พุทโธ คือ หัวใจ ประสบการณ์โลกทิพย์ในการออกธุดงค์ของพระอาจารย์มั่นภูริทัตโต ?(ตอนที่ ๓๕)

พุทโธ คือ หัวใจ

ประสบการณ์โลกทิพย์ในการออกธุดงค์ของพระอาจารย์มั่นภูริทัตโต ?(ตอนที่ ๓๕)

พุทโธ เป็นเพียงบาทฐานยานพาหนะของจิต คือทำให้จิตเกิดพลังงานตามหลักกรรมฐาน เพื่อที่จะก้าวไปสู่วิปัสสนา

คือการจัดระบบจิตให้บริสุทธิ์โดยถาวร เพื่อแยกความสัมพันธ์ระหว่างจิตกับกิเลศให้ขาดจากกันเพื่อทำให้เกิดการสุดสิ้น การเกิด

การดับ การสืบต่อ นั่นคือ มรรคผล นิพพาน

สมถะกับวิปัสสนาต่างกันที่ตัวหนังสืออย่างหนึ่ง ต่างกันที่อารมณ์อย่างหนึ่ง

** สมถะเขียนอย่างหนึ่งและมีอารมณ์ 40 อย่าง

** ส่วนวิปัสสนาเขียนอีกอย่างหนึ่งและมีปรมัตถ์คือรูปนามเป็นอารมณ์

ท่านที่เข้าใจไปว่า พระอาจารย์มั่นบริกรรมแต่พุทโธตามแนวสมถกรรมฐาน หาใช่เป็นพระวิปัสสนากรรมฐานแต่อย่างใด อ่านเพิ่มเติม

ทุกขสัจจะ ประสบการณ์โลกทิพย์ในการออกธุดงค์ของพระอาจารย์มั่นภูริทัตโต (ตอนที่ ๓๔)

ทุกขสัจจะ
ประสบการณ์โลกทิพย์ในการออกธุดงค์ของพระอาจารย์มั่นภูริทัตโต

(ตอนที่ ๓๔)

สุขภาพของพระอาจารย์มั่น นับวันยิ่งทรุดโทรมลง ถิ่นที่ท่านจำพรรษาอยู่ที่ชุกชุมไปด้วยไข้ป่ามาลาเรีย พระเณรและ
ประชาชนที่หลั่งไหลไปกราบเยี่ยม ?ท่านตั้งสั่งให้รีบกลับถ้าจวนเข้าหน้าฝน แต่ถ้าเป็นหน้าแล้งก็อยู่ได้นานหน่อย
พระเณรเป็นไข้ป่ากันมาก ใครเป็นเข้าแล้วก็ลำบากต้องใช้ความอดทนต่อสู้กับโรค เพราะยาแก้ไขไม่มีใช้กันเลยใน
วัดเนื่องจากยาหายาก ไม่เหมือนสมัยทุกวันนี้ ถ้าใครเป็นไข้ป่าเข้า พระอารย์มั่นจะสั่งให้ใช้ธรรมโอสถรักษาแทนยา
คือ ให้พิจารณาทุกขเวทนาที่เกิดขึ้นในขณะนั้นด้วยสติปัญญาตามแนววิปัสสนาอย่างเข้มแข็งและแหลมคม
ไม่เช่นนั้นก็แก้ทุกขเวทนาไม่ได้ ไข้ไม่สร่างไม่หายได้
ก็ปรากฏว่าด้วยวิธีนี้พระเณรลูกศิษย์ของท่านที่ป่วยไข้ก็มักจะหายไข้ในเวลารวดเร็วแทบทุกรูป
อ่านเพิ่มเติม

วัดป่าสาลวัน ประสบการณ์โลกทิพย์ในการออกธุดงค์ของพระอาจารย์มั่นภูริทัตโต (ตอนที่ ๓๓)

วัดป่าสาลวัน

ประสบการณ์โลกทิพย์ในการออกธุดงค์ของพระอาจารย์มั่นภูริทัตโต

(ตอนที่ ๓๓)

พระอาจารย์มั่นได้เดินทางออกจากกรุงเทพฯ ขณะที่พักอยู่วัดป่าสาลวัน นครราชสีมา มีคณะศรัทธายาติโยมเป็นจำนวน

มากมาถามปัญหาธรรมพระอาจารย์มั่นได้ตอบไปเป็นที่ทราบซึ้งถึงใจทุกรายมีคำตอบอยู่ข้อหนึ่งที่น่าสนใจใคร่นำ

มาลงไว้ ณ ที่นี้?

