า เครื่องปรุงแต่งจิต. ผู้มีความสังเกต จะสังเกตเห็นได้เองว่า ในอานาปานสติขั้นก่อน ได้พูดถึงสิ่งทั้งสาม คือเวทนา สัญญา และวิตก ในที่นี้กล่าวถึงแต่เพียงสอง คือสัญญาและเวทนา ส่วนวิตกนั้นขาดหายไป. ข้อนี้เพราะเหตุว่า สิ่งที่เรียกว่าวิตกนั้นถูกจัดอยู่ในฝ่ายจิต มิได้อยู่ในฝ่ายเครื่องปรุงแต่งจิต ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวถึงแต่สัญญา กับเวทนา เพียง ๒ อย่างในฐานะที่เป็นจิตตสังขาร, ส่วนวิตกนั้นเป็นจิต.
อ่านเพิ่มเติม

ตอน สิบ อานาปานสติ ขั้นที่ หก (การกำหนดสุข)

ตอน สิบ อานาปานสติ ขั้นที่ หก (การกำหนดสุข)

อุเทส หรือหัวข้อแห่งอานาปานสติข้อที่สองแห่งจตุกกะที่สอง หรือจัดเป็นขั้นที่หก แห่งอานาปานสติทั้งปวงนั้น มีอยู่ว่า :
“ภิกษุนั้น ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งสุข จักหายใจเข้าดังนี้ ; ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งสุข จักหายใจออก ดังนี้”. (สุขปฏิสํเวที อสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ ; สุขปฏิสํเวที ปสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ.)

คำอธิบายของอานาปานสติขั้นที่หกนี้ เป็นไปในทำนองเดียวกันกับอานาปานสติขั้นที่ห้าทุกประการ จนแทบจะกล่าวได้ว่า เหมือนกันทุกตัวอักษรแต่ต้นจนปลาย. ผิดกันอยู่หน่อยเดียวตรงที่ว่า ในขั้นที่ห้านั้น เป็นการเพ่งพิจารณาที่ปีติ. ส่วนในขั้นที่หกนี้ เพ่งพิจารณาที่ตัวความสุข อันเป็นสิ่งที่คู่กันอยู่กับปีติ. แต่เนื่องจากสิ่งทั้งสองนี้จัดเป็นเวทนาด้วยกัน เมื่อกล่าวโดยหลักรวมจึงเป็นสิ่ง ๆ เดียวกัน คือเป็นเพียงเวทนาด้วยกัน นั่นเอง. คำอธิบายเกี่ยวกับเรื่องนี้จึงเหมือนกันโดยประการทั้งปวง, มีอยู่แต่ว่าจะต้องทำการวินิจฉัยในข้อที่ว่า ปีติกับความสุขโดยลักษณะเฉพาะ มีความแตกต่างกันอย่างไรบ้างเท่านั้น.
อ่านเพิ่มเติม

ตอน เก้า อานาปานสติ ขั้นที่ห้า การกำหนดปีติ

ตอน เก้า อานาปานสติ ขั้นที่ห้า การกำหนดปีติ

จตุกกะที่ ๒ – เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน

(ตั้งแต่การกำหนดเวทนา จนถึงการเวทนา ไม่ให้ปรุงแต่งจิต)

บัดนี้ มาถึงการปฏิบัติในอานาปานสติ จตุกกะที่สอง ซึ่งกล่าวถึงอานาปานสติอีก ๔ ขั้นเป็นลำดับไป คือ ;
ขั้นที่ ๕ การเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งปีติ หายใจเข้า – ออก ๑,

ขั้นที่ ๖ การเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งสุข หายใจเข้า – ออก ๑,

ขั้นที่ ๗ การเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิตตสังขาร หายใจเข้า – ออก ๑,

ขั้นที่ ๘ การเป็นผู้ทำจิตตสังขารให้รำงับอยู่ หายใจเข้า – ออก ๑,

รวมเป็น ๔ ขั้นด้วยกันดังนี้. ทั้ง ๔ ขั้นนี้ จัดเป็นหมวดแห่งการเจริญภาวนาที่พิจารณาเวทนาเป็นอารมณ์สำหรับการศึกษา แทนที่จะกำหนดพิจารณากาย คือ ลมหายใจ ดังที่กล่าวแล้วในจตุกกะที่หนึ่ง.
อ่านเพิ่มเติม

ตอน แปด อานาปานสติ ขั้นที่ สี่ (การทำกายสังขาร ให้รำงับ) ส่วนที่ห้า

ตอน แปด อานาปานสติ ขั้นที่ สี่ (การทำกายสังขาร ให้รำงับ)

ส่วนที่ห้า

การบรรลุฌาน
ลำดับของการปฏิบัติในขั้นที่เป็นการบรรลุถึงฌานนี้ ควรจะได้ย้อนไปทำความเข้าใจ ตั้งแต่ขั้นที่ปฏิภาคนิมิตปรากฏขึ้นมาตามลำดับอีกครั้งหนึ่ง เพื่อความเข้าใจง่ายในขั้นนี้ : เมื่อปฏิภาคนิมิตจะปรากฏ มีสิ่งให้สังเกตล่วงหน้าได้ คือ อุคคหนิมิตในขณะนั้นแจ่มใสยิ่งขึ้น ; จิตรู้สึกสงบยิ่งขึ้น ; รู้สึกสบายใจหรือพอใจในการกระทำนั้นมากยิ่งขึ้น ; ความเพียรเป็นไปโดยสะดวก แทบจะไม่ต้องใช้ความพยายามอะไรเลย ; ลักษณะเหล่านี้แสดงว่าปฏิภาคนิมิตจะปรากฏ. ครั้นปฏิภาคนิมิตปรากฏแล้ว ต้องระมัดระวังในการรักษาปฏิภาคนิมิตโดยนัยดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น เป็นระยะยาวตามสมควร. แม้ว่าในขณะนี้นิวรณ์จะระงับไปไม่ปรากฏก็จริง แต่อัปปนาสมาธิยังล้มๆ ลุกๆ อยู่ เพราะองค์ฌานยังไม่ปรากฏแน่นแฟ้นโดยสมบูรณ์. ผู้ปฏิบัติจะต้องดำรงตนอยู่อย่างสม่ำเสมอ ในลักษณะแห่งอัปปนาโกสล ๑๐ ประการ ดังที่กล่าวแล้วเพื่อเป็นการเร่งรัดอัปปนาสมาธิให้ปรากฏต่อไป. ผู้ปฏิบัติหน่วงจิตให้ลุถึงอัปปนาสมาธิได้ ด้วยการหน่วงความรู้สึกที่เป็นองค์ฌานทั้ง ๕ ประการ ให้ปรากฏขึ้นในความรู้สึกแจ่มชัด สมบูรณ์ และตั้งอยู่อย่างแน่นแฟ้น. เมื่อองค์ฌานตั้งมั่นทั้ง ๕ องค์แล้ว ชื่อว่าลุถึงอัปปนาสมาธิหรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือการได้ฌานในอันดับแรก ซึ่งเรียกว่า ปฐมฌาน.
อ่านเพิ่มเติม

