ทุกอย่างเป็นเช่นนั้นเอง โดย ท่านพุทธทาส ภิกขุ

ทุกอย่างเป็นเช่นนั้นเอง โดย ท่านพุทธทาส ภิกขุ

หน้าที่ 1 – วันขึ้นปีใหม่
ให้วันขึ้นปีใหม่มีความหมายขอพระธรรมในใจแยบคายเพื่อสำเร็จประโยชน์ตามนั้นเถิดการขึ้นปีใหม่ก็บอกอยู่แล้วว่าไม่ใช่ปีเก่าเพราะฉะนั้นมันไม่เป็นการซ้ำรอยหรือย่ำเท้าทีเดียวขอให้มันก้าวหน้าไปๆอย่าให้เป็นอันว่าเป็นวงๆซ้ำรอยอยู่ที่นี่ที่เคยกล่าวว่าไอ้เชือกล่ามควายที่เขาขดเป็นวงๆอยู่นั่นเองโยนทิ้งอยู่ที่นั่นเองมันไม่สามารถยืดยาวออกไปไหนได้

เดี๋ยวนี้เราต้องการให้มันยืดยาวออกไปเหมือนกับหลักปักหนทางบอกความยาวของถนนเป็นกิโลเมตรติดต่อกันไปๆมันก็ไปได้เรื่อยๆจนกว่าจะถึงจุดหมายปลายทางขอให้การขึ้นปีใหม่เราอย่าได้เป็นเหมือนกับเชือกล่ามควายเราจะกลายเป็นควายกันเสียหมดก็เป็นเหมือนว่าหลักกิโลเมตรที่มันไกลออกไปเพิ่มขึ้นเราก็จะเป็นผู้เดินทางที่เป็นความหมายในพุทธศาสนาที่เดินไปตามลำธารที่พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้ปล่อยถึงจุดหมายคือพระนิพพานสำหรับปีนี้มาคิดว่าจะบอกความเก้าหน้ามากไปกว่าปีก่อนแล้วก็รวบลัดตัดสั้นยิ่งขึ้นทุกทีมันเป็นของง่ายสำหรับท่านทั้งหลายความง่ายนี้
อ่านเพิ่มเติม

พ่อแม่สมบูรณ์แบบ โดย ท่านพุทธทาส ภิกขุ

พ่อแม่สมบูรณ์แบบ โดย ท่านพุทธทาส ภิกขุ

หน้าที่ 1 – พระสารีบุตร
ในวันนี้จะได้กล่าวในหัวข้อว่าพ่อแม่สมบูรณ์แบบหมายถึงพ่อแม่ที่สมบูรณ์แบบยังเป็นสิ่งที่เราพากันมองข้ามว่าเป็นสิ่งสำคัญสำหรับความอยู่รอดของมนุษย์คือเป็นสิ่งสำคัญในการที่มนุษย์จะมีความปลอดภัยมีความเป็นอยู่ประกอบไปด้วยสันติภาพหรือสันติสุขเหมือนทุกๆเรื่องที่แล้วมาแสดงให้เห็นว่าพากันมองข้ามสิ่งเหล่านี้แล้วมันก็ดับทุกข์ได้ยากหรือมันจะก่อปัญหาความทุกข์เกิดขึ้นไม่มีที่สิ้นสุดหรือว่าจะริเริ่มก่อปัญหาขึ้นมาก็แล้วแต่กรณีการที่มนุษย์เราในโลกนั้นมีความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ก็มีเหตุปัจจัยหลายอย่างอย่างหนึ่งซึ่งสำคัญมากก็คือยังขาดพ่อแม่สมบูรณ์แบบคือขาดบิดามารดาที่ถูกต้องตามแบบแห่งพระธรรม ถูกต้องตามหลักของพระธรรม
อ่านเพิ่มเติม

