คติธรรมหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ธาตุเน่าไม่ควรยึด

คติธรรมหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

ธาตุเน่าไม่ควรยึด

ท่านเทศน์ให้สงเคราะห์เข้าตนทั้งนั้น
สุกะ เป็นธาตุบูดเน่าเป็นธรรมชาติของเขา
ร้ายแต่มนุษย์ จิตติดสุภะ ดื่มสุรา
ท่านยกพระโพธิสัตว์ยกเป็นกษัตริย์ มีเมีย ๖ หมื่น บุตรราหุล
ท่านก็ไม่เมา ไหนเรามีเมียตาเปียกคนเดียวติดกันจนตาย
ธาตุเมาอันนี้เป็นธรรมชาติไม่ให้คนสิ้นสุดทุกข์ไปได้

พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ
วัดป่าภูริทัตตถิราวาส จังหวัดสกลนคร

ขอบคุณข้อมูลจาก : http://dubtook.kvc.ac.th

คติธรรมหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต คุณค่าของชีวิต

คติธรรมหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

คุณค่าของชีวิต

สิ่งมีชีวิตเป็นสิ่งที่มีคุณค่าอยู่ในตัวของมันเอง
จึงไม่ควรเบียดเบียนและทำลายคุณค่า
แห่งความเป็นอยู่ของเขาให้ตกไป
อันเป็นการทำลายคุณค่าของกันและกัน
เป็นบาปกรรมแก่ผู้ทำ

พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ
วัดป่าภูริทัตตถิราวาส จังหวัดสกลนคร

ขอบคุณข้อมูลจาก : http://dubtook.kvc.ac.th

คติธรรมหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต วิ่งตะครุบเงา

คติธรรมหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

วิ่งตะครุบเงา

คนหิว อยู่เป็นปกติสุขไม่ได้
จึงวิ่งหาโน่นหานี่
เจออะไรก็คว้าติดมือมาโดยไม่สำนึกว่าผิดหรือถูก
ครั้นแล้วสิ่งที่คว้ามาก็เผาตัวเองให้ร้อนยิ่งกว่าไฟ
คนที่หลงจึงต้องแสวงหา
ถ้าไม่หลงก็ไม่ต้องหา
จะหาไปให้ลำบากทำไม
อะไรๆ ก็มีอยู่กับตัวเองอย่างสมบูรณ์อยู่แล้ว
จะตื่นเงา ตะครุบเงาไปทำไม
เพราะรู้แล้วว่า เงาไม่ใช่ตัวจริง
ตัวจริง คือ สัจจะทั้งสี่ที่มีอยู่ในกายในใจอย่างสมบูรณ์แล้ว

คติธรรม โดย หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

ขอบคุณข้อมูลจาก : http://dubtook.kvc.ac.th

คติธรรมหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต เราควรรักษาศีล 5

คติธรรมหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

เราควรรักษาศีล 5

๑. สิ่งที่มีชีวิต เป็นสิ่งที่มีคุณค่า จึงไม่ควรเบียดเบียน ข่มเหง และทำลายคุณค่าแห่งความเป็นอยู่ของเขาให้ตกไป
๒. สิ่งของของใคร ใครก็รักและสงวน ไม่ควรทำลาย ฉกลัก ปล้น จี้ เป็นต้น อันเป็นการทำลายสมบัติและทำลายจิตใจกัน
๓. ลูกหลาน สามี ภรรยา ใครๆ ก็รักสงวนอย่างยิ่ง ไม่ปรารถนาให้ใครมาอาจเอื้อม ล่วงเกิน เป็นการทำลายจิตใจของผู้อื่นอย่างหนัก และเป็นบาปไม่มีประมาณ
๔. มุสา การโกหกพกลม เป็นสิ่งทำลายความเชื่อถือของผู้อื่นให้ขาดสะบั้นลงอย่างไม่มีดี แม้เดรัจฉานก็ไม่พอใจคำหลอกลวง จึงไม่ควรโกหกหลอกลวงให้ผู้อื่นเสียหาย
๕. สุรา ยาเสพติด เป็นของมึนเมาและให้โทษ ดื่มเข้าไปย่อมทำให้คนดีๆ กลายเป็นคนบ้าได้ ลดคุณค่าลงโดยลำดับ ผู้ต้องการเป็นคนดีมีสติปกครองตัว จึงไม่ควรดื่มสุรา เครื่องทำลายสุขภาพทางร่างกายและใจอย่างยิ่ง เป็นการทำลายตัวเอง และผู้อื่นไปด้วยในขณะเดียวกัน

พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ
วัดป่าภูริทัตตถิราวาส จังหวัดสกลนคร

ขอบคุณข้อมูลจาก : http://dubtook.kvc.ac.th

คติธรรมหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ผู้ทรงคุณค่าด้วยธรรม

คติธรรมหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

ผู้ทรงคุณค่าด้วยธรรม

ผู้เห็นคุณค่าของตัว จึงเห็นคุณค่าของผู้อื่น

ว่ามีความรู้สึกเช่นเดียวกัน ไม่เบียดเบียนทำลายกัน

ผู้มีศีลสัตย์เมื่อทำลายขันธ์ไปในสุคติในโลกสวรรค์

ไม่ตกต่ำเพราะอำนาจศีลคุ้มครองรักษาและสนับสนุน

จึงควรอย่างยิ่งที่จะพากันรักษาให้บริบูรณ์

ธรรมก็สั่งสอนแล้วควรจดจำให้ดี

ปฏิบัติให้มั่นคง จะเป็นผู้ทรงคุณสมบัติทุกอย่างแน่นอน

ขอบคุณข้อมูลจาก : http://dubtook.kvc.ac.th

คติธรรมหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ทำตนอย่ารู้มาก

คติธรรมหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

ทำตนอย่ารู้มาก

อย่าสำคัญว่าตนเอง เก่งกาจสามารถฉลาดรู้กว่าเขาเลย

ถึงกับสร้างความมืดมิดปิดตาทับถมตัวเอง

จนไม่มีวันสร่างซา เมื่อถึงเวลาจนตรอกอาจจนยิ่งกว่าสัตว์

ยังไม่เตรียมทราบไว้เสียแต่บัดนี้ ซึ่งอยู่ในฐานะอันควร

เมื่อมีผู้เตือนสติ

ควรยึดมาเป็นธรรมคำสอน

จะเป็นคนมีขอบเขตมีเหตุผล ไม่ทำตามความอยาก

เมื่อพยายามฝ่าฝืนให้เป็นไปตามทางของนักปราชญ์ได้

จะประสบผลคือความสุขในปัจจุบันทันตา

แม้จะมิได้เป็นเจ้าของเงินล้าน แต่มีทางได้รับความสุข

จากสมบัติและความประพฤติดีของตน

ขอบคุณข้อมูลจาก : http://dubtook.kvc.ac.th

คติธรรมหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต อย่าตำหนิติเตียนผู้อื่น

คติธรรมหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

อย่าตำหนิติเตียนผู้อื่น

ถึงเขาจะผิดจริงก็เป็นการก่อกวนจิตใจตนเองให้ขุ่นมัวไปด้วย ความเดือดร้อนวุ่นวายใจที่คิดตำหนิผู้อื่นจนอยู่ไม่เป็นสุขนั้น นักปราชญ์ถือเป็นความผิดและบาปกรรม ไม่มีดีเลย จะเป็นโทษให้ท่านได้สิ่งไม่พึงปรารถนามาทรมานอย่างไม่คาดฝัน การกล่าวโทษผู้อื่นโดยขาดการไตร่ตรอง เป็นการสั่งสมโทษและบาปใส่ตนให้ได้รับความทุกข์ จึงควรสลดสังเวชต่อความผิดของตน งดความเห็นที่เป็นบาปภัยแก่ตนเสีย ความทุกข์เป็นของน่าเกลียดน่ากลัว แต่สาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ ทำไมพอใจสร้างขึ้นเอง