ตอน แปด อานาปานสติ ขั้นที่ สี่ (การทำกายสังขาร ให้รำงับ) ส่วนที่สี่

ตอน แปด อานาปานสติ ขั้นที่ สี่ (การทำกายสังขาร ให้รำงับ)

ส่วนที่สี่

สมาธิ ๒ อย่าง
สิ่งที่เรียกว่า สมาธิ ที่แท้จริงนั้น พอที่จะแบ่งได้เป็น ๒ อย่างคือ อุปจารสมาธิ และ อัปปนาสมาธิ. อุปจารสมาธิ แปลว่าสมาธิขั้นที่เข้าไปใกล้ กล่าวคือสมาธิที่เฉียดความเป็นฌาน. อัปปนาสมาธิ แปลว่าสมาธิแน่วแน่คือสมาธิขั้นที่เป็นฌาน. ส่วนสมาธิในขณะเริ่มแรก เช่นในขณะแห่งคณนาและอนุพันธนาเป็นต้น ยังไม่ใช่สมาธิแท้. อย่างจะเรียกได้ก็เรียกได้ว่า บริกรรมสมาธิ คือเป็นเพียงสมาธิในขณะแห่งบริกรรม หรือการเริ่มกระทำ ยังไม่ให้ผลอันใดตามความมุ่งหมายของคำว่า สมาธิ ในที่นี้จึงเว้นเสีย : คงนับแต่เป็นสมาธิเพียง ๒ อย่าง ดังกล่าวแล้ว.

เปรียบเทียบสมาธิสอง

การเปรียบเทียบระหว่าง อุปจารสมาธิ กับ อัปปนาสมาธิ จะช่วยให้เข้าใจสมาธิทั้งสองดีขึ้น คือเมื่อกล่าวโดยผล อุปจารสมาธิเป็นอุปจารภูมิ ตั้งอยู่ในขั้นที่เฉียดต่อฌาน ไม่ขึ้นไปถึงฌาน ไม่เข้าไปถึงฌาน ตั้งอยู่ได้เพียงเขตอุปจาระของฌาน คือรอบๆ. ส่วนอัปปนาสมาธินั้น ตั้งอยู่ในฐานะเป็นปฏิลาภภูมิ คือการได้เฉพาะซึ่งความเป็นฌาน. ถ้าเปรียบกับการไปถึงหมู่บ้าน : อย่างแรกก็ถึงเขตบ้าน, อย่างหลังก็ถึงใจกลางบ้าน ; แต่ก็เรียกว่าถึงบ้านด้วยกันทั้งนั้น นี้อย่างหนึ่ง. อีกอย่างหนึ่ง เมื่อกล่าวโดยการกระทำหรือกรรมวิธี อุปจารสมาธิเกิดในขณะที่พอสักว่านิวรณ์ไม่ปรากฏ หรือในขณะที่จิตละจากนิวรณ์เท่านั้น ; ส่วนอัปปนาสมาธิจะเกิดต่อเมื่อองค์แห่งฌานปรากฏชัดครบถ้วนทุกๆ องค์จริงๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คือองค์เอกัคคตา. นี้เป็นเครื่องแสดงว่า การละไปแห่งนิวรณ์กับการปรากฏแห่งองค์ทั้งห้าของฌานนั้น ไม่จำเป็นต้องมีขณะเดียวกันแท้. ข้อแตกต่างอีกอย่างหนึ่ง ก็คือ อุปจารสมาธิ หรือสมาธิเฉียดฌานนั้นมีการล้มๆ ลุกๆ เหมือนเด็กสอนเดิน เพราะองค์แห่งฌานปรากฏบ้าง ไม่ปรากฏบ้าง, ปรากฏแล้วกลับหายไปบ้าง, แล้วกลับมาใหม่ แล้วกลับหายไปอีกบ้าง, ดังนี้เรื่อยๆ ไป. อ่านเพิ่มเติม

ตอน แปด อานาปานสติ ขั้นที่ สี่ (การทำกายสังขาร ให้รำงับ) ส่วนที่สาม

ตอน แปด อานาปานสติ ขั้นที่ สี่ (การทำกายสังขาร ให้รำงับ)

ส่วนที่สาม

นิวรณ์ กับ คู่ปรับ

สิ่งที่เรียกว่านิวรณ์ ตามตัวหนังสือแปลว่า เครื่องกางกั้น แต่ความหมายหมายถึงสิ่งที่ทำความเสียหายให้แก่ความดีงามของจิต. ความดีงามของจิตในที่นี้เรียกว่า ความเป็นเอก หรือ เอกัตตะ ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น : ดังนั้นนิวรณ์จึงเป็นอุปสรรคหรือเป็นคู่ปรับกันกับเอกัตตะ ในฐานะที่เป็นปฏิปักษ์ต่อกันซึ่งจะได้ยกมากล่าวเป็นคู่ๆ พร้อมกันไปดังนี้ :

๑. กามฉันทะ เป็นนิวรณ์. เนกขัมมะ เป็นเอกัตตะ. กามฉันทะคือความพอใจในกาม ความหมกหมุ่นอาลัยในกาม หรือความใคร่ในทางกาม ที่กลุ้มรุมรบกวนจิตอยู่ ทำจิตให้ไม่แจ่มใสหรือเป็นประภัสสร : เช่นเดียวกับน้ำที่ใสสะอาด เมื่อบุคคลเอาสีแดงเป็นต้น ใส่ลงไปในน้ำแล้ว ย่อมหมดความเป็นน้ำใส ไม่อาจจะมองเห็นสิ่งต่างๆ ที่อยู่ภายใต้น้ำนั้นได้อีกต่อไป ฉันใดก็ฉันนั้น. เนกขัมมะ คือความที่จิตปราศจากกาม ไม่ถูกกามรบกวน ไม่ถูกกามกระทำให้มืดมัวไป. เมื่อใดจิตมีลักษณะเช่นนั้น เรียกว่าจิตมีเนกขัมมะ หรือเป็นเอกัตตะข้อที่หนึ่ง.