ท่านตอบว่า”อาตมาบำเพ็ญเพียรอยู่ในป่าในเขาคนเดียวแทบตาย สลบไปสามหนและรอดตายมาได้ ไม่เห็นมีใครเอา

มาร่ำลือเลย ครั้นพออาตมาลืมหูลืมตาธรรมะมาบ้างจึงมีคนหลั่งไหลไปหา ร่ำลือกันว่าอาตมาเป็นผู้วิเศษอย่างนั้นอย่าง

นี้ อาตมาไม่ใช่ผู้วิเศษอะไร ใครอยากได้ของดีอาตมาจะบอกให้เอาบุญ ของดีมีอยู่กับตัวเราทุกคนจงพากันปฏิบัติเอา
อ่านเพิ่มเติม

ที่พึ่งแห่งตน ประสบการณ์โลกทิพย์ในการออกธุดงค์ของพระอาจารย์มั่นภูริทัตโต (ตอนที่ ๓๒)

ที่พึ่งแห่งตน

ประสบการณ์โลกทิพย์ในการออกธุดงค์ของพระอาจารย์มั่นภูริทัตโต

(ตอนที่ ๓๒)

วันหนึ่ง พระมหาเถระผู้ใหญ่ชั้นสมเด็จได้สั่งพระให้มาอาราธนานิมนต์พระอาจารย์มั่นให้ไปเฝ้าเพื่อที่จะสัมโมทนียกถา

โดยเฉพาะ โดยปราศจากพระเณรเข้าไปเกี่ยวข้อง

พระมหาเถระผู้ปราชญ์เปรื่องถามพระอาจารย์มั่นเป็นประโยคแรกว่า

“ท่านอาจารย์มั่นชอบอยู่แต่ผู้เดียวในป่าในเขาไม่ชอบเกี่ยวข้องกังวลกับพระเณรตลอดจนฆราวาส เมื่อเกิดปัญหาขึ้นมา

ท่านไปศึกษากับใครจึงจะผ่านปัญหานั้น ๆ ไปได้ แม้ผมเองอยู่ในกรุงเทพฯ ที่เต็มไปด้วยนักปราชญ์เจ้าตำรับตำราพอ

ช่วยปัดเป่าข้อข้องใจได้ แต่ในบางครั้งบางคราวยังเกิดความงงงันอั้นตู้ไปได้ ไม่มีใครสามารถช่วยแก้ให้ตกไปได้เลย

ยิ่งท่านอาจารย์มั่นอยู่เฉพาะองค์เดียวในป่าในเขาเป็นส่วนมากตามที่ผมได้ทราบมา เวลาเกิดปัญหาทางธรรมะขึ้นมา

ท่านไปปรึกษาปรารถกับใคร หรือท่านจัดการกับปัญหานั้น ๆ ด้วยวิธีใด นิมนต์อธิบายให้ผมฟังด้วย”
อ่านเพิ่มเติม

ประสบการณ์โลกทิพย์ในการออกธุดงค์ของพระอาจารย์มั่นภูริทัตโต (ตอนที่ ๓๑)

ประสบการณ์โลกทิพย์ในการออกธุดงค์ของพระอาจารย์มั่นภูริทัตโต

(ตอนที่ ๓๑)

อย่าแยกศีล

“ศีลมีสภาพเช่นไร พระคุณเจ้า” เขาถามอีก “…..อะไรเป็นศีลอย่างแท้จริง”

“ความคิดในแง่ต่าง ๆ อันเป็นไปด้วยความมีสติ รู้สิ่งที่ควรคิดหรือไม่ควร ระวังการระบายออกทางทวารทั้งสาม

คอยบังคับ กาย วาจา ใจ ให้เป็นไปในขอบเขตของศีลที่เป็นสภาพปกติ ศีลที่เกิดจากการรักษาในลักษณะดังกล่าวมา

ชื่อว่ามีสภาพปกติ ไม่คะนองทางกาย วาจา ใจ ให้เป็นกิริยาน่าเกลียด

นอกจากความปกติดีงามทางกาย วาจา ใจ ของผู้มีศีลถือว่าเป็นศีลเป็นธรรมแล้ว ก็อยากจะเรียกให้ถูกว่า

อะไรเป็นศีลเป็นธรรมที่แท้จริง เพราะศีลกับผู้รักษาศีลแยกกันได้ยาก

ไม่เหมือนตัวบ้านเรือนกับเจ้าของบ้านเรือนซึ่งเป็นคนละอย่างที่พอจะแยกกันออกได้ไม่ยากนักว่า นั่นคือตัวบ้านเรือน
อ่านเพิ่มเติม

ประสบการณ์โลกทิพย์ในการออกธุดงค์ของพระอาจารย์มั่นภูริทัตโต (ตอนที่ ๓๐)