ขอบคุณข้อมูลจาก : http://dubtook.kvc.ac.th

คติธรรมหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต การรักษาศีล

คติธรรมหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

การรักษาศีล

ศีลนั้นอยู่ที่ไหน มีตัวตนเป็นอย่างไร ใครเป็นผู้รักษาแล้วก็รู้ว่าผู้นั้นเป็นตัวศีล ศีลก็อยู่ที่ตนนี้ เจตนาเป็นตัวศีล เจตนาคือจิตใจ คนเราถ้าจิตใจไม่มีก็ไม่เรียกว่าคน มีแต่กายจะทำอะไรได้ ร่างกายกับจิตต้องอาศัยซึ่งกันและกัน เมื่อจิตไม่เป็นศีล กายก็ประพฤติไปต่างๆ มีโทษต่างๆ ผู้มีศีลแล้วไม่มีโทษ จะเป็นปกติแนบเนียน ไม่หวั่นไหว ไม่มีเรื่องหลง กายกับจิตเราได้มาแล้ว มีอยู่แล้ว ได้มาจากบิดามารดาพร้อมบริบูรณ์แล้ว จะทำให้เป็นศีลก็รีบทำ ศีลมีอยู่ที่เรานี้แล้ว รักษาได้ไม่กี่กาลก็ได้ผลไม่กี่กาล ผู้มีศีลย่อมเป็นผู้องอาจ กล้าหาญ ผู้มีศีลย่อมมีความสุข ผู้มีศีลจักมั่งคั่ง ไม่อด ไม่อยาก ไม่ยาก ไม่จน ก็เพราะรักษาศีลได้สมบูรณ์ จิตดวงเดียว เป็นศีล เป็นสมาธิ เป็นปัญญา ผู้มีศีลแท้ เป็นผู้หมดเวร หมดภัย

คติธรรมจากหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

อ้างอิง : http://www.tamdee.net/main/read.php?tid-116-page-e.html

ขอบคุณข้อมูลจาก : http://dubtook.kvc.ac.th

คติธรรมหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต พัฒนาตน

คติธรรมหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

พัฒนาตน

คนเราทุกคน..ใหญ่แต่กาย ใหญ่แต่ชาติ ใหญ่แต่ชื่อ ใหญ่แต่ยศ
ใหญ่แต่ความสำคัญตน แต่ความรู้ ความฉลาดเท่านั้น
ที่จะทำตนให้ร่มเย็นเป็นสุข ทั้งกายและใจโดยถูกทาง
ตลอดจนให้ผู้อื่นได้รับความร่มเย็นเป็นสุขด้วย
นั่นไม่ค่อยเจริญเติบโตด้วย และไม่สนใจบำรุงให้ใหญ่โตด้วย
จึงเกิดความเดือดร้อนกันอยู่ทุกหนทุกแห่ง
โดยไม่เลือกเพศ วัย ชาติ ชั้นวรรณะอะไรเลย

หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

ขอบคุณข้อมูลจาก : http://dubtook.kvc.ac.th

คติธรรมหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ปล่อยวาง

คติธรรมหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

ปล่อยวาง

สิ่งที่ล่วงไปแล้ว . . . ไม่ควรทำความผูกพัน
เพราะเป็นสิ่งที่ล่วงไปแล้วอย่างแท้จริง
แม้กระทำความผูกพันและหมายมั่นให้สิ่งนั้น
กลับมาเป็นปัจจุบันก็เป็นไปไม่ได้
ผู้ทำความสำคัญมั่นหมายนั้นเป็นทุกข์แต่ผู้เดียว
โดยความไม่สมหวังตลอดไป . . .
อนาคต ที่ยังมาไม่ถึงนั้น เป็นสิ่งไม่ควรไปยึดเหนี่ยวเกี่ยวข้องเช่นกัน
อดีต . . . ปล่อยไว้ตามอดีต
อนาคต . . . ปล่อยไว้ตามกาลของมัน
ปัจจุบันเท่านั้นจะสำเร็จประโยชน์ได้
เพราะอยู่ในฐานะที่ควรทำได้ไม่สุดวิสัย

ขอบคุณข้อมูลจาก : http://dubtook.kvc.ac.th

คติธรรมส่องใจ

คติธรรมส่องใจ

อย่าถือครองแค่คัมภีร์ใบลาน

ท่านทั้งหลายจงอย่าทำตัวเป็นตัวบุ้งตัวหนอนคอยกัดแทะกระดาษแห่งคัมภีร์ใบลานเปล่าๆ โดยไม่สนใจพิจารณาสัจธรรมอันประเสริฐที่มีอยู่กับตัว แต่มัวไปยึดธรรมที่ศึกษามาถ่ายเดียว ซึ่งเป็นสมบัติของพระพุทธเจ้า มาเป็นสมบัติของตน ด้วยความเข้าใจผิดว่าตนเรียนรู้และฉลาดพอตัวแล้ว ทั้งที่กิเลสยังกองเต็มหัวใจยิ่งกว่าภูเขาไฟ มิได้ลดน้อยลงบ้างเลย