๒. พยาบาท เป็นนิวรณ์. อัพยาบาท เป็นเอกัตตะ. พยาบาท หมายถึงความที่จิตถูกประทุษร้ายด้วยโทสะหรือโกธะ กล่าวคือความขัดใจ ความไม่พอใจ ความโกรธเคือง ความกระทบกระทั่งแห่งจิตทุกชนิด ที่เป็นไปในทางที่จะเบียดเบียนตนเอง ผู้อื่น หรือวัตถุอื่น. ส่วน อัพยาบาท เป็นไปในทางตรงกันข้าม หมายถึงจิตเยือกเย็นไม่มีความกระทบกระทั่ง หรือหงุดหงิดแต่ประการใด. เมื่อพยาบาทเกิดขึ้นกลุ้มรุมจิตแล้ว ในขณะนั้นจิตย่อมพลุ่งพล่าน เสียความเป็นประภัสสร หรือความผ่องใส เหมือนน้ำที่ใสสะอาดแต่ถูกความร้อนทำให้เดือดพล่านอยู่ ย่อมสูญเสียความผ่องใส ไม่อาจจะมองเห็นสิ่งต่างๆ ที่มีอยู่ใต้พื้นน้ำนั้น ฉันใดก็ฉันนั้น.
อ่านเพิ่มเติม

ตอน แปด อานาปานสติ ขั้นที่ สี่ (การทำกายสังขาร ให้รำงับ) ส่วนที่สอง

ตอน แปด อานาปานสติ ขั้นที่ สี่ (การทำกายสังขาร ให้รำงับ)

ส่วนที่สอง

อุปสรรคของการเกิดปฏิภาคนิมิตและฌาน
ต่อไปนี้ จะได้วินิจฉัยกันถึงอุปสรรคหรืออันตราย ของการทำสมาธิในอานาปานสติขั้นที่สี่ โดยละเอียด. อุปสรรคเฉพาะตอนแรกดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้นว่า อานาปานสติขั้นที่สี่ มีใจความสำคัญอยู่ตรงที่การกำหนดลมหายใจที่ละเอียด หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือ กายสังขารที่รำงับลงๆ จนถึงที่สุด. อุปสรรคอาจจะเกิดขึ้นได้ในตอนแรก คือจากการที่ลมหายใจละเอียดจนถึงกับกำหนดไม่ได้ หรือรู้สึกราวกะว่าหายไปเสียเฉยๆ .นี้ก็เป็นอุปสรรคอย่างหนึ่ง ซึ่งทำให้เกิดความระส่ำระสายขึ้นในใจของผู้ปฏิบัติซึ่งประสบเข้าเป็นครั้งแรก. ในกรณีเช่นนี้ เขาอาจจะระงับความสงสัยหรือความกระวนกระวายใจนั้นเสียได้ โดย ๒ วิธี คือ :-

(๑) การเริ่มตั้งต้นหายใจเสียใหม่ให้รุนแรง แล้วตั้งต้นทำไปใหม่ตามลำดับตั้งแต่ต้นไปอีก ซึ่งถ้าหากสิ่งต่างๆ ได้ถูกปรับปรุงให้เป็นไปอย่างเหมาะสมกว่าคราวก่อน ก็จักผ่านอุปสรรคอันนี้ไปได้โดยอัตโนมัติ.
อ่านเพิ่มเติม

ตอน แปด อานาปานสติ ขั้นที่ สี่ (การทำกายสังขาร ให้รำงับ) ส่วนที่หนึ่ง

ตอน แปด อานาปานสติ ขั้นที่ สี่ (การทำกายสังขาร ให้รำงับ)

ส่วนที่หนึ่ง

อานาปานสติขั้นที่สี่นี้ มีหัวข้อว่า “ภิกษุนั้น ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ทำกายสังขารให้รำงับอยู่ จักหายใจเข้า ดังนี้ ; ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ทำกายสังขารให้รำงับอยู่ จักหายใจออก ดังนี้”.

(บาลีว่า ปสฺสมฺภยํ กายสงฺขารํ อสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ ; ปสฺสมฺภยํ กายสงฺขารํ ปสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ)

อานาปานสติข้อนี้ มีสิ่งที่ต้องศึกษาและวินิจฉัย อยู่ตรงคำที่ว่า “กายสังขาร” และคำว่า “ทำกายสังขารให้รำงับอยู่” ซึ่งจะได้กล่าวเป็นลำดับไป : คำว่า “กายสังขาร” หมายถึง ลมหายใจ ในเมื่อทำหน้าที่ปรุงแต่งมหาภูตรูป อันเป็นที่ตั้งแห่งเวทนาเป็นต้น ดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น ไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยอีกในที่นี้ แต่ควรจะเข้าใจสืบไปว่า ลมหายใจเป็นสิ่งที่เนื่องกันอยู่กับร่างกายอย่างใกล้ชิด ในฐานะเป็นสิ่งที่ปรุงสิ่งต่างๆ ที่เนื่องกับร่างกาย เช่นความร้อนหนาวในร่างกาย การเคลื่อนไหวของร่างกาย ตลอดถึงความอ่อนสลวยและความแข็งกระด้างเป็นต้น ของร่างกาย เพราะฉะนั้น จึงเป็นอันกล่าวได้ว่า ร่างกายกับลมหายใจนี้ มีความสัมพันธ์กัน ในทางที่จะหยาบหรือละเอียด ในทางที่จะระส่ำระสายหรือสงบรำงับ ดังนี้เป็นต้น ได้พร้อมกันไปในตัว ซึ่งเป็นเหตุให้เราสังเกตได้ว่า เมื่อร่างกายหยาบหรือระส่ำระสายเป็นต้น ลมหายใจก็หยาบหรือระส่ำระสายไปตาม ; เมื่อลมหายใจละเอียดหรือรำงับ ร่างกายก็สุขุมหรือรำงับไปตาม ; ฉะนั้น การบังคับร่างกาย ก็คือการบังคับลมหายใจ ; การบังคับลมหายใจ ก็คือการบังคับร่างกายพร้อมกันไปในตัว. เมื่อลมหายใจละเอียดหรืออยู่ในภาวะที่ละเอียด ร่างกายก็สุขุมละเอียดไม่กระด้าง ไม่เมื่อยขบ และไม่ระส่ำระสายอย่างอื่นๆ จึงเป็นอันว่านอกจากจะเป็นเครื่องสังเกตว่า เป็นไปด้วยกันหรือเสมอกันทุกลักษณะและอาการแล้ว ยังเป็นสิ่งที่ต้องได้รับการกำหนดหรือการฝึกฝนพร้อมกันไปในคราวเดียวกัน ในฐานะเป็นเครื่องส่งเสริมซึ่งกันและกัน ดังที่กล่าวแล้ว.
อ่านเพิ่มเติม

