ธรรมบรรยาย หลักการฝึกสมาธิเพื่อการศึกษา

ธรรมบรรยาย หลักการฝึกสมาธิเพื่อการศึกษา

เป็นธรรมะที่บรรยายโดยพระเทพสิงหบุราจารย์ (หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม) ในโอกาสต่างๆ ที่ผ่านมาในอดีต

สมาธิคืออะไร ?
พจนานุกรมให้คำอธิบายว่า ความตั้งมั่นแห่งจิต การสำรวมใจ ความแน่วแน่ของจิต การตริตรองอย่างเคร่งเครียดในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
คำอธิบายเหล่านี้ล้วนแต่แสดงลักษณะของสมาธิ ให้เห็นความหมายและความสำคัญที่มีอยู่ในสมาธินั้นทั้งสิ้น เพียงแต่ความตั้งมั่นแห่งจิต ซึ่งเป็นคำอธิบายท่อนแรก ก็มีความหมายลึกซึ้ง และแสดงให้เห็นว่า สมาธินั้นเกี่ยวกับจิต เพราะว่าความตั้งมั่นจะมีได้ต้องตั้งอยู่ที่จิต การทำจิตให้มั่นคง ไม่ให้ฟุ้งซ่าน ไม่ให้กวัดแกว่ง ให้ตั้งอยู่ในอารมณ์ ไม่เกาะเกี่ยวด้วยสิ่งอื่น ไม่ให้เป็นไปตามกระแสของสิ่งต่าง ๆ ที่ได้ประสบด้วยตา หรือหู หรือจมูก ลิ้น กาย ใจ
ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ทั้ง ๖ นี้ มีชื่อเรียกตามหลักธรรมในพระพุทธศาสนาว่า “อินทรีย์” คำว่า อินทรีย์ แปลว่า เป็นใหญ่ คือเป็นใหญ่ในหน้าที่ของตน ตาเป็นใหญ่ในการดู หูเป็นใหญ่ในการฟัง จมูกเป็นใหญ่ในการดม ลิ้นเป็นใหญ่ในการลิ้ม กายเป็นใหญ่ในการถูกต้อง ใจเป็นใหญ่ในการรู้ ดู ฟัง ลิ้ม ถูกต้อง รู้ เป็นหน้าที่ของอินทรีย์ทั้ง ๖ แต่ละอย่าง อ่านเพิ่มเติม

ธรรมบรรยาย หลักการทำนายรัก

ธรรมบรรยาย หลักการทำนายรัก

เป็นธรรมะที่บรรยายโดยพระเทพสิงหบุราจารย์ (หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม) ในโอกาสต่างๆ ที่ผ่านมาในอดีต

หลักการทำให้นายรัก และไว้วางใจนายนั้นมี ๒ ลักษณะ คือ
รวบรวมโดย พระราชสุทธิญาณมงคล วัดอัมพวัน จังหวัดสิงห์บุรี

นายจ้าง คือ นายผู้เป็นเจ้าของบ้าน เจ้าของกิจการ เจ้าของบริษัท เจ้าของสถานที่
นาย คือ ผู้บังคับบัญชา เช่น งานราชการทั่วไป หรือบริษัท ที่ระบบคล้ายราชการ หรือธนาคาร เป็นต้น
นาย คือ ผู้ร่วมงาน ที่มอบหมายให้เราทำงานชิ้นใดชิ้นหนึ่งให้สำเร็จ
—————————————————-
1. ถ้าผู้เป็นนายนั้น สั่งหรือมอบหมายให้ทำงานใด ๆ แล้ว ถ้ารับปาก ก็จงทำงานนั้นจนสำเร็จ ไม่ควรให้เขาเตือนเป็นครั้งที่ ๒
2. รักษาหรือทำสถานที่ทำงานนั้นให้สะอาดอยู่เสมอ
3. วัตถุหรือสิ่งใด ๆ วางเกะกะพึงเก็บเสียเองให้เรียบร้อย อย่ารอให้เขาเตือน
4. พึงทำงานให้คุ้มค่าแรงและให้เหลือกว่าค่าแรงเสมอ อ่านเพิ่มเติม

ธรรมบรรยาย สุจริตธรรม

ธรรมบรรยาย สุจริตธรรม

เป็นธรรมะที่บรรยายโดยพระเทพสิงหบุราจารย์ (หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม) ในโอกาสต่างๆ ที่ผ่านมาในอดีต