จงพากันมีสติคอยระวังตัว อย่าให้เป็นคนประเภทใบลานเปล่าๆ เรียนเปล่าและตายทิ้งเปล่า ไม่มีธรรมอันเป็นสมบัติของตัวอย่างแท้จริงติดตัวบ้างเลย

หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

อ้างอิง : http://www.facebook.com/photo.php?fbid=174562425983795&set=a.122662767840428.18840.100002901171332&type=3

ขอบคุณข้อมูลจาก : http://dubtook.kvc.ac.th

คติธรรมหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ธรรมภายใจจิตใจ

คติธรรมหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

ธรรมภายใจจิตใจ

ธรรมเป็นเครื่องปกครองสมบัติและปกครองใจ
ถ้าขาดธรรมเพียงอย่างเดียว
ความอยากของใจจะพยายามหาทรัพย์
ได้กองเท่าภูเขาก็ยังหาความสุขไม่เจอ
ไม่มีธรรมในใจเพียงอย่างเดียว
จะอยู่ในโลกใด กองสมบัติใด

ก็เป็นเพียงโลกเศษเดน และกองสมบัติเดนเท่านั้น
ไม่มีประโยชน์อะไรแก่จิตใจแม้แต่นิด
ความทุกข์ทรมาน ความอดทน
ทนทานต่อสิ่งกระทบกระทั่งต่างๆ
ไม่มีอะไรจะแข็งแกร่งเท่าใจ
ใจ…จะกลายเป็นของประเสริฐ
ให้เจ้าของได้ชมอย่างภูมิใจต่อเรื่องทั้งหลายทันที

ขอบคุณข้อมูลจาก : http://dubtook.kvc.ac.th

ทาน ศีล ภาวนา พระภูริทัตโต (หลวงปู่มั่น)

ทาน ศีล ภาวนา พระภูริทัตโต (หลวงปู่มั่น)

ทาน ศีล ภาวนา
พระภูริทัตโต (หลวงปู่มั่น)

ทาน

ทานคือเครื่องแสดงน้ำใจของมนุษย์ผู้มีจิตใจสูง ผู้มีเมตตาจิตต่อเพื่อนมนุษย์และสัตว์ผู้อาภัพ ด้วยการให้ทานเสียสละแบ่งปันมากน้อยตามกำลังของวัตถุเครื่องสงเคราะห์ที่มีอยู่ จะเป็นวัตถุทาน ธรรมทาน หรือวิทยาทานแขนงต่างๆก็ตาม ที่ให้เพื่อสงเคราะห์ผู้อื่นโดยมิหวังค่าตอบแทนใดๆ นอกจากกุศลคือความดีที่เกิดจากทานนั้น ซึ่งจะเป็นสิ่งตอบแทนให้เจ้าของทานได้รับอยู่โดยดีเท่านั้น ตลอดอภัยทานที่ควรให้แก่กัน ในเวลาอีกฝ่ายผิดพลาดหรือล่วงเกิน

คนมีทานหรือคนที่เด่นในการให้ทานย่อมเป็นผู้สง่าผ่าเผยและเด่นในปวงชน ผู้เช่นนี้มนุษย์และสัตว์ตลอดเทวดาก็เคารพรัก จะตกทิศใดแดนใดย่อมไม่อดอยากขาดแคลนหากมีสิ่งหรือผู้อุปถัมภ์จนได้ไม่อับจนทนทุกข์
แม้ในแดนมนุษย์เรานี้ก็พอเห็นได้อย่างเต็มตารู้ได้อย่างเต็มใจว่า ผู้มีทานเป็นเครื่องประดับตัวย่อมเป็นคนไม่ล้าสมัยในสังคม และบุคคลทุกชั้นไม่มีใครรังเกียจ
อ่านเพิ่มเติม

การฝึกสมาธิ (หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต)

การฝึกสมาธิ (หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต)

การฝึกสมาธิ
โดย หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

วัดป่าสุทธาวาส
ต.ธาตุเชิงชุม อ.เมือง จ.สกลนคร

การทำสมาธิเบื้องต้น ต้องชำระศีลให้บริสุทธิ์ ทำวัตรสวดมนต์บูชาพระ
เจริญพรหมวิหาร 4 และสมาทานกรรมฐาน เดินสมาธิหรือเดินจงกรม