ตอน เจ็ด อานาปานสติ ขั้นที่ สาม (การกำหนดลมหายใจทั้งปวง)

ตอน เจ็ด อานาปานสติ ขั้นที่ สาม (การกำหนดลมหายใจทั้งปวง)

อานาปานสติขั้นที่สามนี้ มีหัวข้อว่า “ภิกษุนั้น ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง จักหายใจเข้า ดังนี้ ; ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง จักหายใจออก ดังนี้”. (บาลีว่า สพฺพกายปฏิสํเวที อสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ ; สพฺพกายปฏิสํเวที ปสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ)
อานาปานสติข้อนี้ มีข้อที่จะต้องวินิจฉัยก็คือ คำว่า “ย่อมทำในบทศึกษา”, คำว่า “รู้พร้อมเฉพาะ”, คำว่า “กายทั้งปวง”, และ การที่อานาปานสติได้ดำเนินถึงขั้นที่เรียกว่า ญาณ โดยสมบูรณ์ได้แล้วตั้งแต่ข้อนี้ไป :
อ่านเพิ่มเติม

ตอน หก อานาปานสติ ขั้นที่ สอง (การกำหนดลมหายใจสั้น)

ตอน หก อานาปานสติ ขั้นที่ สอง (การกำหนดลมหายใจสั้น)

อานาปานสติขั้นที่สองนี้ มีหัวข้อว่า “ภิกษุนั้น เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้สึกตัวทั่วถึง ว่าหายใจเข้าสั้น ดังนี้ ; เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้สึกตัวทั่วถึง ว่าหายใจออกสั้น ดังนี้”. (บาลีว่า รสฺสํ วา อสฺสสนฺโต รสฺสํ อสฺสสิสฺสามีติ ปชานาติ ; รสฺสํ วา ปฺสสสนฺโต รสฺสํ ปสฺสสิสฺสามีติ ปชานาติ)
อานาปานสติข้อนี้ มีความหมายแตกต่างจากขั้นที่หนึ่ง เพียงที่กล่าวถึงลมหายใจที่สั้น. ลมหายใจสั้นในที่นี้ เป็นเพียงชั่วขณะ คือชั่วที่มีการฝึกให้หายใจสั้นแทรกแซงเข้ามา. เมื่อบุคคลผู้ปฏิบัติรู้ความที่ลมหายใจสั้นเป็นอย่างไรอย่างทั่วถึงแล้ว ระงับความสนใจต่ออาการแห่งการหายใจชนิดที่เรียกว่าสั้นนั้นเสีย ไปหายใจอยู่ด้วยลมหายใจที่เป็นปรกติ ซึ่งจะเรียกว่าสั้นหรือยาวก็ได้ แล้วแต่จะเอาหลักเกณฑ์อย่างใดเป็นประมาณ ปัญหาก็หมดไป ไม่มีสิ่งที่จะต้องอธิบายเป็นพิเศษ สำหรับกรณีที่มีการหายใจสั้น.

แต่ถ้าหากว่าบุคคลผู้นั้น มารู้สึกตัวว่า ตนเป็นผู้มีการหายใจสั้นกว่าคนธรรมดาอยู่เป็นปรกติวิสัย ก็พึงถือว่าระยะหายใจเพียงเท่านั้น ของบุคคลนั้นเป็นการหายใจที่เป็นปรกติอยู่แล้ว. และเมื่อได้ปรับปรุงการหายใจให้เป็นปรกติแล้ว ก็ถือเอาเป็นอัตราปรกติสำหรับทำการกำหนดในยะระเริ่มแรก เป็นลำดับไปจนกว่าจะเกิดฉันทะและปราโมทย์ ซึ่งมีความยาวแห่งลมหายใจเพิ่มขึ้นเป็นลำดับๆ และมีกรรมวิธีต่าง ๆ ดำเนินไปจนครบทั้ง ๑๐ ขั้น ตามที่กล่าวมาแล้วในอานาปานสติขั้นที่หนึ่งอันว่าด้วยการหายใจยาว ฉันใดก็ฉันนั้น. ในกรณีที่มีการหายใจสั้นเป็นพิเศษ เพราะเหน็ดเหนื่อย การตกใจหรือโรคภัยไข้เจ็บเบียดเบียนนั้น ย่อมมีการกำหนดให้รู้ว่าสั้นเพียงในขณะนั้นเท่านั้น เมื่อสิ่งเหล่านั้นผ่านไปแล้ว การหายใจก็เป็นปรกติ และดำเนินการปฏิบัติไปโดยนัยแห่งการหายใจปรกติ เพราะการหายใจสั้นชนิดนั้นได้ผ่านไปแล้วโดยไม่ต้องคำนึง.
อ่านเพิ่มเติม

ตอนห้า อานาปานสติ ขั้นที่หนึ่ง การกำหนดลมหายใจยาว

ตอนห้า อานาปานสติ ขั้นที่หนึ่ง การกำหนดลมหายใจยาว

ภาคอานาปานสติภาวนา
จตุกกะที่ ๑ – กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน
(ตั้งแต่การเริ่มกำหนดลม จนถึงการบรรลุฌาน)

เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสข้อความอันปรารภถึงลักษณะ และกิริยาอาการของบุคคลผู้เริ่มทำสติดังนี้แล้ว ได้ตรัสถึงลำดับหรือระยะแห่งการกำหนดลมหายใจ และสิ่งที่เนื่องกับการกำหนดลมหายใจสืบไปว่า :
(๑) ภิกษุนั้น เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้สึกตัวทั่วถึง ว่าหายใจเข้ายาว ดังนี้ ; เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้สึกตัวทั่วถึง ว่าหายใจออกยาว ดังนี้,
(๒) ภิกษุนั้น เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้สึกตัวทั่วถึง ว่าหายใจเข้าสั้น ดังนี้ ; เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้สึกตัวทั่วถึง ว่าหายใจออกสั้น ดังนี้.
(๓) ภิกษุนั้น ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง จักหายใจเข้า ดังนี้ ; ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง จักหายใจออก ดังนี้.
(๔) ภิกษุนั้น ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ทำกายสังขารให้รำงับอยู่ จักหายใจเข้า ดังนี้ ; ย่อมทำในบทศึกษาว่า เราเป็นผู้ทำกายสังขารให้รำงับอยู่ จักหายใจออก ดังนี้.

ทั้ง ๔ ข้อนี้ เรียกว่าจตุกกะที่หนึ่ง หรืออานาปานสติหมวดที่หนึ่ง ซึ่งควรจะได้รับคำอธิบายอย่างละเอียดทั่วถึงเสียก่อนแต่ที่จะได้กล่าวถึงจตุกกะที่สองที่สาม เป็นลำดับไป. แม้เพียงแต่จตุกกะที่หนึ่งนี้ ก็มีคำอธิบายและเรื่องที่ต้องปฏิบัติอย่างยืดยาว และทั้งเป็นการปฏิบัติที่สมบูรณ์ขั้นหนึ่งอยู่ในตัวเอง หรือผู้ปฏิบัติอาจจะยักไปสู่การปฏิบัติที่เป็นวิปัสสนาโดยตรงต่อไป โดยไม่ต้องผ่านจตุกกะที่สอง ที่สาม ก็เป็นสิ่งที่กระทำได้ ; ฉะนั้น จึงเป็นการสมควรที่จะได้วินิจฉัยในจตุกกะที่หนึ่งนี้ โดยละเอียดเสียชั้นหนึ่งก่อน.
อ่านเพิ่มเติม

ตอน สี่ อานาปานสติภาวนา โดย พุทธทาสภิกขุ

ตอน สี่ อานาปานสติภาวนา โดย พุทธทาสภิกขุ

บุพพกิจโดยเฉพาะของการเจริญสมาธิ

ต่อไปนี้ จะได้กล่าวถึงบุพพกิจที่ใกล้ชิด หรือเฉพาะเจาะจงต่อการทำกัมมัฏฐานยิ่งขึ้นไปอีก ดังต่อไปนี้ :-

(ก) การทำอุปมาเป็นหลักประจำใจ

เกี่ยวกับการทำกัมมัฏฐานนี้ ทุกคนควรจะมีความแจ่มแจ้งในอุปมาของการทำกัมมัฏฐานทั้งหมด ไว้เป็นแนวสังเขป กันความฟั่นเฝือ. การที่ต้องใช้ฝากไว้กับอุปมา ก็เพราะเป็นการง่ายแก่การกระทำไว้ในใจ ในลักษณะที่เป็นการเห็นแจ้ง มิใช่เป็นเพียงความจำหรือความเข้าใจ. เกี่ยวกับเรื่องนี้ พระอาจารย์ในกาลก่อน เช่น อาจารย์ผู้รจนาคัมภีร์วิสุทธิมรรคโดยเฉพาะ ได้ถือเอาอุปมานี้เป็นหลัก มีใจความว่า “คนมีปัญญา ยืนหยัดมั่นคงอยู่บนแผ่นดิน ฉวยอาวุธที่คมด้วยมือ ลับที่หินแล้ว มีความเพียรถางป่ารกให้เตียนไปได้”.

คำอธิบายของท่านมีว่า คนมีปัญญา หมายถึงปัญญาเดิมๆ ที่ติดมากับตัวที่เรียกว่า “สหชาตปญฺญา” หรือที่เรียกในสมัยนี้ว่า Intellect หมายความว่าเป็นปัญญาที่ยังดิบอยู่ จะต้องได้รับการทำให้งอกงาม เป็นปัญญาที่แท้จริงโดยสมบูรณ์ ซึ่งเรียกว่า “วิปัสสนาปัญญา” หรือที่เรียกในบัดนี้ว่า Intuitive wisdom. ข้อนี้หมายความว่า คนที่จะทำกัมมัฏฐานต้องมีแววฉลาดอยู่ตามสมควร เพื่อเป็นพื้นฐานสำหรับเพาะปลูกปัญญาต่อไป. ถ้าเป็นคนโงเง่า ก็ไม่มีทางที่จะทำได้ตามแนวนี้ จักต้องไปกระทำตามแนวของพวกศรัทธา หรือพิธีรีตองต่างๆ ไปก่อนเป็นธรรมดา.
อ่านเพิ่มเติม