ธรรมะสำหรับผู้สูงอายุ โดย ท่านพุทธทาส ภิกขุ

ธรรมะสำหรับผู้สูงอายุ โดย ท่านพุทธทาส ภิกขุ

หน้าที่ 1 – นิพพานกลางดิน
ข้อแรกขอแสดงความยินดีในการที่ท่านทั้งหลายมีเจตนาที่จะศึกษาธรรมะจึงได้พากันมาสู่สถานที่นี้เพื่อวัตถุประสงค์อันนั้น ณ บัดนี้เราก็ได้มานั่งกันกลางดินๆซึ่งเข้าใจว่าบางแห่งไม่ได้นั่งกันกลางดินบางแห่งก็นั่งกันบนตึกราคาแสน ราคาล้าน แต่เดี๋ยวนี้เรามานั่งกันกลางดินขอให้ทำในใจให้ถูกต้องมิฉะนั้นจะขาดทุนบางคนจะคิดว่ามันเสียเกรียติมานั่งกันกลางดินและก็โกรธนี้มันคนโง่มันลืมไปว่าพระพุทธเจ้าท่านประสูติกลางดินท่านเป็นราชามหากษัตริย์แต่เวลาประสูติ ประสูติกลางดินใต้โคนต้นไม้แล้วเวลาท่านจะตรัสรู้ก็ตรัสรู้กลางดินโคนต้นไม้อีกเมื่อท่านสอนก็สอนตามกลางดินเพราะไปประชุมกันกลางดินพบกันกลางดินเดินทางอยู่ก็พบก็หยุดสอนแม้ว่าโรงธรรมก็พื้นดินทีนี้ที่อยู่ของท่านกุฏิของท่านก็พื้นดินไปดูได้
อ่านเพิ่มเติม

อย่าสร้างนิสัยหาทางออกให้แก่กิเลส โดย ท่านพุทธทาส ภิกขุ

อย่าสร้างนิสัยหาทางออกให้แก่กิเลส โดย ท่านพุทธทาส ภิกขุ

หน้าที่ 1 – อบายมุข
เมื่อจะไปทำผิด มีจิตสำนึกฝ่ายดีทักท้วงไว้บ้าง มันก็หาข้อแก้ตัวจนได้ หาแก้ตัวกันไปทำผิดทำชั่วทำร้ายอันธพาล ครั้นทำผิดลงไปแล้วก็ยังต้องหาข้อแก้ตัวเมื่อเขาจับได้อีก เพื่อให้ไม่ต้องรับโทษ ต้องไปจ้างทนายแพง ๆ ช่วยแก้ตัว เห็นได้ว่าเป็นมันเรื่องยุ่ง ทั้งขึ้นทั้งร่อง

ถ้าหากว่าเราไม่มี การกระทำกันอย่างนี้ อาชญากรรมก็แทบจะไม่เกิดขึ้น คนที่จะประกอบอาชญากรรม มันรู้ดีเกินรู้มันไม่ถูกมันไม่ควรมันเป็นอาชญากรรม มันไม่ถูกในทางศาสนา มันไม่ถูกในทางโลก แล้วเขาก็แก้ตัว หาข้อแก้ตัว จนในที่สุดก็ไปกระทำกันจนได้ ข้อแก้ตัวอย่างโง่ที่สุด เริ่มต้นที่สุด ก็คือแก้ตัว ว่าจะไม่มีใครเห็น จะจับเราไม่ได้ แก้ตัวอย่างนี้ มันก็เลยไปทำ อาชญากรรม ถ้ามันเป็นชั้นสูงหน่อยมันก็ แก้ตัวกันไปแก้ตัวกันมา หลายตะหลบ ระหว่างความรู้สึกฝ่ายต่ำหรือฝ่ายชั่ว ก็ความรู้สึกฝ่ายดีหรือฝ่ายสูง คนเรามันมีความรู้สึกสองฝ่ายนี้ ยังต่อสู้กันเรื่อยไป ความอยากดีมันก็มีอยู่แต่ความอยากชั่วมันมากเห็นแก่ประโยชน์มันก็มากไม่คำนึงถึงดีถึงชั่ว เรียกว่ามีสัตว์สองตัวตัวหนึ่งดำตัวหนึ่งขาว มันก็ต่อสู้กันอยู่เรื่อยไป จนกว่าจะเป็นยอดมนุษย์เป็นยอดมนุษย์เช่นเป็นพระอรหันต์ ก็ไอ้ควายดำควายขาวสองตัวนี้ ตกน้ำละลายหายสูญไปนี้ไม่มี ไม่มีดำไม่มีขาว นู้นมันไปจบกันที่นู้น
อ่านเพิ่มเติม

เรื่องผัสสะเป็นสิ่งที่ต้องรู้จักและควบคุม โดย ท่านพุทธทาส ภิกขุ

เรื่องผัสสะเป็นสิ่งที่ต้องรู้จักและควบคุม โดย ท่านพุทธทาส ภิกขุ

หน้าที่ 1 – วิญญาณ
มันก็สรุปอยู่ในเรื่องนี้ มันเป็นเพียงคำพูดคำเดียว ถ้าเข้าใจถือเอาว่าได้ จะเป็นผลมาก จะมีผลมาก ท่ายลองทายดูว่า จะ จะพูดว่าอะไร จะได้แกะคำว่าอะไร อาตมาเชื่อว่าคงทายผิด ไม่เชื่อก็ลองทายดูก่อนว่าอาตมาจะพูดว่าอะไร คำเดียวสำหรับหมดทุกเรื่อง ทายแล้วนะ คำเดียวคำนั้นคือคำว่า ผัสสะ ถูกไหม ใครทายถูกบ้าง คือเรื่องผัสสะเรื่องนี้เป็นเรื่องเป็นเรื่องครอบหมดในบรรดาธรรมะ ธรรมศึกษาธรรมะปฏิบัติ ธรรมมะอะไรก็ตาม มันไปรวมอยู่ที่คำๆเดียว เหมือนกับเป็นขั้วของเรื่องเป็นต้นขั้วของเรื่อง คือคำว่าผัสสะ จะมีคำให้ท่องจำง่ายๆ เกี่ยวกับผัสสะ มีอยู่ว่า ความทุกข์เกิดที่จิต เพราะทำทำผิดเรื่องผัสสะ ความทุกข์จะไม่โผล่
อ่านเพิ่มเติม