การเดินสมาธิหรือเดินจงกรมเหมาะสำหรับคนที่มักมีความคิดฟุ้งมาก
พระพุทธองค์กล่าวว่า ประโยชน์ของการเดินจงกรม มีดังนี้คือ

— ทำให้ร่างกายแข็งแรงไม่เจ็บป่วยง่าย
— ทำให้ขาแข็งแรงเดินได้ทนและไกล
— เมื่อทำหลังอาหารทำให้อาหารย่อยง่าย
— สมาธิที่ได้จากการเดินจงกรมจะอยู่ได้นาน
อ่านเพิ่มเติม

คำสอนหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

คำสอนหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

“คนไม่สนใจธรรม ธรรมก็ไม่เข้าถึงใจคน จึงกลายเป็นคนก็สักว่าคน

ธรรมก็สักว่าธรรม ไม่อาจยังประโยชน์ให้สำเร็จได้ แม้คนจะมีจำนวนมาก

และแสดงธรรมให้ฟังทั้งพระไตรปิฏก จึงเป็นเหมือนเทน้ำใส่หลังหมา

มันสลัดออกเกลี้ยงไม่มีเหลือ ธรรมจึงไม่มีความหมายในใจของคน

เหมือนน้ำไม่มีความหมายบนหลังหมา ฉันนั้น”

ขอบคุณข้อมูลจาก : http://www.siamsouth.com/smf/index.php?topic=3722.0

ธรรมะของ หลวงปู่ทวด วัดช้างไห้ จ.ปัตตานี

ธรรมะของ หลวงปู่ทวด วัดช้างไห้ จ.ปัตตานี

หลวงปู่ทวด วัดช้างให้ จ.ปัตตานี
ท่านเป็นพระมหาเถระที่รู้จักกันทั่วประเทศ ในนาม ” หลวงปู่ทวด เหยียบน้ำทะเลจืด ”
คาถาบูชาท่าน คือ นะโม โพธิสัตโต อาคันติมายะ อิติภะคะวา
ชาติกาล 3 มีนาคม พ.ศ. 2125
ชาติภูมิ บ้านเลียบ ต.ดีหลวง อ.สทิงพระ จ.สงขลา
บรรพชา เมื่ออายุได้ 15 ปี
อุปสมบท เมื่ออายุ 20 ปี
มรณภาพ 6 มีนาคม พ.ศ. 2225
สิริรวมอายุได้ 99 ปี

คติธรรมคำสอน ของ หลวงปู่ทวด

ธรรมประจำใจ

พูดมาก เสียมาก พูดน้อย เสียน้อย ไม่พูด ไม่เสีย นิ่งเสีย โพธิสัตว์
อ่านเพิ่มเติม

พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต

พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต

รูป ท่านพระอาจารย์ที่เราเห็นนั้น จะเป็นรูปที่ท่านตั้งใจให้ถ่ายทั้งหมด ถ้าท่านไม่ให้

ก็ไม่มีใครถ่ายติด นี่เป็นเรื่องจริง มีอยู่ครั้งหนึ่ง ขุนศรีปทุมวงศ์

มาอุปัฏฐากท่านพระอาจารย์ เที่ยวไปฟังเทศน์ไปอุปการะด้วยปัจจัย 4 เมื่อท่านฯ อาพาธ

ขุนศรีฯ ก็ส่งหมอไป หมอฉีดยาให้ท่าน 2 เข็ม และให้ยาไว้ฉันด้วย หมอของขุนศรีฯ

พักอยู่ที่นั่นถึง 3 วัน อาการดีขึ้น

ท่านก็บอกว่า “พอแล้วนะ ไม่ต้องมาฉีดอีก อาการหายแล้ว”