ตอน สาม อานาปานสติภาวนา โดย พุทธทาสภิกขุ

ตอน สาม อานาปานสติภาวนา โดย พุทธทาสภิกขุ

ความมุ่งหมายอันแท้จริงของบุพพกิจ

บุพพกิจต่างๆ เหล่านี้ ถ้าอยากจะทำ ก็จะขอแนะนำ หรือชี้ความมุ่งหมายอันแท้จริง ของกิจเหล่านั้นไว้พอเป็นตัวอย่าง ดังต่อไปนี้ :-
(๑) การทำความเคารพสักการะ แก่ท่านผู้เป็นประธานหรือเจ้าของสำนัก นั้น เป็นธรรมเนียมของสังคมทั่วไป. ส่วนที่สำคัญกว่านั้น อยู่ตรงที่จะต้องทำความเข้าใจกับท่านให้ถึงที่สุด คือให้ท่านเกิดความเข้าใจในเราว่าเราเป็นคนอย่างไร มีกิเลส มีนิสัยสันดานอย่างไร ต้องการความสะดวกเพื่อการปฏิบัติในส่วนไหน ดังนี้เป็นต้น. เพื่อท่านจะได้ไว้ใจเราและให้ความช่วยเหลือแก่เราอย่างถูกต้องและเต็มที่ได้โดยง่ายดาย เป็นการปรารภธรรมะเป็นใหญ่ มิใช่ปรารภวัตถุหรือพิธีรีตอง ดังกล่าวแล้ว. ถ้าเป็นเรื่องที่ไม่อาจทำความเข้าใจกันได้ ก็อย่าเข้าไปสู่สำนักนั้นเลย ข้อนี้เป็นกิจที่ต้องทำในขั้นแรกที่สุด และก็ทำเพียงครั้งเดียวเป็นธรรมดา หลังจากนั้นก็มีแต่การประพฤติปฏิบัติให้ตรงตามข้อสัญญาหรือข้อตกลงต่างๆ ที่มุ่งหมายจะช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ด้วยอาศัยความเมตตากรุณาเป็นที่ตั้งอย่างแท้จริง
อ่านเพิ่มเติม

ตอน สอง อานาปานสติภาวนา โดย พุทธทาสภิกขุ

ตอน สอง อานาปานสติภาวนา โดย พุทธทาสภิกขุ

บุพพภาคทั่วไปของการเจริญสมาธิ

ต่อไปนี้จะได้กล่าวถึงเรื่อง สมาธิภาวนา แต่ในทางปฏิบัติโดยเฉพาะ. สิ่งแรกที่สุดที่อยากจะกล่าว ก็คือ สิ่งที่เรียกว่า บุพพภาคของสมาธิภาวนาที่เกิดขึ้นในชั้นหลัง. สิ่งที่เรียกว่าบุพพภาคก็คือ สิ่งที่ต้องทำก่อน ซึ่งในที่นี้ ก็ได้แก่สิ่งที่ต้องทำก่อนการเจริญสมาธินั้นเอง. ที่เรียกว่า “ในชั้นหลัง”ในที่นี้นั้นย่อมบ่งชัดอยู่ในตัวแล้วว่าเป็นสิ่งที่เพิ่งเกิดมีธรรมเนียมอันนี้กันขึ้นในชั้นหลัง ไม่เคยมีในครั้งพุทธกาลเลย แต่ก็ยึดถือกันมาอย่างแน่นแฟ้นเอาเสียทีเดียว. แต่เนื่องจากสิ่งที่กล่าวนี้มิใช่ว่าจะเป็นสิ่งที่ไม่มีประโยชน์เอาเสียทีเดียว เพราะฉะนั้น จึงเป็นสิ่งที่ควรจะได้รับการพิจารณาโดยสมควร แล้วถือเป็นหลักเฉพาะคน หรือเฉพาะกรณีเท่าที่ควรอีกเหมือนกัน แต่อย่าทำไปด้วยความยึดมั่นถืออย่างงมงาย ดังที่ทำกันอยู่โดยทั่วๆ ไปเลย.

สิ่งที่เรียกว่าบุพพภาค ดังกล่าวนั้น ที่นิยมทำกันอยู่ในสมัยนี้ และบางแห่งก็ถือเป็นสิ่งที่เข้มงวดกวดขัน อย่างที่จะไม่ยอมให้ใครละเว้นนั้น ก็มีอยู่มากซึ่งอาจจะประมวลมาได้ ดังต่อไปนี้ :-

๑. การนำเครื่องสักการะแด่เจ้าของสำนัก หรือผู้เป็นประธานของสำนัก. ข้อนี้เป็นสิ่งจะมีไม่ได้ในครั้งพุทธกาล คือไม่มีผู้เป็นประธาน หรือเจ้าของหรือผู้อุปถัมภ์สำนักเช่นนั้น และแถมจะไม่มีสำนักเช่นนั้นด้วยซ้ำไป เพราะผู้ปฏิบัติแต่ละคนๆ ก็ล้วนแต่เป็นผู้ที่อยู่กับอุปัชฌาย์อาจารย์ของตน. เป็นหน้าที่ที่อุปัชฌาย์อาจารย์เหล่านั้น จะต้องบอกต้องสอนอยู่แล้วเป็นประจำวัน. แม้จะเข้าประจำสำนักอื่น ก็ไม่มีสำนักไหนที่จะมีอยู่ในลักษณะที่จะต้องทำเช่นนั้น, เนื่องจากการกระทำในสมัยนั้นไม่มีหลักในทางพิธีรีตองเหมือนสมัยนี้. ครั้นตกมาถึงสมัยนี้ผู้ปฏิบัติจะต้องรู้จักความพอเหมาะพอดี หรือความควรไม่ควรในข้อนี้ด้วยตนเอง.
อ่านเพิ่มเติม

ตอน หนึ่ง อานาปานสติภาวนา โดย พุทธทาสภิกขุ

ตอน หนึ่ง อานาปานสติภาวนา โดย พุทธทาสภิกขุ

อานาปานสติภาวนา

ภาคนำ

ว่าด้วยบุพพกิจของสมาธิภาวนา

ตอน หนึ่ง

การมีศีล และธุดงค์

วันนี้ จะได้พูดถึงเรื่องแนวการปฏิบัติธรรม ในสวนโมกขพลาราม ภาคสอง อันว่าด้วยหลักปฏิบัติเฉพาะเรื่องหรือเฉพาะคน ต่อจากภาคที่หนึ่ง ซึ่งกล่าวถึงหลักปฏิบัติทั่วไป อันได้บรรยายแล้วเมื่อปีก่อน (ในพรรษาปี ๒๕๐๑).

ขอซ้อมความเข้าใจอีกครั้งหนึ่งว่า ในภาคหนึ่งที่เรียกว่าหลักปฏิบัติธรรมทั่วไปนั้น หมายถึงการปฏิบัติที่เป็นแนวทั่วๆ ไป สำหรับทำให้เกิด “การเป็นอยู่โดยชอบ” คือเป็นพื้นฐาน สำหรับการเป็นอยู่ที่เหมาะสำหรับการปฏิบัติเฉพาะเรื่องเช่นการทำสมาธิข้อใดข้อหนึ่งเป็นต้น ซึ่งจะได้กล่าวในภาคหลังนี้ เพราะฉะนั้นจึงเห็นได้ว่า เป็นเรื่องที่เกี่ยวเนื่องกันโดยแท้.

