การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ โดย ท่านพุทธทาส

การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ โดย ท่านพุทธทาส

หน้าที่ 1 – ขนบธรรมเนียมประเพณี
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
อัตตะมา เทนะ สัมปาเทฐา ติธัมโม สัจจะจัง โสปะโก ยันทิ

ณ บัดนี้จะได้วิสัจนาพระธรรมเทศนา ของพระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อเป็นเครื่องประดับสติปัญญาส่งเสริมศรัทธาความเชื่อ แล้ววิริยะความพากเพียร ของท่านทั้งหลายผู้เป็นพุทธบริษัท ให้เจริญงอกงามก้าวหน้าในทางแห่งพระศาสนา ของสมเด็จพระบรมศาสดา

อันเป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งหลาย กว่าจะยุติลงด้วยเวลา ธรรมเทศนาในวันนี้ เป็นธรรมเทศนาพิเศษ ปรารภเหตุเป็นวันเข้าพรรษา ดังนั้นจะได้กล่าวถึง สิ่งที่พุทธบริษัททั้งหลายจะพึ่งกระทำในใจ เนื่องในวันเช่นวันนี้เพื่อให้สำเร็จประโยชน์แห่งตนแห่งตนตามสำควรแก่สติกำลัง วันเข้าพรรษา ซึ่งวันนี้มีขนบธรรมเนียมประเพณีสำหรับที่จะบำเพ็ญกุศล และกระทำสิ่งซึ้งจะต้องกระทำให้ดีเป็นพิเศษ สำหรับแต่ละบุคคล จนกว่าจะตลอดพรรษา ถึงแม้บรรพชิตในวัดวาอารามก็ได้กระทำวัดปฏิบัตินั้นๆ ให้ดีเป็นพิเศษ ตลอดกาลพรรษาเช่นเดียวกัน
อ่านเพิ่มเติม

การปฎิบัติที่ไม่ผิด โดย ท่านพุทธทาส

การปฎิบัติที่ไม่ผิด โดย ท่านพุทธทาส

หน้าที่ 1 – ธรรมะสวรรณะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
หิเมหิธัมเมหิ สัมนาธัมโม อธัมอะปะหิปะธัม ปะหิปันโน โหนติ โยหิกะสานา โหนติ อากะยานัง ยาติธัมโม ถะกะชัง โสกะโหนติ

ณ บัดนี้จะได้วิปัสสนาธรรมเทศนา ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ที่เป็นเครื่องประดับสติปัญญา ส่งเสริมศรัทธาความเชื่อ และวิริยะความพากเพียร ของท่านทั้งหลายผู้เป็นพุทธบริษัท ให้เจริญก้าวหน้าในทางแห่งพระพุทธศาสนา ของพระสมเด็จพระบรมศาสดา อันเป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งหลาย กว่าจะยุติลงด้วยเวลา
อ่านเพิ่มเติม

ความคลายกำหนัดเป็นสุข โดย ท่านพุทธทาส

ความคลายกำหนัดเป็นสุข โดย ท่านพุทธทาส

หน้าที่ 1 – ความสุข
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

ณ บัดนี้จะได้วิสัชนาพระธรรมเทศนาออกพระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อเป็นเครื่องประดับสติปัญญาส่งเสริมศรัทธาความเชื่อและวิริยะความพากเพียรของท่านทั้งหลาย

ผู้เป็นพุทธบริษัทให้เจริญงอกงามก้าวหน้าตามทางแห่งพระศาสนาของสมเด็จพระบรมศาสดาอันเป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งหลาย กว่าจะยุติลงด้วยเวลา ธรรมะเทศนานี้เป็นเทศนาในการเข้าพรรษาซึ่งเป็น อภิรักจิตสมัยนอกเหนือไปจากวันธรรมดา ในเวลาที่สมควรแก่การแสดงธรรมเทศนาแก่พุทธบริษัทผู้ประชุมกันอยู่ ณ ที่นี้ ซึ่งจะได้แสดงด้วยหัวข้อว่า สิขาวิราคะตา โรเก กามานัง สุขจิตโว ธรรมะเทศนานี้แสดงถึงความสุขอีกชนิดหนึ่งวึ่งมีใจความว่า ความคลายกำหนัดออกเสียได้หรือการก้าวออกเสียได้ ซึ่งกามทั้งหลายในโลกนี้เป็นความสุข เป็นการแสดงถึงความสุขอีกชนิดหนึ่ง ต่อจากที่ได้แสดงแล้วในครั้งที่แล้วมา 2 ครั้ง ในครั้งแรกแสดงเรื่อง ความสุขอันเกิดแก่ นิเวศ หรือความที่ วิเวศ ไม่มีอะไรรบกวนของบุคคลที่เห็นธรรมะแล้ว ย่อมเป็นสุข ครั้งที่ 2 ว่าการสำรวม ในสัตว์มีปาณะทั้งหลาย คือการไม่เบียดเบียน ถือว่าเป็นความสุขในโลก
อ่านเพิ่มเติม