สุจริตธรรมให้เกิดผลอย่างไร คิดให้รอบคอบสักหน่อย ก็จักให้เห็นได้ในปัจจุบันนี้เอง ผู้ประพฤติสุจริตธรรมย่อมเป็นคนไม่มีภัย ไม่มีเวร มีกาย วาจา ใจ ปลอดโปร่งนี้เอง ความสุขที่เห็นกันอยู่แล้ว ส่วนผู้ประพฤติทุจริตอธรรม ตรงกันข้าม มีกาย วาจา ใจ หมกมุ่นวุ่นวาย แม้จักมีทรัพย์ ยศ ชื่อเสียง สักเท่าใด ก็ไม่ช่วยให้ปลอดโปร่งได้ ต้องเปลืองทรัพย์ เปลืองสุข ระวังทรัพย์ ระวังรอบด้าน นี้เป็นความสุขที่เห็นกันอยู่แล้ว ส่วนในอนาคตเล่าจักเป็นอย่างไร อาศัยพุทธภาษิตที่แสดงว่า
กลฺยาณการี กลฺยาณํ ผู้ทำดีย่อมได้ดี
ปาปการี จ ปาปกํ ผู้ทำชั่วย่อมได้ชั่ว
จึงลงสันนิษฐานได้ว่า สุจริตธรรม อำนวยผลที่ดีคือความสุข ทุจริตอธรรม อำนวยผลที่ชั่วคือความทุกข์ แม้ในอนาคตแน่แท้ อนึ่งในที่นี้รวมผลแห่งสุจริตธรรมทั้งสิ้น แสดงรวมยอดอย่างเดียวว่าความสุข เพราะเหตุนี้ สิ่งใดเป็นอุปกรณ์แห่งความสุข หรือเรียกว่าสุขสมบัติ เช่น ความบริบูรณ์ทรัพย์ ผิวพรรณงาม อายุยืน ยศ ชื่อเสียง เป็นต้น สิ่งนั้นทั้งหมดเป็นผลแห่งสุจริตธรรม อ่านเพิ่มเติม

ธรรมบรรยาย สุขา สงฺฆสฺส สามคฺคี

ธรรมบรรยาย สุขา สงฺฆสฺส สามคฺคี
ความพร้อมเพรียง ความสามัคคีแห่งหมู่ เป็นสุข

เป็นธรรมะที่บรรยายโดยพระเทพสิงหบุราจารย์ (หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม) ในโอกาสต่างๆ ที่ผ่านมาในอดีต

ภาษิตข้อนี้มีอธิบายว่า ความพร้อมเพรียงช่วยกันทำการงาน และไม่มีความบาดหมางกลมเกลียวเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เรียกว่า สามัคคี เมื่อกล่าวโดยประเภทเป็น ๒ ประเภท
กายสามัคคี ความพร้อมเพรียงกันด้วยกำลังกาย ๑
จิตตสามัคคี ความพร้อมเพรียงกันด้วยน้ำใจ ๑
สามัคคีทั้งสองประเภทนี้ ต้องอาศัยซึ่งกันและกัน แต่กายสามัคคี ถ้าเป็นแต่เพียงกำลังกาย น้ำใจไม่สามัคคีด้วย เช่น คนที่อยู่ในอำนาจของนายงาน เมื่อนายบังคับก็ช่วยกันยกและลากของอันหนักให้ถึงที่ต้องการได้ เป็นแต่สามัคคีต่ำๆ เพราะช่วยกันทำชั่วคราวที่เขาบังคับเท่านั้น ส่วนจิตสามัคคี เป็นคุณธรรมลึกซึ้งอาจให้ผลแรงกว่าความพร้อมเพรียงกันแต่เพียงกำลังกาย เพราะผู้ที่มีน้ำใจประกอบด้วยไมตรีอารีแก่กันเอง จะมีผู้บังคับก็ตาม ไม่มีผู้บังคับก็ตาม ย่อมสามัคคีพรักพร้อมช่วยกันทำช่วยกันคิด ให้ประโยชน์กิจสำเร็จโดยชื่นตาชื่นใจ สามัคคีมีนัยพรรณนามานี้มีอยู่ในหมู่ใดสมาคมใด หมู่นั้นสมาคมนั้น พึงหวังแต่ความเจริญส่วนเดียว ไม่มีความเสื่อมทราม อ่านเพิ่มเติม

ธรรมบรรยาย สวัสดีปีใหม่ พ.ศ.๒๕๓๖ – ชีวิตใหม่

ธรรมบรรยาย สวัสดีปีใหม่ พ.ศ.๒๕๓๖ – ชีวิตใหม่

เป็นธรรมะที่บรรยายโดยพระเทพสิงหบุราจารย์ (หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม) ในโอกาสต่างๆ ที่ผ่านมาในอดีต