ประสบการณ์โลกทิพย์ในการออกธุดงค์ของพระอาจารย์มั่นภูริทัตโต

(ตอนที่ ๓๐)

ปัญหานานา

ปัญหาที่คนนำมาถามนั้นมีแปลก ๆ และพิสดาร บางคนคุยว่า เคยถามปัญหาธรรมเอาจนพระมหาเถระเปรียญ 9 หงาย

หลังจนมุมมาแล้ว พระอาจารย์มั่นได้ตอบปัญหาธรรมเป็นที่น่าอัศจรรย์สร้างความพออกพอใจให้ทุกคนโดยทั่วหน้ากัน

บางคนแก่เปรียญเป็นจอมปราชญ์เจ้าตำราถือทิฏฐิมานะหวังจะตั้งปัญหาให้พระอาจารย์มั่นจนมุม ด้วยเห็นว่า

พระอาจารย์มั่นเป็นพระป่าพระบ้านนอกไม่รู้ภูมิรู้เหมือนตน

แต่ก็ถูกพระอาจารย์มั่นตอกเอาจนหน้าม้านไปเหงื่อไหลซิก ๆ เพราะนอกจากจะสามารถโต้ตอบปัญญาธรรม

ได้อย่างรวดเร็ว คล่องแคล่ว อาจหาญ ในธรรมจนแทบฟังไม่ทันแล้ว ท่านยังใช้เจโตปริยญาณพูดดักใจ

สามารถล่วงรู้ได้หมดว่าผู้ถามปัญหากำลังคิดอะไรอยู่และในอดีตเคยคิดอะไรบ้าง เคยทำอะไรมาบ้างในด้าน

ปฏิบัติธรรม?พอเจอคนจริงเข้าแบบนี้ คนถามปัญหาก็หมดสิ้นทิฏฐิมานะนั่งตัวสั่นขอขมาโทษท่านด้วยความ

ละอาย และเกรงกลัวบารมีธรรมของท่านแทบว่าจะเป็นลมสลบไปต่อหน้าท่านเสียให้ได้

? อ่านเพิ่มเติม

ประสบการณ์โลกทิพย์ในการออกธุดงค์ของพระอาจารย์มั่นภูริทัตโต (ตอนที่ ๒๙)

ประสบการณ์โลกทิพย์ในการออกธุดงค์ของพระอาจารย์มั่นภูริทัตโต

(ตอนที่ ๒๙)

?ออกจากป่า

ประมาณเดือนพฤษภาคม 2482 ท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ วัดโพธิสมภรณ์ อุดรธานี ซึ่งเป็นลูกศิษย์มาตั้งแต่เล็ก

ได้เดินทางไปเชียงใหม่ เข้าพักอยู่ที่วัดเจดีย์หลวง เพื่อรอพบพระอาจารย์มั่นที่จะออกมาจากบำเพ็ญธุดงควัตรในป่าตาม

ที่ได้นัดหมายไว้ล่วงหน้าทางจดหมายหลายฉบับแล้ว

เพื่ออาราธนาพระอาจารย์มั่นกลับคืนสู่แดนอีสานบ้านเกิดเมืองนอนเสียที เพราะพระอาจารย์มั่นจากมา

หลายปีเต็มที ทำให้พระเณรและญาติโยมพุทธบริษัทคณะศรัทธาลูกศิษย์ลูกหาทั้งหลายคิดถึงขาดที่พึ่งทางใจ

เมื่อพระอาจารย์มั่นออกจากป่ามาถึงวัดเดีย์หลวงแล้วก็พักอยู่ 6 – 7 คืน

?วัดเจดีย์หลวง

ขณะที่พระอาจารย์มั่นพักอยู่ที่วัดเจดีย์หลวงเตรียมจะเดินทางกลับอีสานนี้ คณะศรัทธาชาวเชียงใหม่ที่มีความเลื่อมใสใน

ท่าน ได้พร้อมกันอาราธนานิมนต์ให้ท่านพักจำพรรษาอยู่นาน ๆ เพื่อโปรดชาวเชียงใหม่ แต่ท่านรับนิมนต์ไม่ได้ เพราะ

ได้รับนิมนต์ท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ไว้เรียบร้อยแล้วที่จะกลับคืนสู่อีสาน
อ่านเพิ่มเติม

พบพุทโธวิเศษ ประสบการณ์โลกทิพย์ในการออกธุดงค์ของพระอาจารย์มั่นภูริทัตโต (ตอนที่ ๒๘)

พบพุทโธวิเศษ

ประสบการณ์โลกทิพย์ในการออกธุดงค์ของพระอาจารย์มั่นภูริทัตโต

(ตอนที่ ๒๘)

ทีนี้นับตั้งแต่ชาวป่าคนนั้นได้เห็นพุทโธหรือธรรมกายในใจตนเองแล้ว เรื่องก็กระจายไปทั่วหมู่บ้านในไม่ช้า ทำให้ชาวบ้าน

ต่างก็พากันเร่งภาวนาพุทโธไปตาม ๆ กันเพราะอยากจะได้ดวงแก้วพุทโธบ้าง เพราะเกิดความเชื่อถือเลื่อมใส?