ไตรกรรม : กุศลกรรม อกุศลกรรม อัพยากตกรรม โดย ท่านพุทธทาส

ไตรกรรม : กุศลกรรม อกุศลกรรม อัพยากตกรรม โดย ท่านพุทธทาส

หน้าที่ 1 – ศรัทธาความเชื่อ
ไตรกรรม : กุศลกรรม อกุศลกรรม อัพยากตกรรม
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
หินิธัมมานิ อกุกะลัง อะเวตากะธัง อถิธัมโม อะจัง โสถะโกติ

ณ บัดนี้จะได้วิปัสสนาธรรมเทศนาเพื่อเครื่องดับสติปัญญา ส่งเสริมศรัทธาความเชื่อ และวิริยะ ความพากเพียรของท่านทั้งหลาย และผู้เป็นพุทธบริษัท ให้เจริญงอกงามก้าวหน้าตามทางแห่งพระศาสนา ของสมเด็จพระบรมศาสดา นั่นเป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งหลาย กว่าจะยุติลงด้วยเวลา ธรรมเทศนาประจำพรรษาธรรมะสวรรณะพรรษา ได้แสดงมาโดยลำดับ ว่าด้วยสิ่ง 3 สิ่งเป็นลำดับมา นับตั้งแต่พระรัตนตรัย แก้วทั้ง 3 ไตรสิกขา ไตรสิกขา 3 ไตรโลกุตระธรรม ไตรที่เป็นโลกุตระ 3 ไตรลักษณ์ ลักษณะของสังขารทั้งปวง 2 ไตรลักษณ์แห่งการหมุนแบ่งได้เป็น 3 ตอน ไตรภพหรือไตรภูมิ
อ่านเพิ่มเติม

พระธรรมที่เกี่ยวกับพระพุทธเจ้าและมนุษย์ โดย ท่านพุทธทาส ภิกขุ

พระธรรมที่เกี่ยวกับพระพุทธเจ้าและมนุษย์ โดย ท่านพุทธทาส ภิกขุ

หน้าที่ 1 – พระสิทธัตถะ
ให้สำเร็จประโยชน์เกี่ยวกับพระธรรมขอให้ตั้งใจรวมจิตใจทั้งหมดให้เหลืออยู่เพียงเรื่องเดียวคือเรื่องพระธรรมถ้าจะถามว่าพระธรรมคืออะไร ธรรมะคืออะไรท่านลองคิดดูว่าจะตอบอย่างไร

อาตมาอยากจะแยกตอบเป็น 2 อย่างที่เกี่ยวกับพระพุทธเจ้าพระธรรมคืออย่างไรที่เกี่ยวกับมนุษย์พระธรรมคืออะไรเป็นอย่างไรแยกดูกันคนละที เกี่ยวกับพระพุทะเจ้าก่อนว่าพระธรรมคืออะไรพระธรรมคือสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบๆตรัสรู้พระธรรมคือสิ่งที่ทำให้พระสิทธัตถะกลายเป็นพระพุทธเจ้าค้นพบธรรม ตรัสรู้ธรรม พระธรรมก็ได้ทำให้บุคคลเป็นพระพุทธเจ้า