ในชีวิตใหม่ที่มีความสุข ความเจริญก้าวหน้าของชีวิต คิดสิ่งใดทำสิ่งใด ก็อยากให้สำเร็จตามปรารถนา เป็นปีแห่งความสดชื่นเบิกบานใจเหมือนดังกับดอกไม้แย้มกลีบ มีสีสันสดสวยตระการตา แก่ผู้พบเห็นทั่วไป ความสดสวยของชีวิตจะต้องเกิดขึ้นตามระบบและครรลองที่ถูกต้อง ซึ่งจะต้องมีแผนการในการสร้างชีวิต แผนการในการสร้างอนาคต ดำเนินให้ต่อเนื่อง ด้วยความตั้งใจที่แน่วแน่ และมั่นคง เพื่อที่จะนำนาวาของชีวิตให้บรรลุเป้าหมาย และความสำเร็จดังที่ตั้งปณิธานไว้ การที่เราจะมีชื่อเสียง เกียรติยศ มีทรัพย์สินเงินทอง มีสุขภาพพลานามัยที่สมบูรณ์นั้น หรือทำให้เกิดความสุขนั้นอยู่ที่ตัวเราเองทั้งสิ้น เราเป็นผู้สร้างสรร และเป็นผู้ที่จะกระทำให้เกิดขึ้น ถ้าทำให้เกิดความสุขมากก็เป็นของเรา ถ้าทำให้เกิดน้อยก็เป็นของเรา หรือถ้าไม่ทำก็ไม่มีสุข สุขนั้นจะต้องทำให้เกิดขึ้น จึงจะเป็นสุข
ความหวังสมดังหมาย เมื่อได้ทำ อ่านเพิ่มเติม

ธรรมบรรยาย สร้างความดีไว้ให้กับลูก

ธรรมบรรยาย สร้างความดีไว้ให้กับลูก

เป็นธรรมะที่บรรยายโดยพระเทพสิงหบุราจารย์ (หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม) ในโอกาสต่างๆ ที่ผ่านมาในอดีต

สร้างถูกในการ ใช้สถานทางพระพุทธศาสนา คือ วัด หรือสถานต่างๆ
(ไม่ทำบาป ทำชั่ว ในสถานที่นั้น)
สร้างถูกในการจัดงานบวช ไม่มีอบายมุขในงานบวชนั้นๆ
สร้างถูกในการงานศพ ไม่มีการจัดอบายมุขในงานศพนั้นๆ
สร้างถูกในการการเคารพทิศทั้ง ๖ (เบื้องหน้า-ขวา-ซ้าย-หลัง-บน-ล่าง)
สร้างถูกในการรู้จักแสวงหาอริยทรัพย์ภายใน
สร้างถูกเรื่องเห็นโทษของอบายมุขทั้ง ๖
สร้างถูกเรื่องเห็นคุณของชีวิตในกาลทั้ง ๓ กาล
สร้างถูกเรื่องการเคารพเวลา
สร้างถูกเรื่องการเคารพผู้สูงโดยวัย-โดยชาติ-โดยคุณธรรม-สมณพราหมณ์-ศีลธรรม-กฎหมาย
สร้างถูกเรื่องไม่นอนตื่นสาย-ไม่อายหากิน-ไม่หมิ่นเงินน้อย-ไม่คอยวาสนา
สร้างถูกเรื่องแต่งตัวพอเหมาะพอดี ไว้ผมพอเหมาะพอดี
สร้างถูกเรื่องการรักนวลสงวนตัวของกุลสตรี
สร้างถูกเรื่องให้เห็นความสำคัญในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา

ขอบคุณข้อมูล : http://palipage.com/watam/piyapan4/K00078.htm

ธรรมบรรยาย สนุกกับการทำงาน

ธรรมบรรยาย สนุกกับการทำงาน

เป็นธรรมะที่บรรยายโดยพระเทพสิงหบุราจารย์ (หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม) ในโอกาสต่างๆ ที่ผ่านมาในอดีต

รวบรวมโดย พระราชสุทธิญาณมงคล วัดอัมพวัน จังหวัดสิงห์บุรี

มีบทเพลงธรรมะอยู่บทหนึ่งว่า “งานคือชีวิต ชีวิตคืองาน บันดาลสุข ทำงานให้สนุก เป็นสุขเมื่อทำงาน” นี่ก็หมายความว่า ควรหาความสุขหรือความเพลิดเพลินกับการทำงานได้แก่ ทำงานด้วยความพอใจ ทำงานด้วยความเต็มใจ เข้าใจทำ
บางคนบ่นว่า “เซ็งเหลือเกิน” บางคนก็ว่า “ไม่รู้จะทำอะไรดี” หรือบางคนบอกว่า “ไม่มีงานทำ” ดังนี้เป็นต้น ที่พูดอย่างนี้ก็อาจเป็นเพราะสาเหตุหลายประการ เช่น
1. เพราะบางคนไม่รู้จักการทำงาน ไม่รู้จักวางแผนการทำงาน ไม่รู้จักปรับตัวให้เข้ากับงาน และบุคคลผู้ร่วมงาน
2. เพราะบางคนไม่อยากทำงาน มีความเกียจคร้านเป็นพื้นฐาน หรืองานที่ทำมากเกินไป ไม่ทราบว่าจะทำอะไรก่อนหลัง
3. เป็นคนจับจด เลือกงานที่จะทำ ดูหมิ่นงานบางอย่างว่าไม่เหมาะกับตน ทั้ง ๆ ที่ยังไม่ลงมือทำงาน เมื่อไม่ได้งานอย่างที่ตนหวังไว้ก็จะไม่ทำงาน ปล่อยกาลเวลาให้ล่วงไป ๆ โดยเปล่าประโยชน์ อ่านเพิ่มเติม