เมื่อบุคคลได้เป็นอยู่ตามหลักปฏิบัติในภาคหนึ่งแล้ว ย่อมชื่อว่าเป็นผู้มีศีล มีธุดงค์ อยู่ในตัว และมากพอที่จะเป็นบาทฐานของการปฏิบัติที่สูงขึ้นไปโดยเฉพาะคือ สมาธิภาวนา. อีกประการหนึ่ง หลักปฏิบัติตามที่กล่าวไว้ในภาคหนึ่งนั้น ย่อมเป็นการอธิบายหลักปฏิบัติในภาคหลังเฉพาะส่วนที่เป็นทฤษฎีทั่วไปเกี่ยวกับเรื่องนั้น ซึ่งไม่ควรจะเอามาปนกับหลักปฏิบัติโดยตรง เพราะจะทำให้ฟั่นเฝือหรือตาลาย เพราะตัวหนังสือมากเกินไป; จึงมีไว้เพียงสำหรับให้ศึกษาเป็นพื้นฐานทั่วๆ ไปเท่านั้น. แต่เมื่อเกิดมีปัญหาเกี่ยวกับเรื่องนั้นขึ้นมา ผู้ปฏิบัติก็จำเป็นจะต้องย้อนไปหาคำตอบจากเรื่องฝ่ายทฤษฎีเหล่านั้น ด้วยตนเองตามกรณีที่เกิดขึ้น. ขอให้ทำความเข้าใจไว้ว่า หลักทั่วไปในภาคหนึ่ง ก็ต้องเป็นสิ่งที่คล่องแคล่วหรือคุ้นเคย แก่การคิดนึกของผู้ปฏิบัติอยู่เป็นประจำ จึงจะสำเร็จประโยชน์เต็มที่.
อ่านเพิ่มเติม

ธรรมน่ารู้ จากท่านพุทธทาสภิกขุ

ธรรมน่ารู้ จากท่านพุทธทาสภิกขุ

ข้าพเจ้ามอบชีวิตและร่างกายนี้ ถวายแด่พระพุทธเจ้าข้าพเจ้าเป็นทาสของพระพุทธเจ้า

ธรรมคำสอนของท่านพุทธทาสภิกขุ ล้วนแล้วแต่สอนอย่างถึงแก่นถึงแกน ที่ถูกต้องดีงาม สมดั่งพระพุทธประสงค์
ท่านทำหน้าที่ได้สมดังฉายาขององค์ท่านว่า “พุทธทาส” โดยบริบูรณ์
ผู้เขียนได้เลือกLink ไปยังWeb พุทธทาส.คอม ที่เห็นว่าเกื้อหนุนให้เกิดความเข้าใจในธรรม อันเนื่องกับธรรมในWebนี้
นอกจากLinkเหล่านี้แล้ว ยังมีธรรมะต่างๆที่น่ารู้ น่าศึกษา เป็นแก่นเป็นแกนของท่านอีกเป็นจำนวนมาก
ใน พุทธทาส.คอม และที่ พุทธทาสศึกษา
การศึกษาข้อธรรม,ข้อเขียนของท่านนั้น ควรศึกษาอย่างพิจารณา วางใจเป็นกลาง วางความเชื่อ ความยึดเดิมๆ ชั่วขณะ
พิจารณาตามเหตุตามผล เพราะข้อธรรมคำสอนของท่านนั้น เป็นการสอนอย่างตรงไปตรงมาเป็นที่สุด
จึงมักขัดแย้งกับความเชื่อ(ทิฏฐุปาทาน) ความยึดเดิมๆ(สีลัพพตุปาทาน)ตามที่ได้สืบทอด อบรม สั่งสมมา
อันแอบซ่อน,แอบเร้นอยู่ในจิตโดยไม่รู้ตัว จึงทำให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ และยอมรับได้ยาก
ต้องใช้การโยนิโสมนสิการในการพิจารณาในข้อธรรมบรรยายของท่านด้วยใจเป็นกลาง อย่างหาเหตุหาผล จึงจักได้รับประโยชน์สูงสุด
อ่านเพิ่มเติม

ตามรอย “พุทธทาส” ในมุมที่คุณอาจไม่เคยรู้!

ตามรอย “พุทธทาส” ในมุมที่คุณอาจไม่เคยรู้!

“พุทธทาสภิกขุ” นามนี้ดังก้องโลก หลายคนอาจเคยมีโอกาสเดินตามรอยท่าน จากบทธรรมคำสอนที่ฝากเอาไว้อย่างมากล้น มากเสียจนแม้กระทั่งผู้ที่ไม่เคยก้าวย่ำลงไปศึกษาพระธรรมด้วยตนเอง คงเคยได้รับอานิสงส์แห่งความเมตตาไปแล้วหลายต่อหลายครั้ง ผ่านตัวอักษรในหน้าหนังสือ ผ่านคำเทศน์ที่ยังถูกเปิดซ้ำๆ ดั่งเจ้าของสำเนียงไม่เคยลาลับไปไหน
ในวาระครบรอบ 20 ปีมรณกาล และรำลึกเดือนแห่งการเกิดของท่าน (พ.ค.) จึงเป็นโอกาสอันดีที่จะได้ตามรอย ปัดฝุ่นอดีตผู้ยิ่งใหญ่ จากปากคำของคนใกล้ชิด ในอีกหลายแง่มุมที่คุณอาจไม่เคยรู้!