ในกรณีนี้ของเราก็คือทำให้พระสิทธัตถะเป็นพระพุทธเจ้าขึ้นมาเกิดอุบัติโดยโอกะปาติกะกำเนิดกลายจากพระสิทธัตถะกลายเป็นพระพุทธเจ้านี่ก็อย่างหนึ่งนี่พระธรรมคือสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงแจกให้คนทั้งโลกท่านดู ถ้าฝ่ายพระพุทธเจ้าพระธรรมพระพุทธเจ้าทรงค้นพบ พระธรรมคือสิ่งที่ทำบุคคลนั้นให้เป็นพระพุทธเจ้าขึ้นมา พระธรรมคือสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงแจกทั่วไปหมดพระธรรมคืออย่างนี้ที่เกี่ยวกับมนุษย์พระธรรมเป็นคู่กับชีวิตมนุษย์ มนุษย์ไม่มีพระธรรมต้องตายที่ว่าพระธรรมนี้มี 4 ความหมายพระธรรม คือธรรมชาติ พระธรรมคือกฎของธรรมชาติ พระธรรมคือหน้าที่ตามกฎของธรรมชาติ พระธรรมคือผลตามหน้าที่มนุษย์เราตั้งอยู่ด้วยธรรม 4 ความหมายจึงรอดชีวิตอยู่ได้มันจึงถือว่าพระธรรมเป็นของคู่ชีวิตทำให้ชีวิตรอดอยู่ได้พูดว่าเป็นตัวชีวิตซะเลยท่านจงพยายามเข้าใจธรรม 4ความหมายให้ดีในตัวคนมันมีธรรมะ 4 ความหมายร่างกาย จิตใจที่ประกอบกันขึ้นเป็นอัตภาพทั้งหมดนี้เป็นธรรมชาติ ดิน น้ำ ลม ไฟอากาศ วิญญาณอะไรก็แล้วแต่เป็นธรรมชาตินี่ในธรรมชาติแต่ละอย่างมันก็มีกฎของธรรมชาติบังคับอยู่ขุมขน ฟันหนังจึงเปลี่ยนแปลงทำหน้าที่ของมัน
อ่านเพิ่มเติม

ไตรทวาร : กายทวาร – วจีทวาร – มโนทวาร โดย ท่านพุทธทาส

ไตรทวาร : กายทวาร – วจีทวาร – มโนทวาร โดย ท่านพุทธทาส

หน้าที่ 1 – วิริยะความพากเพียร
ไตรทวาร : กายทวาร – วจีทวาร – มโนทวาร
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
สัมเพ สังขารา อนิจจา
สัมเพ สังขารา ทุกขา
สัมเพ ธัมมา อะนัตตา
ติยะทา ปัญญายะ ปัสสะติ
อะถะ นิพพินทะติทุกเข
เอสะ มัคโค วิสุทธิยาติ
ธัมโม สัจจะจัง เต ชะ โนติ

ณ บัดนี้จะได้วิสัจนา พระธรรมเทศนา เพื่อเป็นเครื่องประดับสติปัญญาส่งเสริมศรัทธาความเชื่อ และวิริยะความพากเพียร ของท่านทั้งหลายผู้เป็นพุทธบริษัท ให้เจริญงอกงามก้าวหน้า
อ่านเพิ่มเติม

การบำรุงพระศาสนา โดย ท่านพุทธทาส

การบำรุงพระศาสนา โดย ท่านพุทธทาส

หน้าที่ 1 – การบำรุงพระศาสนา
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
ณ บัดนี้จะได้วิสัชนาพระธรรมเทศนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าเพื่อเป็นเครื่องประดับสติปัญญาส่งเสริมศรัทธาความเชื่อและวิริยะความพากเพียรของท่านทั้งหลายผู้เป็นพุทธบริษัทให้เจริญงอกงามก้าวหน้าในทางแห่งพุทธศาสนาของสมเด็จพระบรมศาสดา
อ่านเพิ่มเติม

การทำบุญสามแบบ โดย ท่านพุทธทาส

การทำบุญสามแบบ โดย ท่านพุทธทาส

หน้าที่ 1 – พุทธบริษัท
การทำบุญสามแบบ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
สัมเพ สังขารา อนิจจา
สัมเพ สังขารา ทุกขา
สัมเพ ธัมมา อะนัตตา
ติยะทา ปัญญายะ ปัสสะติ
อะถะ นิพพินทะติทุกเข
เอสะ มัคโค วิสุทธิยาติ
ธัมโม สัจจะจัง เต ชะ โนติ
เอตัง ปันยัง เนเทปนาโม ปหิรา ปัญญานิ สุขามหานิ อะถะ โลกาวิฆัง ปาฌเห สันติเบกโข ธัมโม โสคชัง โหนติ.