การศึกษาและการรับปริญญาพระพุทธศาสนา โดย ท่านพุทธทาส

การศึกษาและการรับปริญญาพระพุทธศาสนา โดย ท่านพุทธทาส

หน้าที่ 1 – การศึกษาและการรับปริญญา
ท่านที่เป็นครูบาอาจารย์ นักเรียน นักศึกษาทั้งหลาย ขอแสดงความยินดีที่ให้การขวนขวาย เพื่อมาสู่สถานที่นี้ เพื่อศึกษาสิ่งที่เรียกว่า ธรรมะ เลยคิดว่า จะพูดเรื่อง การศึกษาเกี่ยวกับการรับปริญญา พูดกันให้ชัดเจน ให้ถี่ถ้วน สักครั้งหนึ่ง แยกพูดเป็น 2 เรื่อง คือ การศึกษาและการรับปริญญา ในพระพุทธศาสนา

พูดอย่างนี้ก็แปลกสำหรับคนทั่วไป อาจจะคิดไปในทางที่ว่าแกล้งพูด โยกโย่ ที่เขาบอกว่าเป็นการพูดตรงตามเรื่องที่มีอยู่ในพระบาลี คือมีทั้งการศึกษาและมีทั้งการรับปริญญา หมายความว่า บุคคลศึกษาตามหลักพระพุทธศาสนาครบถ้วนแล้ว ปฏิบัติถึงที่สุดแล้ว ก็มีการรับปริญญา ยิ่งถ้าไม่ค่อยได้ฟัง ก็จะบอกว่า ให้ฟัง บอกให้ฟังว่า พระพุทธเจ้าท่านได้ตรัสว่า พระภิกษุทั้งหลาย ปริญญามีอยู่ 3 อย่าง 3 อย่าง คืออะไร 3 อย่างคือ ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ ความสิ้นโมหะ
อ่านเพิ่มเติม

การสังคมคืออะไร โดย ท่านพุทธทาส

การสังคมคืออะไร โดย ท่านพุทธทาส

หน้าที่ 1 – ทัศนะของพุทธบริษัท
การสังคม ในครั้งที่1 ได้กล่าวถึงการศึกษาว่าเป็นอะไรในทัศนะของพุทธบริษัท ในครั้งที่ 2 ได้กล่าวถึงการงานว่าเป็นอะไรฐานะในทัศนะของพุทธบริษัท ท่านทั้งหลายต้องสนใจในคำที่ว่าในทัศนะของพุทธบริษัท หมายความว่า เราจะมองดูสิ่งนั้นๆตามทัศนะของพระพุทธศาสนาซึ่งพุทธบริษัทได้พากันถือเป็นหลักอยู่ ส่วนพวกอื่นหรือทัศนะของพวกอื่นจะเป็นอย่างไรนั้นก็ตามใจเขา เราจะต้องรู้ตามพุทธบริษัทเพื่อให้สำเร็จประโยชน์ตามที่พุทธบริษัทต้องการอย่างครั้งที่ 1 ได้พูดถึงการศึกษาว่าการศึกษาคืออะไรในทัศนะของพุทธบริษัทในครั้งนั้นก็สรุปใจความได้ว่า คือสิ่งที่ทำความก้าวหน้าอย่างถูกต้อง
อ่านเพิ่มเติม