ธรรมบรรยาย ศีลคือชีวิต

ธรรมบรรยาย ศีลคือชีวิต

เป็นธรรมะที่บรรยายโดยพระเทพสิงหบุราจารย์ (หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม) ในโอกาสต่างๆ ที่ผ่านมาในอดีต

คนที่บอกว่าเขารักชีวิต แต่เขาไม่รักษาศีล จะเชื่อถือได้อย่างไรว่าเขารักชีวิตจริง
ศีล คือชีวิต ชีวิต คือศีล
คนไม่มีศีล เปรียบเสมือนต้นไม้ที่ไม่มีราก เมื่อถูกลมพัดก็ย่อมล้ม
คนไม่มีศีล เหมือนการสร้างบ้าน สร้างตึกที่ไม่มีรากฐานไม่มีเสาเข็ม ย่อมล้มเป็นธรรมดา
คนไม่มีศีล เหมือนคนไม่มีเท้าย่อมเดินไม่ได้ เหมือนรถไม่มีล้อแล่น วิ่งไม่ได้
คนไม่มีศีล เหมือนคนเป็นใหญ่เป็นโต แต่ไม่มีความรู้ ย่อมปกครองทรัพย์ ปกครองลูกน้องไม่ได้ดี
คนไม่มีศีล จะเจริญสมาธิและกระทำให้เกิดปัญญา และวิมุตติไม่ได้ และสำเร็จมรรคผลนิพพานไม่ได้
คนมีศีล ตกน้ำไม่ไหล ตกไฟก็ไม่ไหม้ (ไม่ว่าจะอยู่ในหมู่คนพาล หรือคนดี ย่อมรักษาตัวรอดได้)
คนมีศีล จะนั่งนอน หลับตื่น ก็เป็นสุขอยู่ในกาลทุกเมื่อ ไม่มีวิปฏิสาร (คือความเดือดร้อนใจ) อ่านเพิ่มเติม

ธรรมบรรยาย วิธีการทำงาน

ธรรมบรรยาย วิธีการทำงาน

เป็นธรรมะที่บรรยายโดยพระเทพสิงหบุราจารย์ (หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม) ในโอกาสต่างๆ ที่ผ่านมาในอดีต

รวบรวมโดย พระราชสุทธิญาณมงคล วัดอัมพวัน จังหวัดสิงห์บุรี

ทุกคนที่เกิดมา ในโลกนี้ล้วนแต่ต้องทำงาน หรือต้องมีงานทำเพราะทุกคนต้องการดีกันทั้งนั้น แต่ดีจะเกิดขึ้นมาได้ก็เพราะอาศัยเหตุ ๕ ประการ คือ
1. การทำงาน
2. ความรู้
3. ธรรมะ
4. ศีล
5. ชีวิตที่ชอบธรรม
(กมฺมํวิชฺชา จ ธมฺโม จ สีลํ ชีวิตมุตตฺตมํ เอเตน มจฺจาสุชฺฌนฺติ นโคตฺเตนธเนนวา) อ่านเพิ่มเติม

ธรรมบรรยาย วางแผนชีวิต เพื่อพิชิตความทุกข์

ธรรมบรรยาย วางแผนชีวิต เพื่อพิชิตความทุกข์

เป็นธรรมะที่บรรยายโดยพระเทพสิงหบุราจารย์ (หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม) ในโอกาสต่างๆ ที่ผ่านมาในอดีต

วางแผน เรื่องทิศหก (เบื้องหน้า-เบื้องขวา-เบื้องซ้าย-เบื้องหลัง-เบื้องบน-เบื้องล่าง)
วางแผน เรื่องการแบ่งปันทรัพย์โดยสถาน ๕ (ใช้หนี้เก่า-ให้เขายืม-ใส่ปากงูเห่า จรเข้-ทิ้งเหว-ฝังดิน)
วางแผน เรื่องการเรียนรู้ ๕ ประการ (รู้หนังสือ-รู้คน-รู้โลก-รู้ร่างกายสังขาร-รู้วิญญาณ กิเลส)
วางแผน เรื่องภาระ ๕ ของชีวิต (ภาระคือพ่อแม่-ครูอาจารย์-ภาระสามีภรรยาภาระบุตรธิดา-ภาระชาติศาสนา-ภาระกิเลส-ภาระคือผู้มีพระคุณทั้งหลาย)
วางแผน ไม่ประมาทในกาลทั้ง ๓ (วัยเด็ก-วัยหนุ่มสาว-วัยแก่เฒ่าชรา-อดีตปัจจุบัน-อนาคต-มืดมามืดไป-มืดมาสว่างไป-สว่างมามืดไป-สว่างมาสว่างไป)
วางแผน เรื่องเพิ่มสาระ ๕ ให้ชีวิต (ศีลสาระ-สมาธิสาระ-ปัญญาสาระ-วิมุตติสาระ-วิมุติญาณทัศนะสาระ)
วางแผน เรื่องเรือน ๓ น้ำ ๔ โอวาท ๑๐ ของนางวิสาขา (สำหรับผู้หญิง) อ่านเพิ่มเติม