พอขึ้นไปครั้งที่สอง

หมอเอาช่างถ่ายภาพไปด้วย กราบนมัสการท่านว่า

“พวกกระผมขออนุญาตถ่ายภาพท่านอาจารย์ไว้เป็นที่เคารพบูชา”
อ่านเพิ่มเติม

หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต

หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต
หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต
วัดป่าสุทธาวาส อ.เมือง จ.สกลนคร ชาติกาเนิดและชีวิตปฐมวัย ท่านกำเนิดในสกุลแก่นแก้ว บิดาชื่อคำด้วง มารดาชิ่อจันทร์ เพียแก่นท้าว เป็นปู่นับถือพุทธศาสนา เกิดวันพฤหัสบดี เดือนยี่ ปีมะแม ตรงกับวันที่ ๒๐ เดือนมกราคม พ.ศ. ๒๔๑๓ ณ บ้านคำบง ตำบลโขงเจียม อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี มีพี่น้องร่วมท้องเดียวกัน ๗ คน ท่านเป็นบุตรคนหัวปี ท่านเป็นคนร่างเล็ก ผิวดำแดง แข็งแรงว่องไว สติปัญญาดีมาแต่กำเนิด ฉลาดเป็นผู้ว่านอนสอนง่าย ได้เรียนอักษรสมัยในสำนักของอา คือ เรียนอักษรไทยน้อย อักษรไทย อักษรธรรม และอักษรขอมอ่านออกเขียนได้ นับว่าท่านเรียนได้รวดเร็ว เพราะ มีความทรงจำดีและขยันหมั่นเพียร ชอบการเล่าเรียน ชีวิตสมณะ การแสวงหาธรรมและปฏิปทา เมื่อท่านอายุได้ ๑๕ ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณรในสำนักบ้านคำบง อ่านเพิ่มเติม

หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต – โอวาทตถาคต

หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต – โอวาทตถาคต

พระพุทธองค์เสด็จมาในสมาธินิมิต แล้วประทานพระโอวาทอนุโมทนาแก่ท่านพระอาจารย์มั่น มีใจความว่า

เราตถาคตทราบว่า เธอพ้นโทษจากอนันตรทุกข์ในที่คุมขังแห่งเรือนจำของวัฏฏทุกข์ จึงได้มาเยี่ยมอนุโมทนา

ที่คุมขังแห่งนี้ใหญ่โตมโหฬารและแน่นหนามั่นคงมาก มีเครื่องยั่วยวนชวนให้เผลอตัวและติดอยู่รอบตัวไม่มีช่องว่าง จึงยากที่จะมีผู้แหวกว่ายออกมาได้ เพราะสัตว์ในโลกจำนวนมากไม่ค่อยมีผู้สนใจเกี่ยวกับทุกข์ที่เป็นอยู่กับตัวตลอดมาว่า เป็นสิ่งที่ทรมานและเสียดแทงร่างกายจิตใจเพียงใด พอจะคิดเสาะแสวงหาทางออกด้วยวิธีต่าง ๆ เหมือนคนเป็นโรคแต่มิได้สนใจกับยา ยาแม้มีมากจึงไม่มีประโยชน์สำหรับคนประเภทนั้น

ธรรมของเราตถาคตก็เช่นเดียวกับยา สัตว์โลกอาภัพเพราะโรคกิเลสตัญหา ภายในใจเบียดเบียนเสียดแทง ทำให้เป็นทุกข์แบบไม่มีจุดหมายว่า จะหายได้เมื่อไร
อ่านเพิ่มเติม

ธรรมะสวัสดี…(หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต)

ธรรมะสวัสดี…(หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต)

คนหิว…อยู่เป็นปกติสุขไม่ได้
…จึงวิ่งหาโน่นหานี่…
เจออะไรก็คว้าติดมือมาโดยไม่สำนึกว่าผิดหรือถูก
ครั้นแล้วสิ่งที่คว้ามาก็’เผา’ตัวเองให้ร้อนยิ่งกว่าไฟ

~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~

คนที่’หลง’จึงต้องแสวงหา
…ถ้าไม่หลงก็ไม่ต้องหา…
จะหาไปให้ลำบากทำไม ?
อะไรๆก็มีอยู่กับตัวเองอย่างสมบูรณ์อยู่แล้ว
จะตื่น’เงา’…ตะครุบ’เงา’ไปทำไม ?
เพราะรู้แล้วว่าเงา…’ไม่ใช่ตัวจริง’
ตัวจริง….คือ ‘สัจจะทั้งสี่’ที่มีอยู่ในกายในใจอย่างสมบูรณ์แล้ว
อ่านเพิ่มเติม

. . . . . . .