จิตนี้ประภัสสร โดย ท่านพุทธทาส

จิตนี้ประภัสสร โดย ท่านพุทธทาส

หน้าที่ 1 – การแสดงธรรม
โดยข้อความที่เนื่องกันสำหรับให้ท่านทั้งหลายได้รับประโยชน์ ได้รับความสำเร็จตามความมุ่งหมาย เรื่องของพระอรหันต์เป็นเรื่องที่ทุกคนควรจะทราบด้วยเหตุผลง่ายๆว่าพระอรหันต์เป็นตัวอย่างแห่งบุคคลพูดถึงกันเต็มเปี่ยมแห่งความเป็นมนุษย์ เราก็จำเป็นที่จะต้องทำตนให้ถึงความเต็มเปี่ยมของความเป็นมนุษย์ จึงตามรอยของผู้พระอรหันต์ถ้าไม่ได้ไปตามรอยนั้นมันก็เดินไปตามนอกลู่นอกทางผิดไปจากที่มนุษย์ควรจะหวัง ควรจะปรารถนาและอาการที่เรียกว่า เทพี ที่ได้เกิดมาก็จะปรากฏ ขอให้ท่านทั้งหลายสนใจฟังให้เป็นอย่างดี อีกประการหนึ่งมีข้อที่ควรจะสังเกตและทำในใจว่าเธอจะต้องมีการฟังที่ดีจึงจะเข้าใจได้ หรือจะรับเรื่องราวอันนี้ไปได้ แล้วก็มีข้อเกี่ยวพันกันมาถึงว่าท่านทั้งหลายมาแต่ที่ไกล เรื่องมาก เหนื่อยมาก แพงมาก ถ้าไม่ได้รับประโยชน์อะไรที่คุ้มค่ากันโดยเป็นความบกพร่องของอาตมาอย่างนี้แล้ว อาตมาเคยใช้คำว่า ยมบาล จะเอาตาย ยมบาลจะเล่นงานจะเอาตาย ถ้าท่านทั้งหลายไม่ได้รับประโยชน์อะไรสมกันกับที่ท่านได้เสียสละมา
อ่านเพิ่มเติม

จิตวิทยาในพระพุทธศาสนา โดย ท่านพุทธทาส

จิตวิทยาในพระพุทธศาสนา โดย ท่านพุทธทาส

หน้าที่ 1 – จิต
จะใช้ประโยชน์มันได้สักเท่าไหร่มันก็เป็นจิตวิทยา จะใช้มันอย่างไรก็เรียกว่าจิตวิทยา จะอบรมมันอย่างไรก็เรียกว่าจิตวิทยา ลึกที่สุดจะมีจิตอยู่ในสภาพเช่นไรก็จิตวิทยา มันกว้าง นี่จะเอาจิตวิทยานี่ไปรับใช้อะไร ไปรับใช้อะไร เอาความรู้ทางจิตวิทยาไปใช้เพื่อประโยชน์อะไร ไปรับใช้อะไรก็เรื่องจิตวิทยา เราเอาไปรับใช้การบ้านการเมืองหรือว่าจะทำดับทุกข์ของตนโดยเฉพาะ พุทธศาสนานี้มันก็มีจิตวิทยาแต่ในแง่ที่จะดับทุกข์เท่านั้นแหละว่าจริงๆ พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่าพูดแต่เรื่องทุกข์กับดับทุกข์เท่านั้น เดี๋ยวนี้ก็ตาม แต่ก่อนโน้นก็ตาม เดี๋ยวนี้ก็ตาม พูดแต่เรื่องทุกข์กับดับทุกข์ ก็หมายความว่า การจะพูด จะรู้ จะใช้จิตวิทยา รู้ทุกข์กับดับทุกข์ จะไปใช้ประโยชน์อะไรนอกเหนือออกไปเป็นเรื่องอาชีพ เป็นเรื่องการงาน เป็นเรื่องอะไรอีกไม่มี รู้เรื่องจิตวิทยา รู้เรื่องของจิตในทุกแง่ทุกมุม ที่จะเป็นประโยชน์แก่การดับทุกข์ แล้วก็ดับทุกข์ได้ในที่สุด เนี่ยแหละจิตวิทยา
อ่านเพิ่มเติม

ปรมัตถศิลป์แห่งการดำเนินครองชีวิต โดย ท่านพุทธทาส

ปรมัตถศิลป์แห่งการดำเนินครองชีวิต โดย ท่านพุทธทาส

หน้าที่ 1 – ศิลปะแห่งการครองชีวิต
อาตมาจะได้กล่าวหัวข้อใหญ่ร่วมว่าศิลปะแห่งการครองชีวิตทำไมจึงให้หัวข้อนี้ในสำหรับภาควิสาขบูชานี้ก็เพราะถือว่าเป็นภาพความสว่างมันก็ควรจะสว่าง วันวิสาขบูชามีขึ้นในวันคล้ายวันประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพาน ล้วนแต่เป็นการเกิดขึ้นแห่งสว่างและทำลายความมืดให้หมดไป อาตมาจะพูดเรื่องเห็นว่าเราควรจะพูดเรื่องแสงสว่าง จึงได้เอาหัวข้อนี้มาก็ยังจะกล่าวโดยหัวข้อย่อยตามลำดับ ขยายใจความของหัวข้อใหญ่ให้เป็นที่เข้าใจชัดเจน ในวันนี้จะกล่าวหัวข้อย่อยว่า ปรมัตถศิลป์แห่งการครองชีวิต ตามทัศนะของชาวพุทธฟังมันก็ลุ่มล่ามยืดยานแต่ขอให้คนสังเกตจดจำ เพราะมันทำให้สั้นกว่านี้ไม่ได้ ปรมัตถศิลป์แห่งการครองชีวิต หมายความว่า ศิลปะในชั้นปรมัต คือมีอัฐฑะ ความหมาย คุณค่าหรือประโยชน์อันสูงสุด