พระอาจารย์มั่นมาก เรื่องที่สงสัยว่าท่านจะเป็นเสือเย็นหรือเสือสมิงก็หายไป ไม่มีใครกล้ากล่าวถึงอีกเลย

นับแต่นั้นมา เวลาท่านออกบิณฑบาตพวกชาวบ้านต่างก็พากันใส่บาตรเป็นแถวและติดตามส่งบาตรรพากันขอศึกษาธรรม

เพิ่มเติมกับท่านทุกวัน อาหารการขบฉันที่เคยขาดแคลนก็กลายเป็นความสมบูรณ์ขึ้น ชาวป่ายังช่วยกันสร้างกระท่อม

มุงหลังคาใบไม้ให้เป็นกุฏิที่พักถากถางป่ารกรุงรังให้เป็นที่เดินจงกรม
อ่านเพิ่มเติม

พุทโธหาย ประสบการณ์โลกทิพย์ในการออกธุดงค์ของพระอาจารย์มั่นภูริทัตโต (ตอนที่ ๒๗)

พุทโธหาย

ประสบการณ์โลกทิพย์ในการออกธุดงค์ของพระอาจารย์มั่นภูริทัตโต

(ตอนที่ ๒๗)

พอได้เวลาบ่ายวันนั้น ชาวบ้านก็พากันมาจริง ๆ พวกเขาถามว่า ตุ๊เจ้านั่งหลับตานิ่ง ๆ และเดินกลับไปกลับมาทั้งกลางวัน

กลางคืนมาเป็นเวลาหลายวันแล้ว ตุ๊เจ้านั่งและเดินหาอะไร พระอาจารย์มั่นตอบว่า

“พุทโธหาย เรานั่งและเดินหาพุทโธ”

“พุทโธ เป็นตัวยังไง รูปร่างสูงต่ำดำขาวยังไงจะให้ชาวบ้านช่วยหาให้ได้ไหม” หัวหน้าหมู่บ้านถามด้วยความสงสัย

พระอาจารย์มั่นตอบว่า “ พุทโธ ที่ว่านี้ เป็น ดวงแก้วอันวิเศษ สุดประเสริฐ ใครได้ไว้แล้วจะโชคดี ถ้าพวกสูจะช่วยเราหาให้

พบก็ยิ่งดีใหญ่ จะได้เห็นพุทโธเร็ว ๆ”

“พุทโธ ของตุ๊เจ้าหายมานานแล้วหรือ” ผู้เฒ่าอาวุโสของหมู่บ้านถามบ้าง
อ่านเพิ่มเติม

กลายเป็นเสือเย็น ประสบการณ์โลกทิพย์ในการออกธุดงค์ของพระอาจารย์มั่นภูริทัตโต (ตอนที่ ๒๖)

กลายเป็นเสือเย็น

ประสบการณ์โลกทิพย์ในการออกธุดงค์ของพระอาจารย์มั่นภูริทัตโต

(ตอนที่ ๒๖)

ครั้งหนึ่ง พระอาจารย์มั่นกับพระลูกศิษย์หนึ่ง ได้เดินธุดงค์ข้ามเขาหลายลูก และไปพักอยู่ชายเขาแห่งหนึ่งอยู่ห่างจากหมู่บ้านชาวเขา

ราวสองกิโลเมตร โดยพักอยู่ใต้ร่มไม้ เวลาฝนตกลงมาก็เปียกโชกแต่ก็ทนเอาไม่เดือนร้อนไม่สนใจเพราะทนได้

ตอนเช้าพากันเข้าไปบิณฑบาตในหมู่บ้านชาวเขา พวกชาวเขาเห็นท่านเข้าไปบิณฑบาตก็ถามว่า ตุ๊เจ้ามาธุระอะไร? ท่านบอกว่ามา

บิณฑบาต เขาถามว่า มาบิณฑบาตคืออย่างไร? พวกเขาไม่เขาใจ เขาเคยรู้จักพระเหมือนกัน แต่ไม่รู้จักขนบธรรมเนียมของพระ ท่าน