ธรรมบรรยาย วันมาฆบูชา

ธรรมบรรยาย วันมาฆบูชา
รวบรวมโดย พระราชสุทธิญาณมงคล

เป็นธรรมะที่บรรยายโดยพระเทพสิงหบุราจารย์ (หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม) ในโอกาสต่างๆ ที่ผ่านมาในอดีต

วันมาฆปุรณมีเพ็ญเดือน ๓ เป็นมงคลสมัยที่นิยมว่าตรงกับวันจาตุรงศิกสาวกสันนิบาตประชุมตั้งหลักสอนพระพุทธศาสนาและปรงพระชนมายุสังขารแห่งพระบรมศาสดา พระบูรณาจารย์ หากกำหนดไว้ดังนี้
จาตุรงศิกสาวกสันนิบาตนั้น คือประชุมสาวกสงฆ์ พร้อมด้วยองค์ ๔ ภิกษุซึ่งได้มาประชุมทั้งปวงล้วนเป็นเอหิภิกษุทั้งสิ้นนับเป็นองค์ ๑ ท่านเหล่านั้นล้วนเป็นอรหันต์ อยู่จบพรหมจรรย์ เสร็จกิจในปหานและภาวนาแล้วนับเป็นองค์ที่ ๒ ท่านเหล่านั้นได้นัดแนะเรียกร้องกัน มายังที่ประชุมโดยตนเองเป็นองค์ที่ ๓ วันประชุมนั้นเป็นดิถีเพ็ญที่ครบ ๓ เดือน แห่งเหมันต์ฤดูเป็นองค์ครบ ๔ การประชุมเช่นนี้แห่งพระพุทธเจ้าบางองค์มี ๓ วาระ บางองค์มี ๒ วาระ บางองค์มีวาระ ๑ เท่านั้น และนับภิกษุที่มาประชุมมากบ้างน้อยบ้างไม่มีนิยม แต่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเราทั้งหลาย มีสาวกสันนิบาตมหัศจรรย์เช่นนี้ วาระเดียวนิยม ภิกษุขีณาสพ มีกึ่งเป็นที่ครบ ๑๓ คือนับได้ ๑๒๕๐ นี้หมายถึงภิกษุบริวารของพระอุรุเวลกัสสป นทีกัสสป และคยากัสสป ซึ่งเรียกว่า ปุราณชฏิลมีประมาณ ๑๐๐๐ พระภิกษุบริวารของพระสาริบุตร และพระโมคคัลลานะ ซึ่งเรียกว่าปุราณปริพาชก อีก ๒๕๐ จึงรวมเป็น ๑๒๕๐ ถ้านับพระเถระผู้เป็นหัวหน้าด้วยก็เป็น ๑๒๕๕ และสันนิบาตนั้นได้มีแล้ว ณ เวรุวนาราม จังหวัดราชคฤห์ เมื่อเวลาตะวันบ่าย ดิถีเพ็ญพระจันทร์เสวยมาฆนักษัตร ในปีที่ตรัสรู้นั้นเมื่อมีสันนิบาตพร้อมด้วยองค์ ๔ เป็นอัศจรรย์เช่นนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงทรงทำวิสุทธิอุโบสถทรงแสดงขึ้นซึ่งโอวาทปาฏิโมกข์ ณ ที่ประชุมนั้น อ่านเพิ่มเติม

ธรรมบรรยาย วิถีชีวิตของคน

ธรรมบรรยาย วิถีชีวิตของคน

เป็นธรรมะที่บรรยายโดยพระเทพสิงหบุราจารย์ (หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม) ในโอกาสต่างๆ ที่ผ่านมาในอดีต

ท่านสาธุชนชายหญิงทั้งหลาย
วิถีชีวิตของคนนี้ หมายเอาหนทางดำเนินแห่งชีวิตของเราทุกคน ซึ่งมีการกระทำทางกิริยา วาจา ใจ พร้อมด้วยเจตนาเป็นสัญลักษณ์บอกให้รู้ว่า ถ้าการกระทำเป็นชั่วทุกระยะ ชีวิตก็มืดมัวทั้งมาและไป แต่หากการกระทำดีบ้างชั่วบ้างคละกันไป ชีวิตจะสว่างบ้างมืดบ้าง ตามระยะของการกระทำ และผิว่าการกระทำเป็นดีตลอดแล้ว ชีวิตก็จะสว่างทั้งมาและไป เชิญมาไปดูกันเถิด นี่วิถีชีวิตของคนเรา พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงไว้ ๔ จำพวก คือ คนมืดมาไปมืด, คนมามืดกลับไปสว่าง, คนมาสว่างกลับไปมืด, คนมาสว่างกลับไปสว่าง
คนมืดมาไปมืด ชีวิตของคนมามืดไปมืดนี้ มีมืดมัวตลอดต้นตลอดปลาย ย่อมเป็นสิ่งที่น่าสะดุ้งหวาดเสียเหลือล้น เราทุกคนไม่มีใครชอบ เพราะมันทรมานให้เราต้องเป็นทุกข์เดือดร้อน ยิ่งนัก มีลักษณะอยู่ ๓ ประการ อ่านเพิ่มเติม