อย่างนี้เราเรียกว่าปรมัตถ ปรมัตถศิลปะ คือ ศิลปะที่เป็นปรมัต เป็นศิลปะแห่งการครองชีวิตก็คือ การมีชีวิตในทุกแง่ทุกมุม เราเรียกว่าครองชีวิต ที่ว่าตามทัศนะของชาวพุทธนี้ก็เพราะว่ามันไม่เหมือนใคร เราแยกออกมากล่าวในรูปแบบแห่งความรู้ ความคิด หรือสติปัญญาของชาวพุทธ ในหัวข้อค่อนข้างจะยืดยาวว่า ปรมัตถศิลปะแห่งการครองชีวิต ตามทัศนะของชาวพุทธ เราจะต้องรู้ว่าเป็นอย่างไรและจะเห็นแจ้งว่าไม่เหมือนใครได้โดยแน่นอน หัวข้อสั้นๆ ว่าศิลปะแห่งการครองชีวิตขอให้สนในคำว่าศิลปะ
อ่านเพิ่มเติม

ทางแห่งความไม่ประมาท โดย ท่านพุทธทาส

ทางแห่งความไม่ประมาท โดย ท่านพุทธทาส

หน้าที่ 1 – วิปัสสนาธรรมเทศนา
ทางแห่งความไม่ประมาท
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

ณ บัดนี้จะได้วิปัสสนาธรรมเทศนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อเครื่องดับสติปัญญา ส่งเสริมศรัทธาความเชื่อ และวิริยะ ความพากเพียรของท่านทั้งหลาย และผู้เป็นพุทธบริษัท ให้เจริญงอกงามก้าวหน้าตามทางแห่งพระศาสนา ของสมเด็จพระบรมศาสดา นั่นเป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งหลาย กว่าจะยุติลงด้วยเวลา ธรรมเทศนาเนื่องในวันที่เข้าพรรษา เป็นไปเพื่อให้เกิดความไม่ประมาท ดังที่ท่านทั้งหลายเคยทราบกันอยู่ดีแล้ว ความประมาทนั้นท่านพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เป็นทางแห่งความตาย บุคคลผู้ประมาทแล้ว
อ่านเพิ่มเติม

ไตรโลกุตตรธรรม: มรรค ผล นิพพาน โดย ท่านพุทธทาส

ไตรโลกุตตรธรรม: มรรค ผล นิพพาน โดย ท่านพุทธทาส

หน้าที่ 1 – ธรรมเทศนา
นโมตัสสะ ภัควัตโต อรหโต สัมมาสัมพุทธทัสะ นโมตัสสะ ภัควัตโต อรหโต สัมมาสัมพุทธทัสะ นโมตัสสะ ภัควัตโต อรหโต สัมมาสัมพุทธทัสะ โยสัมโมโยนะโคธิมูเล มาลังคะเสนังธิจิตัง ปุญเสญะ สังโฆอนันตติยาโน โลกุลสโม ตังตุยามา พุทธังติธัมโม จะสัจจังโธติ

ณ บัดนี้ อัตมาภาพจะได้วิปัสณาประจำวันเทศนาเพื่อเป็นเครื่องประดับสติปัญญา เสริมสัทธา ความเชื่อและอิริยะความพากเพียรของท่านทั้งหลายไที่เป็นพุทธบริษัทให้เจริญงอกงามก้าวหน้าตามทางแห่งศาสนาของสมเด็จพระบรมศาสดา

อันเป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งหลายว่าได้ยุติลงด้วยเวลาธรรมเทศนานี้เป็นธรรมเทศนาพิเศษ ปรากฏเหตุตามเป็นที่จำพรรษา และวันนี้เป็นวันแรกของการเข้าพรรษา พุทธบริษัทก็ถือว่าเป็นอภิรักษ์จิตสมัย คือ เวลาที่จะต้องกำหนดไว้เป็นพิเศษว่าจะต้องกระทำอะไรกันบ้างและก็ร่วมมือกันทำในสิ่งที่จะต้องร่วมมือกันทำ และก็ทำให้ดีอย่างสุดความสามารถของตน ในส่วนที่เป็นประโยชน์ทั้งส่วนของตนเฉพาะคน
อ่านเพิ่มเติม