บอกว่าบิณฑบาตก็คือพระมาขอแบ่งข้าวจากชาวบ้านไปกิน เขาถามว่าจะเอาข้าวสารหรือข้าวสุก? ท่านตอบว่าข้าวสุก

เขาก็บอกกันต่อ ๆ ไปให้เอาข้าวสุกมาใส่บาตรท่าน เมื่อได้ข้าวแล้วท่านก็พาพระลูกศิษย์กลับมายังร่มไม้ที่พัก และฉันข้าวเปล่า ๆ อยู่
อ่านเพิ่มเติม

จิตอิทธิฤทธิ์ ประสบการณ์โลกทิพย์ในการออกธุดงค์ของพระอาจารย์มั่นภูริทัตโต (ตอนที่ ๒๕)

จิตอิทธิฤทธิ์

ประสบการณ์โลกทิพย์ในการออกธุดงค์ของพระอาจารย์มั่นภูริทัตโต

(ตอนที่ ๒๕)

พระอาจารย์มั่นมีนิสัยจิตผาดโผดมาตั้งแต่ดั้งเดิม นับตั้งแต่เริ่มออกปฏิบัติกรรมฐานใหม่ ๆ แล้ว จิตผาดโผนของท่านที่ว่านี้คือ เป็นจิต

อยากรู้อยากเห็นช่างคิดช่างค้นคว้า มีความอาจหาญยอมตายถึงไหนถึงกัน ขอให้ได้แสวงหาเพื่อที่จะรู้ สิ่งที่อยากรู้ให้รู้แจ้งเห็นจริง

จนถึงที่สุด จิตผาดโผนอยากรู้อยากเห็นของท่านเป็นนิสัยนี้เอง ทำให้ท่านเป็นพระอริยเจ้าฝ่าย “เจโตวิมุติ” มีฤทธิ์มาก

ทรงอภิญญา 6 คือ สำเร็จอรหันต์โดยการปฏิบัติทางสมถะกรรมฐานจนได้ “ฌาน”

แล้วใช้อำนาจฌานสมาบัติเป็นบาทฐานปฏิบัติวิปัสสนาจนบรรลุอรหันต์ผล

พระอรหันต์ฝ่ายเจโตวิมุตินี้มีฤทธิ์มากกว่าพระอรหันต์ฝ่าย “ปัญญาวิมุติ” ที่หลุดพ้นโลกบรรลุธรรมด้วยดวงปัญญาล้วน ๆ
อ่านเพิ่มเติม

พระอรหันต์ ประสบการณ์โลกทิพย์ในการออกธุดงค์ของพระอาจารย์มั่นภูริทัตโต (ตอนที่ ๒๔)

พระอรหันต์

ประสบการณ์โลกทิพย์ในการออกธุดงค์ของพระอาจารย์มั่นภูริทัตโต

(ตอนที่ ๒๔)

ครั้นแล้ววันคืนอันสำคัญก็มาถึง ในคืนวันหนึ่งดึกสงัด พระอาจารย์มั่นนั่งสมาธิภาวนาอยู่ชายภูเขาที่มีหินพลาญกว้างขวางเตียนโล่ง

อากาศหลอดโปร่งเยือกเย็นสบาย มีต้นไม้ใหญ่ร่มครื้มตั้งอยู่โดดเดี่ยวต่างกลดกันน้ำค้างและฝน

พระอาจารย์มั่นนั่งสมาธิอยู่ ณ ที่นี้มาตั้งแต่ตอนเย็นแล้ว จิตของท่านสัมผัสรับรู้อยู่กับปัจจยาการคืออวิชชาปัจจยาสังขารา

เป็นต้นเพียงอย่างเดียว ทั้งในเวลาเดินจงกรมตอนหัวค่ำทั้งเวลานั่งเข้าที่ภาวนา ท่านสนใจพิจารณาในจุดนั้น โดยมิได้สนใจกับ

หมวดธรรมอื่นใด ตั้งหน้าพิจารณาอวิชชาอย่างเดียวแต่แรกเริ่มนั่งสมาธิภาวนา โดยอนุโลมปฏิโลมกลับไปกลับมาอยู่ภายในอันเป็น

ที่รวมแห่งภพชาติ กิเลสตัณหา มีอวิชชาเป็นตัวการ

เริ่มแต่สองทุ่มที่ออกจากทางจงกรมแล้วเป็นต้นไป ตอนนี้ท่านว่าเป็นตอนสำคัญมาก ในการรบของท่านระหว่างมหาสติมหา
อ่านเพิ่มเติม