ธรรมบรรยาย วันปิยมหาราช

ธรรมบรรยาย วันปิยมหาราช

เป็นธรรมะที่บรรยายโดยพระเทพสิงหบุราจารย์ (หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม) ในโอกาสต่างๆ ที่ผ่านมาในอดีต

รวมรวมโดย พระราชสุทธิญาณมงคล
ความหมาย
วันปิยมหาราช หมายถึง วันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงพัฒนาการศึกษา การทหาร การสื่อสาร การรถไฟ และทรงโปรดให้มีการเลิกทาส โดยมิได้มีการเสียเลือดเนื้อ
ความเป็นมา
เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นที่รักใคร่อย่างล้นเหลือของพสกนิกรทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ ตลอดทั่วขอบขัณฑสีมาปวงประชาราษฎร์ถือว่าพระองค์คือพระราชบิดาแห่งตนและประเทศชาติ รัฐบาลจึงประกาศให้วันที่ ๒๓ ตุลาคม เป็นวัน “ปิยมหาราช”
พระราชประวัติ
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ และสมเด็จพระเทพศิริน-ทราบรมราชินี ประสูติเมื่อวันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๓๙๖ พระนามเดิมว่า “สมเด็จเจ้าฟ้าชายจุฬาลงกรณ์” เมื่อพระชนม์ ๙ พรรษาได้รับสถาปนาเป็นกรมหมื่นพิฆเนศวรสุรสังกาศ ต่อมาอีก ๔ ปี ได้เลื่อนเป็น “กรมขุนพินิตประชานาถ” อ่านเพิ่มเติม

ธรรมบรรยาย วัดในพระพุทธศาสนา ในประเทศไทย

ธรรมบรรยาย วัดในพระพุทธศาสนา ในประเทศไทย
รวบรวมโดย พระราชสุทธิญาณมงคล วัดอัมพวัน จังหวัดสิงห์บุรี

เป็นธรรมะที่บรรยายโดยพระเทพสิงหบุราจารย์ (หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม) ในโอกาสต่างๆ ที่ผ่านมาในอดีต

(๑) ประเทศไทยเป็นประเทศที่ประชาชนส่วนใหญ่นับถือพระพุทธศาสนา มาตั้งแต่อดีตอันไกล พระมหากษัตริย์ไทยผู้ทรงเป็นประมุขของประเทศชาติไทย และรัฐบาลไทย ผู้ปกครองประเทศชาติไทย ก็นับถือพระพุทธศาสนา งานพระพุทธศาสนา ก็เป็นงานพระราชภาระ และเป็นรัฐกิจที่สำคัญควบคู่กันกับการนับถือพระพุทธศาสนาของประชาชนมาตั้งแต่ต้น
เพราะฉะนั้น วัดในพระพุทธศาสนา อันเป็นที่ทำงานพระพุทธศาสนา โดยพระภิกษุสงฆ์เป็นผู้ดำเนินการ พระมหากษัตริย์ รัฐบาล และประชาชน เป็นผู้อุปถัมภ์ จึงมีอยู่ทั่วประเทศไทยในทุกจังหวัด และแทบจะทุกอำเภอ แม้ในภาคใต้ ขณะนี้วัดในประเทศไทย มีมากกว่า ๓๐,๐๐๐ วัด อ่านเพิ่มเติม

ธรรมบรรยาย เรื่องหน้าที่พุทธศาสนิกชน

ธรรมบรรยาย เรื่องหน้าที่พุทธศาสนิกชน
รวบรวมโดย พระราชสุทธิญาณมงคล วัดอัมพวัน จังหวัดสิงห์บุรี

เป็นธรรมะที่บรรยายโดยพระเทพสิงหบุราจารย์ (หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม) ในโอกาสต่างๆ ที่ผ่านมาในอดีต

1. กรรมศรัทธา เชื่อกรรม คือ เชื่อการกระทำเท่านั้น เป็นเหตุให้รวย หรือจน เท่านั้น ให้ดีหรือชั่ว ไม่ใช่เพราะโชคหรือเคราะห์ หรือผีสางเทวดาอะไรอำนวยให้
2. วิปากศรัทธา เชื่อผลของกรรม คือ เชื่อว่าผลของกรรรมนั้นต้องมีแน่นอน และให้ผลตรงตามกรรมที่ทำไว้จนได้ เว้นแต่จะช้าหรือเร็วเท่านั้น ไม่มีใครจะบิดเบือน หรือ ห้ามผลของกรรมที่กระทำมาแล้วไม่ให้บังเกิดผลได้
3. กัมมัสสกตาศรัทธา เชื่อว่าสัตว์มีกรรมเป็นของตนเอง ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว ไม่มีใครจะทำให้คนดีหรือคนชั่วได้ ตนเองก็ไม่สามารถจะทำให้ใครดีหรือชั่วได้ ความดีและความชั่วเป็นของจำเพาะตัวเท่านั้น
4. ตถาคตโพธิศรัทธา คือ เชื่อว่าพระพุทธเจ้าตรัสรู้ด้วยพระปัญญาของพระองค์เอง ไม่มีผู้ใดสั่งสอน และสิ่งที่พระองค์ตรัสรู้นั้นเป็นของจริง อย่างประเสริฐยิ่ง จะหาสิ่งใดจริงหรือประเสริฐเสมอ มิได้ อ่านเพิ่มเติม