อนิจจลักษณ์-ทุกขลักษณ์ โดย ท่านพุทธทาส

อนิจจลักษณ์-ทุกขลักษณ์ โดย ท่านพุทธทาส

หน้าที่ 1 – สังขาร
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
สัมเพ สังขารา อนิจจา
สัมเพ สังขารา ทุกขา
สัมเพ ธัมมา อะนัตตา
ติยะทา ปัญญายะ ปัสสะติ
อะถะ นิพพินทะติทุกเข
เอสะ มัคโค วิสุทธิยาติ
ธัมโม สัจจะจัง เต ชะ โนติ

ณ บัดนี้ จะได้วิปัสสนาพระธรรมเทศนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อเป็นเครื่องประดับสติปัญญา ส่งเสริมศรัทธาความเชื่อ วิริยะความพากเพียรของท่านทั้งหลายที่เป็นพุทธบริษัท ให้เจริญงอกงามก้าวหน้า

ตามทางแห่งพระพุทธศาสนาของพระบรมพระศาสดาอันเป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งหลาย กว่าจะยุติลงด้วยเวลา ธรรมเทศนาในวันนี้เป็นไปตามธรรมดาของระเบียบประเพณีแห่งการเข้าพรรษาในครั้งแรกของพรรษานี้ได้แสดงเรื่อง พระรัตน 3 ทั้งต่อมาได้แสดงเรื่อง ศึกษา 3 ครั้งต่อมาอีกได้แสดงเรื่อง โลกุตระธรรม 3 ส่วนในวันนี้จะได้แสดงติดต่อกันไปโดยลำดับ เรื่อง สามัญลักษณะ 3 คือเรื่องอนิจจัง สุขขัง อนัตตา ในนี้จะพูดถึงสามัญลักษณะ 3 ประการ ที่เป็นเรื่องของ สติปัญญา ความละเอียดสุขุม มองสิ่งต่างๆ ได้ดี เมื่อมีสติสัมปชัญะอยู่ แล้วก็จะรับรองว่าไฟจะเกิดขึ้นไม่ได้ สามัญลักษณะ แปลว่าลักษณะที่เป็นสามัญคือทั่วไปแก่สิ่งทั้งปวงโดยเฉพาะประเภทที่เรียกว่าสังขาร ลักษณะ 3 อย่างนี้ คือทั่วๆไปแก่สังขารทั้งปวง
อ่านเพิ่มเติม

ไตรภพ: กามภพ- รูปภพ-อรูปภพ โดย ท่านพุทธทาส

ไตรภพ: กามภพ- รูปภพ-อรูปภพ โดย ท่านพุทธทาส

หน้าที่ 1 – ธรรมเทศนา

นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระโต สัมมา สัมพุทธะสะ นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระโต สัมมา สัมพุทธะสะ นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระโต สัมมา สัมพุทธะสะ ตะโยภะวา สหะมะธะโว รูปธะโว อรูปธะโว ติธัมโม ตะขะจังสโคะโตติ

ณ บัดนี้จะได้วิปัสณาพระธรรมเทศนาเป็นเครื่องประดับสติปัญญาเป็นเครื่องศรัทธาความพากเพียนขอ่านทั้งหลายทั้งหลายผู้เป็นพุทธบริษัทให้เจริญงอกงามก้าวหน้าตามทางแห่งพระศาสนาของสมเด็จบรมศาสดาอันเป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งหลายว่าจะยุติลงด้วยเวลา ธรรมะเทศนาในวันนี้เป็นธรรมเทศนา วันธรรมสวณะในพรรษาตามปกติ

ตามที่นิยมกันทั่วไปในหมู่พุทธบริษัท และธรรมเทศนาในวันนี้เป็นธรรมเทศนาติดต่อกันมาตามลำดับจากวันเทศนาในวันก่อน ๆ ในวันธรรมสวณะก่อน ๆ อาตมามีความตั้งใจว่าจะได้พูดวิปัสสนากันถึงเรื่อง ที่มีชื่อว่า 3 ว่าไตร หรือ 3 ทุก ๆเรื่อง ให้เพียงพอกันเสียสักเพราหนึ่ง

ดังที่ได้วิปัสสนามาแล้วในเรื่องไตรลักษณ์ ไตรสิกขา ไตรโลกุตระธรรม ไตรลักษณ์ ไตรวัต เป็นต้น
อ่านเพิ่มเติม

อาหารของอวิชชาและวิมุติ โดย ท่านพุทธทาส

อาหารของอวิชชาและวิมุติ โดย ท่านพุทธทาส

หน้าที่ 1 – สมเด็จพระบรมพระศาสดา
อาหารของอวิชชาและวิมุติ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
สัมเพ สังขารา อนิจจา
สัมเพ สังขารา ทุกขา
สัมเพ ธัมมา อะนัตตา
ติยะทา ปัญญายะ ปัสสะติ
อะถะ นิพพินทะติทุกเข
เอสะ มัคโค วิสุทธิยาติ
ธัมโม สัจจะจัง เต ชะ โนติ