สัญญาพาหลง ประสบการณ์โลกทิพย์ในการออกธุดงค์ของพระอาจารย์มั่นภูริทัตโต (ตอนที่ ๒๓)

สัญญาพาหลง

ประสบการณ์โลกทิพย์ในการออกธุดงค์ของพระอาจารย์มั่นภูริทัตโต

(ตอนที่ ๒๓)

ความเห็นด้วยสัญญาพาให้ผู้เห็นมีอารมณ์มาก มักเสกสรรค์ตัวว่า มีความรู้มากทั้งที่กำลังหลงมาก จึงมีทิฏฐิมานะมากไม่ยอมลงใครง่าย

ๆ เราพอทราบได้เวลาสนทนาธรรมกันในวงนักศึกษา ที่ต่างรู้ด้วยความจดจำจากตำราด้วยกัน สภาธรรมมักจะกลายเป็นสภามวยฝึปาก

ทุ่มเถียงกันหน้าดำหน้าแดงกันอยู่เสมอ โดยไม่จำกัดชาติชั้นวรรณะและเพศวัยเลย เพราะความสำคัญตนพาให้เป็นไป

ปัญญา พาเห็น

ส่วนความเห็นด้วยปัญญาเป็นความเห็นซึ่งพร้อมที่จะถอดถอนความสำคัญมั่นหมายต่าง ๆ อันเป็นตัวกิเลสทิฏฐิมานะน้อยใหญ่ออกไป
อ่านเพิ่มเติม

ธรรมสุดยอด ประสบการณ์โลกทิพย์ในการออกธุดงค์ของพระอาจารย์มั่นภูริทัตโต (ตอนที่ ๒๒)

ธรรมสุดยอด

ประสบการณ์โลกทิพย์ในการออกธุดงค์ของพระอาจารย์มั่นภูริทัตโต

(ตอนที่ ๒๒)

ดังนั้น เมื่อมีโอกาสได้ไปธุดงค์ยังป่าเขาลำเนาไพรถิ่นเชียงใหม่ พระอาจารย์มั่นจึงได้เร่งความเพียรอย่างเต็มเม็ดเต็ม

หน่วย และก็ได้อย่างใจหมายทุกระยะ ภูมิประเทศและบรรยากาศอันน่าทัศนาเย็นกายเย็นใจก็อำนวย พื้นเพของจิตท่าน

ที่เป็นมาตั้งเดิมก็อยู่ในขั้นเตรียมพร้อม สุขภาพร่างกาย 38 พรรษาก็สมบูรณ์ ควรแก่ความเพียรทุกอิริยาบท

สามารถต้านทานกับดินฟ้าอากาศทั้งหน้าแล้ง หน้าฝนและหน้าหนาวของเมืองเหนือได้อย่างทรหด

ความหวังในธรรมขั้นสุดยอดอรหัตตผล ถ้าเป็นตะวันก็กำลังทอแสงอยู่แล้วทุกขณะจิตว่า แดนพ้นทุกข์กับท่านคงเจอ
อ่านเพิ่มเติม

บรรลุอนาคามี ประสบการณ์โลกทิพย์ในการออกธุดงค์ของพระอาจารย์มั่นภูริทัตโต (ตอนที่ ๒๑)

บรรลุอนาคามี

ประสบการณ์โลกทิพย์ในการออกธุดงค์ของพระอาจารย์มั่นภูริทัตโต

(ตอนที่ ๒๑)

ขณะที่พระอาจารย์มั่นบำเพ็ญเพียรสร้างบารมีธรรมอยู่ที่ถ้ำสาลิกานี้ ปรากฏว่า ในบางคืนมีพระอรหันตสาวก เสด็จมาแสดง

ธรรมให้ท่านฟังตามทางอริยประเพณี โดยมาปรากฏในทางสมาธินิมิต เมื่อพระอรหันตสาวกแสดงธรรมให้ท่านฟังจากไปแล้ว

ท่านก็น้อมเอาธรรมนั้นมาพิจารณาใคร่ครวญอีกต่อหนึ่ง โดยแยกแยะออกเป็นแขนง ไตร่ตรองดูด้วยความละเอียด

ทุกครั้งที่พระอรหันต์สาวกแต่ละองค์เสด็จมาแสดงธรรมสั่งสอน ท่านได้อุบายต่าง ๆ จากการสดับธรรมของพระอรหันต์

ทั้งหลายที่มาอบรมสั่งสอนแต่ละครั้งแต่ละองค์ ช่วยส่งเสริมกำลังใจกำลังสติปัญญาตลอดมา?