เลือด “ศิลปิน” จากโยมพ่อ
“เขามีส่วน เลวบ้าง ช่างหัวเขา
จงเลือกเอา ส่วนที่ดี เขามีอยู่
เป็นประโยชน์ โลกบ้าง ยังน่าดู
ส่วนที่ชั่ว อย่าไปรู้ ของเขาเลย
จะหาคน มีดี โดยส่วนเดียว
อย่ามัวเที่ยว ค้นหา สหายเอ๋ย
เหมือนเที่ยวหา หนวดเต่า
ตายเปล่าเลย ฝึกให้เคย มองแต่ดี มีคุณจริง”

อ่านเพิ่มเติม

พุทธทาสภิกขุ

พุทธทาสภิกขุ

ท่านพุทธทาสภิกขุ เป็นพระภิกษุสงฆ์ชาวไทยผู้มอบคำสอนทางพุทธศาสนาไว้มากมาย โดยคำสอนจำนวนมากเป็นธรรมะระดับโลกุตระ อันมีนิโรธเป็นรส และมีนิพพานเป็นอารมณ์ ซึ่งพุทธศาสนิกชนส่วนใหญ่เห็นว่าเป็นธรรมะขั้นสูง และไม่เหมาะกับฆราวาสผู้ยังเวียนว่ายอยู่ในวังวนแห่งโลกียะ แต่ท่านพุทธทาสภิกขุตระหนักว่าธรรมะเหล่านี้คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนา และพุทธมามกะไม่ว่าจะระดับชั้นใดก็ควรจะได้รับรู้ ได้รับปฏิบัติ และได้รับผลจากธรรมะเหล่านี้ ซึ่งถึงแม้จะเป็นธรรมะที่ละเอียดลึกซึ้ง แต่ท่านพุทธทาสภิกขุก็ได้ถ่ายทอดให้อยู่ในรูปแบบที่คนทั่วไปสามารถเข้าถึงและเข้าใจ โดยยังคงเนื้อหาสำคัญไว้ได้อย่างครบถ้วน คำสอนทั้งหลายของท่านพุทธทาสภิกขุ แท้จริงแล้วก็คือการสกัดพระสูตรให้ออกมาเป็นภาษาพูด และพระอภิธรรมให้ออกมาเป็นภาษาชาวบ้านนั่นเอง โดยข้อธรรมที่ท่านพุทธทาสภิกขุเน้นย้ำมากที่สุดคือเรื่องสุญญตา จนทำให้ผู้ศึกษาพระพุทธศาสนาหลายคนเรียกท่านว่า นักรบเพื่อความว่าง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นคำสอนของท่านพุทธทาสภิกขุยังรวมไปถึงเรื่องพื้นฐาน เช่น เรื่องการทำงาน และเรื่องการศึกษา ซึ่งคนทั่วไปสามารถนำธรรมะเหล่านี้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ทันที
นอกจากพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทแล้ว ท่านพุทธทาสภิกขุยังมีใจเปิดกว้างทำการศึกษาคำสอนของต่างศาสนาและต่างนิกาย ด้วยความคิดว่าศาสนาทั้งหลายล้วนมุ่งหมายในสิ่งเดียวกัน ในสมัยที่ท่านพุทธทาสภิกขุจำพรรษาอยู่ที่สวนโมกขพลาราม นอกจากสาธุชนคนไทยผู้สนใจในธรรมะทั้งหลายจะแวะเวียนมาสนทนา และฟังเทศน์ฟังธรรมจากท่านพุทธทาสภิกขุอย่างไม่ขาดสายแล้ว ยังมีชาวต่างชาติผู้ต้องการเรียนรู้พระพุทธศาสนา นักศึกษาและอาจารย์ทางด้านศาสนศาสตร์จากต่างประเทศ รวมถึงประมุขของศาสนจักรต่างๆ แวะเวียนมาพูดคุยแลกเปลี่ยนทัศนคติความคิดเห็น รวมทั้งสนทนาธรรมกับท่านเป็นอันมาก ทำให้สวนโมกขพลารามเปรียบเสมือนตักศิลาสำหรับผู้ศรัทธาในพระพุทธศาสนา และทำให้วงการพระพุทธศาสนากลับมาตื่นตัวอีกครั้ง
อ่านเพิ่มเติม

พระธรรมโกศาจารย์ (เงื่อม อินฺทปญฺโญ)

พระธรรมโกศาจารย์ (เงื่อม อินฺทปญฺโญ)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

พระธรรมโกศาจารย์
(เงื่อม อินทปญฺโญ)
พุทธทาสภิกขุ

เกิด 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2449
มรณภาพ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2536
อายุ 87
อุปสมบท 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2469
พรรษา 67
วัด ธารน้ำไหล (สวนโมกขพลาราม)
ท้องที่ สุราษฎร์ธานี
สังกัด มหานิกาย
วุฒิการศึกษา ป.ธ.๓, น.ธ.เอก
รางวัล บุคคลสำคัญของโลกชาวไทยโดยยูเนสโก
ลายมือชื่อ

พระธรรมโกศาจารย์ (เงื่อม อินทปัญโญ) หรือรู้จักในนาม พุทธทาสภิกขุ (27 พฤษภาคม พ.ศ. 2449 — 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2536) เป็นชาวอำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2449 เริ่มบวชเรียนเมื่ออายุได้ 20 ปี ที่วัดบ้านเกิด จากนั้นได้เข้ามาศึกษาพระธรรมวินัยต่อที่กรุงเทพมหานคร จนสอบได้เปรียญธรรม 3 ประโยค แต่แล้วท่านพุทธทาสภิกขุก็พบว่าสังคมพระพุทธศาสนาแบบที่เป็นอยู่ในขณะนั้นแปดเปื้อนเบือนบิดไปมาก และไม่อาจทำให้เข้าถึงหัวใจของพระพุทธศาสนาได้เลย ท่านจึงตัดสินใจหันหลังกลับมาปฏิบัติธรรมที่อำเภอไชยา ซึ่งเป็นภูมิลำเนาเดิมของท่านอีกครั้ง พร้อมปวารณาตนเองเป็น พุทธทาส เนื่องจากต้องการถวายตัวรับใช้พระพุทธศาสนาให้ถึงที่สุด
ผลงานเด่นของทาสพุทธทาสคืองานหนังสือ อาทิ หนังสือพุทธธรรม, ตามรอยพระอรหันต์ และคู่มือมนุษย์ และเป็นสงฆ์ไทยรูปแรกที่บุกเบิกการใช้โสตทัศนูปกรณ์สมัยใหม่สำหรับการเผยแพร่ธรรมะ และท่านมีสหายธรรมคนสำคัญ คือ ปัญญานันทภิกขุ แห่งวัดชลประทานรังสฤษฎ์ และ ท่าน บ.ช. เขมาภิรัตน์ [1]
อ่านเพิ่มเติม

. . . . . . .