ณ บัดนี้จะได้วิปัสสนาพระธรรมเทศนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อเป็นเครื่องประดับสติปัญญา ส่งเสริมศรัทธาความเชื่อและวิริยะความพากเพียร ของท่านทั้งหลายผู้เป็นพุทธบริษัท ให้เจริญงอกงามก้าวหน้า ตามทางแห่งพระศาสนาของสมเด็จพระบรมพระศาสดา อันเป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งหลาย กว่าจะยุติลงด้วยเวลา เทศนาในเวลาที่ประจำพรรษา เป็นบุพพาแต่ละลำดับ คือเป็นการติดต่อกันไป เพื่อว่าผู้ที่ตั้งใจจะฟังธรรมเทศนา ให้ตลอดพรรษาก็ย่อมจะทำได้ คือควรจะซักซ้อมการอธิษฐานใจ ในการที่จะทำสิ่งใดให้สม่ำเสมอ จนตลอดพรรษานี้ ให้คงไว้เป็นอย่างดี เมื่อวันนี้ก็มีพระมาเที่ยวพรรษา ถามว่ามาทำไมก็บอกว่ามาเที่ยว
อ่านเพิ่มเติม

การเป็นผู้ฉลาดในฐานะ 7ประการ โดย ท่านพุทธทาส

การเป็นผู้ฉลาดในฐานะ 7ประการ โดย ท่านพุทธทาส

หน้าที่ 1 – วิปัสสนาธรรมเทศนา
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

ณ บัดนี้จะได้วิปัสสนาธรรมเทศนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อเครื่องดับสติปัญญา ส่งเสริมศรัทธาความเชื่อ และวิริยะ ความพากเพียรของท่านทั้งหลาย และผู้เป็นพุทธบริษัท ให้เจริญงอกงามก้าวหน้าตามทางแห่งพระศาสนา ของสมเด็จพระบรมศาสดา

อันเป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งหลาย กว่าจะยุติลงด้วยเวลา ธรรมเทศนาเป็นเป็นบุพพาละลำดับ สืบต่อธรรมเทศนาที่วิสัจจนาแล้วในครั้งก่อน การจำพรรษานี้ พุทธบริษัทมีความตั้งใจที่จะประพฤติปฎิบัติธรรมะวินัย ในพระศาสนาให้มากเป็นพิเศษ ได้กล่าวมาแล้วว่า ผู้ที่จะประพฤติปฎิบัติ สิ่งใดให้เคร่งครัดจนเรียกได้ว่าเป็น พรหมจรรย์ ของผู้นั้น
อ่านเพิ่มเติม

การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ โดย ท่านพุทธทาส

การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ โดย ท่านพุทธทาส

หน้าที่ 1 – ขนบธรรมเนียมประเพณี
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
อัตตะมา เทนะ สัมปาเทฐา ติธัมโม สัจจะจัง โสปะโก ยันทิ

ณ บัดนี้จะได้วิสัจนาพระธรรมเทศนา ของพระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อเป็นเครื่องประดับสติปัญญาส่งเสริมศรัทธาความเชื่อ แล้ววิริยะความพากเพียร ของท่านทั้งหลายผู้เป็นพุทธบริษัท ให้เจริญงอกงามก้าวหน้าในทางแห่งพระศาสนา ของสมเด็จพระบรมศาสดา

อันเป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งหลาย กว่าจะยุติลงด้วยเวลา ธรรมเทศนาในวันนี้ เป็นธรรมเทศนาพิเศษ ปรารภเหตุเป็นวันเข้าพรรษา ดังนั้นจะได้กล่าวถึง สิ่งที่พุทธบริษัททั้งหลายจะพึ่งกระทำในใจ เนื่องในวันเช่นวันนี้เพื่อให้สำเร็จประโยชน์แห่งตนแห่งตนตามสำควรแก่สติกำลัง วันเข้าพรรษา ซึ่งวันนี้มีขนบธรรมเนียมประเพณีสำหรับที่จะบำเพ็ญกุศล และกระทำสิ่งซึ้งจะต้องกระทำให้ดีเป็นพิเศษ สำหรับแต่ละบุคคล จนกว่าจะตลอดพรรษา ถึงแม้บรรพชิตในวัดวาอารามก็ได้กระทำวัดปฏิบัตินั้นๆ ให้ดีเป็นพิเศษ ตลอดกาลพรรษาเช่นเดียวกัน
อ่านเพิ่มเติม