ธรรมที่พระอรหันตสาวกแสดงให้ฟัง ท่านรู้สึกว่า
อ่านเพิ่มเติม

รู้ภายในภายนอก ประสบการณ์โลกทิพย์ในการออกธุดงค์ของพระอาจารย์มั่นภูริทัตโต (ตอนที่ ๒๐)

รู้ภายในภายนอก

ประสบการณ์โลกทิพย์ในการออกธุดงค์ของพระอาจารย์มั่นภูริทัตโต

(ตอนที่ ๒๐)

พระอาจารย์มั่นพักบำเพ็ญเพียรอยู่ถ้ำสาลิกาได้รับความรู้และอุบายแปลก ๆ ต่าง ๆ มากมาย ทั้งที่เป็นเรื่องภายใน อันหมายถึงการ

ซักฟอกจิตกำจัดกิเลสอาสวะ และทั้งเกี่ยวกับเรื่องรู้เห็นภายนอก อันหมายถึงตาทิพย์ หูทิพย์ และอภิญญาข้ออื่น ๆ ที่ทำให้รู้เท่าทัน

โลกด้วยญาณปัญญาไม่มีประมาณ?นึกอยากจะรู้เห็นอะไร ไม่ว่าจะเป็นเรื่องลี้ลับซับซ้อนยากเย็นแสนเข็ญเพียงไร เป็นรู้ได้อย่างรวดเร็ว

ถูกต้องแม่นยำ ไม่มีผิดพลาดไม่มีจำกัดขอบเขต

ท่านเกิดความอาจหาญร่าเริงในธรรมข้อบัญญัติ จนลืมเวล่ำเวลา ไม่ค่อยได้สนใจกับวันคืนเดือนปีที่ผ่านไปอะไรนักความแตกฉานรอบรู้ภายในใจเกิดขึ้นทุกระยะเหมือนน้ำไหลรินในฤดูฝน บางวันตอนบ่ายอากาศปลอดโปร่ง ท่านก็เดินเที่ยวชมป่าเขาลำเนาไพรภาวนาไปเรื่อย ๆ ทำให้เพลิดเพลินเจริญใจสำราญในอิริยาบถ ไปตามทัศนียภาพที่มีอยู่เป็นอยู่ตามธรรมชาติของมัน เย็น ๆ หน่อยค่อยกลับลงมายังถ้ำที่พัก เวลาเดินเที่ยวในป่าเขาใหญ่ก็พบสัตว์ต่าง ๆ เช่น โขลงช้างบ้าง เสือโคร่งบ้าง หมีบ้าง ตลอดจนเก้ง กวาง กระทิง เป็นต้น หากินไปตามประสาของมัน
อ่านเพิ่มเติม

พบฉลาด..ยิ่งเห็นโง่? ประสบการณ์โลกทิพย์ในการออกธุดงค์ของพระอาจารย์มั่นภูริทัตโต (ตอนที่ ๑๙)

พบฉลาด..ยิ่งเห็นโง่?

ประสบการณ์โลกทิพย์ในการออกธุดงค์ของพระอาจารย์มั่นภูริทัตโต

(ตอนที่ ๑๙)

คืนวันหนึ่ง พระอาจารย์มั่นเกิดความสลดสังเวชใจอย่างมากจนน้ำตาร่วง คือเวลานั่งสมาธิจิตรวมลงอย่างเต็มที่

เพราะการพิจารณากายเป็นเหตุ ปรากฏว่าจิตว่างเปล่า และปล่อยวางอะไร ๆ หมดโลกธาตุเป็นเหมือนไม่มีอะไรเหลืออยู่เลย

ในความรู้สึกขณะนั้น?หลังจากสมาธิแล้ว พิจารณาพระธรรมวินัย ที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้ เพื่อลบล้างหรือถอดถอน

ความผิด ที่มีอยู่ในใจของสัตว์โลก ซึ่งเป็นธรรมที่ออกจากความฉลาดแหลมคม แห่งพระปัญญาของพระพุทธเจ้า

พิจารณาไปเท่าไร ก็ยิ่งเห็นความฉลาด และอัศจรรย์ของพระพุทธองค์ และเห็นความโง่เขลาเบาปัญญาของตนยิ่งขึ้น
อ่านเพิ่มเติม

ลิงเพื่อนในป่า ประสบการณ์โลกทิพย์ในการออกธุดงค์ของพระอาจารย์มั่นภูริทัตโต (ตอนที่ ๑๘)

ลิงเพื่อนในป่า

ประสบการณ์โลกทิพย์ในการออกธุดงค์ของพระอาจารย์มั่นภูริทัตโต (ตอนที่ ๑๘)