ธรรมบรรยาย เรื่องหนอ

ธรรมบรรยาย เรื่องหนอ

เป็นธรรมะที่บรรยายโดยพระเทพสิงหบุราจารย์ (หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม) ในโอกาสต่างๆ ที่ผ่านมาในอดีต

คำว่า หนอ นี้ พุทธบริษัทผู้ที่ไม่ได้ศึกษาเล่าเรียนบาลีมา ย่อมจะต้องมีความข้องใจสงสัยไปตามวิจิกิจฉาเจตสิกของตนต่างๆ นานา บางท่านก็อาจจะคิดไปต่างๆ ในทางเป็นบุญเป็นกุศล บางท่านก็อาจจะคิดไปในทางไม่ดีไม่งาม เป็นบาปเป็นอกุศล บางท่านก็อาจจะวางตนเป็นกลางเฉยๆ คือฟังหูไว้หู ฝ่ายท่านที่เป็นมหาเปรียญได้ผ่านการเรียนบาลีไวยากรณ์แปลธรรมบท แปลมงคลทีปนี เป็นต้น มาดีแล้ว ก็คงจะเข้าใจดีอยู่แล้ว ข้าพเจ้าได้ถูกถามเรื่องหนอนี้มามากต่อมากแล้ว บางท่านก็ตั้งใจให้ข้าพเจ้าเป็น อาจารย์หนอ หรือ หลวงพ่อหนอ ก็มีบางท่านก็เอาไปล้อเลียนกันเล่นเป็นของสนุกไปได้ บางท่านก็อยากมาทดลองดู บางท่านก็ว่าปู่ย่าตายายของตนไม่เคยได้รู้ได้เห็น และบางท่านก็เกลียดหนอเสียจริงๆ ก็มี อ่านเพิ่มเติม

ธรรมบรรยาย เรื่องความสุข – ที่ควรใฝ่หา – เพื่อพัฒนาคุณภาพ

ธรรมบรรยาย เรื่องความสุข – ที่ควรใฝ่หา – เพื่อพัฒนาคุณภาพ
โดย พระราชสุทธิญาณมงคล วัดอัมพวัน อ.พรหมบุรี จ.สิงห์บุรี

เป็นธรรมะที่บรรยายโดยพระเทพสิงหบุราจารย์ (หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม) ในโอกาสต่างๆ ที่ผ่านมาในอดีต

งานสำคัญ – เพื่อชีวิตของทุกคน ๆ อย่างหนึ่ง ซึ่งทำด้วยตัวเองชั่วชีวิต เพราะเป็นงานกำหนดชาตาชีวิต ก็คือ งานพัฒนาตัวเอง
งานพัฒนาตัวเอง ได้แก่
1. การสร้างสรรค์สิ่งที่ตัวจำเป็นต้องมี หรือสิ่งที่ตัวควรจะมี แต่ยังไม่มี ให้มีขึ้น
2. การปรับปรุงสิ่งที่ตัวมีอยู่แล้วทั้งโดยการกระทำ ทั้งโดยธรรมชาติ แต่ไม่เหมาะสม ด้วยสภาพปัจจุบัน ให้มีความเหมาะสม
3. การแก้ไขสิ่งที่ตัวทำผิดพลาด ไม่ถูกต้อง ให้มีความถูกต้องตามสภาพที่พึงประสงค์
งานพัฒนาตัวเอง เป็นสิ่งที่ทุกคน ต้องทำด้วยตัวเอง เพราะไม่มีใครสามารถจะทำให้ใครได้ เหมือนการรับประทานอาหาร คนที่ต้องการอาหาร ต้องรับประทานด้วยตนเอง ไม่มีทางที่จะให้ใครรับประทานแทนได้ การรับการรักษาพยาบาล เมื่อเวลาป่วยไข้ คนป่วยต้องรับเอง คนป่วยต้องรับประทานยาเอง ต้องรับการฉีดยาเอง แม้มีความจำเป็นจะต้องผ่าตัด ก็ต้องรับการผ่าตัดเอง จะลำบากจะเจ็บปวดประการใด ก็จำต้องทนรับ จะให้ใครรับแทนไม่ได้ เพราะตนป่วย คนอื่นไม่ได้ป่วยด้วย อ่านเพิ่มเติม