การปฎิบัติที่ไม่ผิด โดย ท่านพุทธทาส

การปฎิบัติที่ไม่ผิด โดย ท่านพุทธทาส

หน้าที่ 1 – ธรรมะสวรรณะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
หิเมหิธัมเมหิ สัมนาธัมโม อธัมอะปะหิปะธัม ปะหิปันโน โหนติ โยหิกะสานา โหนติ อากะยานัง ยาติธัมโม ถะกะชัง โสกะโหนติ

ณ บัดนี้จะได้วิปัสสนาธรรมเทศนา ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ที่เป็นเครื่องประดับสติปัญญา ส่งเสริมศรัทธาความเชื่อ และวิริยะความพากเพียร ของท่านทั้งหลายผู้เป็นพุทธบริษัท ให้เจริญก้าวหน้าในทางแห่งพระพุทธศาสนา ของพระสมเด็จพระบรมศาสดา อันเป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งหลาย กว่าจะยุติลงด้วยเวลา
อ่านเพิ่มเติม

ความคลายกำหนัดเป็นสุข โดย ท่านพุทธทาส

ความคลายกำหนัดเป็นสุข โดย ท่านพุทธทาส

หน้าที่ 1 – ความสุข
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

ณ บัดนี้จะได้วิสัชนาพระธรรมเทศนาออกพระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อเป็นเครื่องประดับสติปัญญาส่งเสริมศรัทธาความเชื่อและวิริยะความพากเพียรของท่านทั้งหลาย

ผู้เป็นพุทธบริษัทให้เจริญงอกงามก้าวหน้าตามทางแห่งพระศาสนาของสมเด็จพระบรมศาสดาอันเป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งหลาย กว่าจะยุติลงด้วยเวลา ธรรมะเทศนานี้เป็นเทศนาในการเข้าพรรษาซึ่งเป็น อภิรักจิตสมัยนอกเหนือไปจากวันธรรมดา ในเวลาที่สมควรแก่การแสดงธรรมเทศนาแก่พุทธบริษัทผู้ประชุมกันอยู่ ณ ที่นี้ ซึ่งจะได้แสดงด้วยหัวข้อว่า สิขาวิราคะตา โรเก กามานัง สุขจิตโว ธรรมะเทศนานี้แสดงถึงความสุขอีกชนิดหนึ่งวึ่งมีใจความว่า ความคลายกำหนัดออกเสียได้หรือการก้าวออกเสียได้ ซึ่งกามทั้งหลายในโลกนี้เป็นความสุข เป็นการแสดงถึงความสุขอีกชนิดหนึ่ง ต่อจากที่ได้แสดงแล้วในครั้งที่แล้วมา 2 ครั้ง ในครั้งแรกแสดงเรื่อง ความสุขอันเกิดแก่ นิเวศ หรือความที่ วิเวศ ไม่มีอะไรรบกวนของบุคคลที่เห็นธรรมะแล้ว ย่อมเป็นสุข ครั้งที่ 2 ว่าการสำรวม ในสัตว์มีปาณะทั้งหลาย คือการไม่เบียดเบียน ถือว่าเป็นความสุขในโลก
อ่านเพิ่มเติม

ไตรกรรม : กุศลกรรม อกุศลกรรม อัพยากตกรรม โดย ท่านพุทธทาส

ไตรกรรม : กุศลกรรม อกุศลกรรม อัพยากตกรรม โดย ท่านพุทธทาส

หน้าที่ 1 – ศรัทธาความเชื่อ
ไตรกรรม : กุศลกรรม อกุศลกรรม อัพยากตกรรม
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
หินิธัมมานิ อกุกะลัง อะเวตากะธัง อถิธัมโม อะจัง โสถะโกติ

ณ บัดนี้จะได้วิปัสสนาธรรมเทศนาเพื่อเครื่องดับสติปัญญา ส่งเสริมศรัทธาความเชื่อ และวิริยะ ความพากเพียรของท่านทั้งหลาย และผู้เป็นพุทธบริษัท ให้เจริญงอกงามก้าวหน้าตามทางแห่งพระศาสนา ของสมเด็จพระบรมศาสดา นั่นเป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งหลาย กว่าจะยุติลงด้วยเวลา ธรรมเทศนาประจำพรรษาธรรมะสวรรณะพรรษา ได้แสดงมาโดยลำดับ ว่าด้วยสิ่ง 3 สิ่งเป็นลำดับมา นับตั้งแต่พระรัตนตรัย แก้วทั้ง 3 ไตรสิกขา ไตรสิกขา 3 ไตรโลกุตระธรรม ไตรที่เป็นโลกุตระ 3 ไตรลักษณ์ ลักษณะของสังขารทั้งปวง 2 ไตรลักษณ์แห่งการหมุนแบ่งได้เป็น 3 ตอน ไตรภพหรือไตรภูมิ
อ่านเพิ่มเติม

. . . . . . .