บ่ายวันหนึ่ง พระอาจารย์มั่นออกจากสมาธิไปนั่งตากอากาศอันรื่นรมย์ห่างจากหน้าถ้ำพอประมาณ ขณะกำลังเสวยสุขเพลินอยู่กับ

การพิจารณาธรรมทั้ง ฝ่ายมรรคคือทางดำเนิน และ ฝ่ายผลคือความสมหวัง เป็นลำดับ จนถึงความดับสนิทแห่งกองทุกข์ภายในใจ

ไม่มีเหลือพอดีมีฝูงลิงใหญ่พากันเที่ยวหากินมาบริเวณหน้าถ้ำ โดยมีหัวหน้ามาก่อนเพื่อน ปล่อยระยะห่างจากฝูงประมาณ 1 เส้น

พอหัวหน้าจ่าฝูงลิงมาถึงบริเวณหน้าถ้ำ ก็มองเห็นพระอาจารย์มั่นนั่งอยู่นิ่งๆ ไม่เคลื่อนไหวลิงตัวนั้นหยุดชะงักจ้องมองด้วยความสงสัย

มันค่อยๆ ด้อมๆ มองๆ วิ่งถอยไปถอยมาอยู่บนต้นไม้พิจารณาดูท่านคล้ายจะพูดว่า นั่นมันตัวอะไรกันแน่
อ่านเพิ่มเติม

ประสบการณ์โลกทิพย์ ในการออกธุดงค์ของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต (ตอนที่ ๑๗)

ประสบการณ์โลกทิพย์ ในการออกธุดงค์ของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต (ตอนที่ ๑๗)

?

เทวดาผู้อ่อนน้อม

ผีหลวงร่างยักษ์ใหญ่ได้ฟังคำเทศนาอันเผ็ดร้อนของพระอาจารย์มั่นโดยทางสมาธิจิตคือพูดทางจิตก็ให้มีอาการตะลึงตัวแข็งแบก

ตะบองเหล็กค้างเติ่งไม่กล้ากระดุกกระดิก แสดงอาการทั้งอับอาย

และเกรงกลัวพระอาจารย์มั่นอย่างถึงขนาดคล้ายไม่หายใจเอาทีเดียว ครั้นแล้วอย่างช้า ๆ งก ๆ เงิ่น ๆ เขาก็ทิ้งตะบอลเหล็กอันใหญ่

โตลงกับพื้น แล้วเนรมิตร่างในพริบตากลับกลายเป็นร่างมานพ

หนุ่มรูปงามและนิ่มนวลด้วยมารยาทอัธยาศัย คุกเข่าลงคลานเข้ามากราบนมัสการพระอาจารย์มั่น แล้วกล่าวคำขอโทษอย่างบุคคล

ผู้เห็นโทษสำนึกในบาปกรรม ที่แสดงกิริยาหยาบคายชั่วช้าสามานย์ล่วงเกินท่าน และได้สารภาพว่า
อ่านเพิ่มเติม

ประสบการณ์โลกทิพย์ ในการออกธุดงค์ของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต (ตอนที่ ๑๖)

ประสบการณ์โลกทิพย์ ในการออกธุดงค์ของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต (ตอนที่ ๑๖)

เมื่อถอนจิตออกมาทรงตัวอยู่ในระดับอุปจารสมาธิหรืออุปจารฌานแล้ว พลันจิตก็สว่างออกไปนอกกายอันเป็นพลังทิพยจักษุ ปรากฏเห็น

บุรุษผู้หนึ่ง มีร่างใหญ่ดำมะเมื่อมสูงมากประมาณสัก 10 เมตร ถือตะบองเหล็กใหญ่เท่าเขา ยาวราว 2 วาเดินตรงเข้ามาหา พูดกับท่าน

อย่างดุดันว่า จะทุบตีท่านให้จมลงไปในดิน ถ้าไม่หนีจะฆ่าให้ตายเดี๋ยวนี้ ตะบอลเหล็กที่เราถืออยู่นี้ ตีช้างสารตัวใหญ่ทีเดียวก็ตายจมดิน

จมมิดไม่ต้องตีซ้ำอีกเลย?พระอาจารย์มั่นกำหนดจิตถามผีร่างยักษ์ผู้ดุร้ายนั้นว่า

” จะมาฆ่าตีอาตมาด้วยเรื่องอะไร ” ผียักษ์ตอบว่า ” เราเป็นเจ้าเป็นใหญ่รักษาภูเขาลูกนี้มานานแล้ว ไม่ยอมให้ใครมาครองอำนาจเหนือเรา

ได้ ใครบังอาจมาต้องกำจัดทันที ”
อ่านเพิ่มเติม

. . . . . . .