ธรรมบรรยาย เราทนไม่ได้เพราะใจขาดธรรมะ

ธรรมบรรยาย เราทนไม่ได้เพราะใจขาดธรรมะ

เป็นธรรมะที่บรรยายโดยพระเทพสิงหบุราจารย์ (หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม) ในโอกาสต่างๆ ที่ผ่านมาในอดีต

เมื่อเข้าไปบรรยายธรรมในเรือนจำ คดีส่วนมาก ที่ผู้ต้องหากระทำผิด คือ :-
ฉุดคร่าอนาจาร
ลักขโมยฉกชิงวิ่งราว
ยักยอกทรัพย์ของทางราชการ
ทำร้ายร่างกาย ฆ่าฟัน
เสพและติดยาเสพติด
ขายยาเสพติด
หลอกลวงหญิงไปขาย
ขับรถประมาทเกิดอุบัติเหตุ
รับจ้างทำแท้ง
เป็นมือปืนรับจ้าง
นักกีฬาขายชาติ
คนทำลายป่าไม้
เจ้าหน้าที่รัฐรับสินบน
ภริยาสามีนอกใจและทะเลาะกัน
นักเรียนชิงสุกก่อนห่าม
วัยรุ่นมั่วสุมแหล่งเริงรมย์
ชาวบ้านถูกจับเพราะเล่นการพนัน
——————————

ขอบคุณข้อมูล : http://palipage.com/watam/piyapan4/K00066.htm

ธรรมบรรยาย เมื่อสูงอายุ – เมื่อสูงวัย

ธรรมบรรยาย เมื่อสูงอายุ – เมื่อสูงวัย

เป็นธรรมะที่บรรยายโดยพระเทพสิงหบุราจารย์ (หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม) ในโอกาสต่างๆ ที่ผ่านมาในอดีต

เมื่อความชรา คือ ธรรมชาติของมนุษย์ซึ่งเป็นสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่ง เป็นขบวนการซึ่งมีความต่อเนื่องมาตั้งแต่วัยหนุ่มสาว เมื่อใดก็ตามที่มนุษย์มีอายุยืนยาวขึ้นนั้น หมายความว่ามนุษย์ผู้นั้นต้องเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาตินั้นหลีกเลี่ยงไม่ได้
ความเปลี่ยนแปลงที่พบได้ในวัยชรานั้น พบได้หลายด้านอาทิ เช่น
๑. การเปลี่ยนแปลงทางสุขภาพอนามัย
ด้วยอวัยวะที่เสื่อมสลายประสิทธิภาพการทำงานย่อมลดลง ผู้สูงอายุจึงอาจมีโรคต่าง ๆ ได้ง่ายกว่าคนทั่วไป โรคเหล่านี้ล้วนมีสาเหตุมาจากความเสื่อมเสียเป็นส่วนใหญ่ ทั้งป้องกันได้และป้องกันไม่ได้ เช่น โรคสมองเสื่อม ข้อเสื่อม ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ เบาหวาน มะเร็ง แม้ไม่เป็นโรคประสิทธิภาพในการด้านอื่น ๆ อาจลดลง เช่น ขี้หลงขี้ลืม คิดช้า ความต้านทานโรคลดลง การย่อยอาหารลดลง ทำให้เกิดอาการท้องอืดท้องเฟ้อ อ่านเพิ่มเติม

ธรรมบรรยาย มรรครวมตัว

ธรรมบรรยาย มรรครวมตัว

เป็นธรรมะที่บรรยายโดยพระเทพสิงหบุราจารย์ (หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม) ในโอกาสต่างๆ ที่ผ่านมาในอดีต

ไตรสิกขาเป็นเหตุ วิมุตติเป็นผล
(จะเข้าถึงวิมุตติต้องปฏิบัติให้บริบูรณ์ ในศีล สมาธิ ปัญญา)
อริยมรรคมีองค์ ๘ ตัวปฏิบัติวิปัสสนาอยู่ที่สติปัฏฐาน ๔
(คือ กาย เวทนา จิต ธรรม)
ปฏิบัติ เพื่อละอภิชฌา และโทมนัส (ซึ่งมีอัตตาเป็นเหตุ)
เมื่อมรรครวมตัว จะรู้จักกำหนดทุกอย่างรอบตัวเรา เป็นธรรมะทั้งหมด
เมื่อมรรครวมตัว จะรู้จักกำหนดทุกอย่างรอบตัวเรา เป็นทุกข์ทั้งหมด
เมื่อมรรครวมตัว จะรู้จักกำหนดทุกอย่างรอบตัวเรา เป็นอนิจจังทั้งหมด
เมื่อมรรครวมตัว จะรู้จักกำหนดทุกอย่างรอบตัวเรา เป็นอนัตตาทั้งหมด
ในอริยมรรคมีองค์ ๘ บทใดที่ท่านให้เราละ เราละเว้นแล้วหรือยัง?
ในอริยมรรคมีองค์ ๘ บทใดที่ท่านให้เราเจริญ เราเจริญแล้วหรือยัง?
คำว่า รูป – นาม คำว่า มรรค – ผล คำว่า นิพพาน อ่านเพิ่มเติม

. . . . . . .