ณ บัดนี้จะได้วิปัสนาธรรมเทศนา ในบุญยสถาเพื่อเป็นเครื่องประดับสติปัญญา ส่งเสริมศรัทธา ความเชื่อ และวิริยะความพากเพียร ของท่านทั้งหลาย
อ่านเพิ่มเติม

การหาความสุขจากสิ่งที่เป็นทุกข์ โดย ท่านพุทธทาส

การหาความสุขจากสิ่งที่เป็นทุกข์ โดย ท่านพุทธทาส

หน้าที่ 1 – ธรรมเทศนา
อันเป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งหลาย กว่าจะยุติลงด้วยเวลา ธรรมเทศนา เนื่องในวันเข้าพรรษานี้นั้น เป็นธรรมเทศนาที่มุ่งหมายจะให้ไม่เกิดความไม่ประมาท แก่ท่านทั้งหลายผู้เป็นพุทธบริษัท หลังจากที่ได้ทำความเข้าใจในเรื่องนี้มาตามลำดับแล้วแต่วันก่อนๆ ในวันนี้ก็ยังเป็นธรรมเทศนาที่มีความมุ่งหมายอย่างเดียวกัน คือว่าตลอดการจำพรรษานี้ เป็นเวลาที่พุทธบริษัท ตั้งใจที่จะทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งซึ่งเป็นวัดปฏิบัติของตน ให้ดีเป็นพิเศษ ให้สม่ำเสมอเป็นพิเศษ สมกับที่เป็นวันเข้าพรรษา
อ่านเพิ่มเติม

ความรักผู้อื่น โดย ท่าน พุทธทาส

ความรักผู้อื่น โดย ท่าน พุทธทาส

หน้าที่ 1 – ความรักผู้อื่น
หมายความว่าอาตมาจะต้องพูดว่าท่านทั้งหลายพากันมองข้ามสิ่งที่เรียกว่า ความรักผู้อื่น ระหว่างนี้เราก็พูดกันแต่ว่าความรักผู้อื่น เพราะว่าเป็นหัวใจของศาสนาทุก ๆ ศาสนา จึงอยากจะให้นำเอามาศึกษาพินิจพิจารณาใคร่ครวญโดยละเอียดและบรรยายไว้ในทุกชุดของการบรรยาย การบรรยายชุดนี้คือชุดที่เรียกว่าสิ่งสำคัญที่พากันมองข้าม ก็จะรวมเอาเรื่องความรักผู้อื่นเอาไว้ในชุดนี้ด้วย ขอให้ทำความเข้าใจกันให้ถึงที่สุดเสียสักที เรามองข้ามสิ่งสำคัญกันมาหลายเรื่องแล้ว นับตั้งแต่มองข้ามเรื่องโลกมนุษย์กำลังจะหมดความเป็นโลกมนุษย์ โลกพระศรีอาสน์อยู่แค่ปลายจมูกนี้เราก็มองข้าม การทำภาวนาเป็นสิ่งที่มีคุณค่าสูงสุด เราก็มองข้าม ชีวิตพื้นฐานคือจิตประภัสสรคือไม่มีความทุกข์เลยนี้ก็เรามองข้าม
อ่านเพิ่มเติม

แม่ คือ ผู้สร้างโลก โดย ท่าน พุทธทาส ภิกขุ

แม่ คือ ผู้สร้างโลก โดย ท่าน พุทธทาส ภิกขุ

หน้าที่ 1 – ธรรมชาติธรรมชาติแท้ ๆ
ดังนั้นใครหัวหงอกแล้วก็ต้องรู้สึกว่าเราก็มีแม่ ที่จะต้องประพฤติปฏิบัติให้ถูกต้องต่อผู้ที่เรียกกันว่าแม่และถ้ายังไม่ได้ปฏิบัติ มันก็เป็นคนบกพร่อง นั่นก็คือใช้ไม่ได้ยังจะต้องปฏิบัติเพื่อหน้าที่ของตัวเอง และยังต้องปฏิบัติเพื่อเป็นตัวอย่างให้เด็กๆ แม้เป็นเด็กไม่นุ่มผ้า คนแก่ๆก็ปฏิบัติให้ดูมันยังไม่พ้นหน้าที่ที่ต้องจะปฏิบัติต่อแม่ และไม่พ้นหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติ อย่างกับเป็นแม่เอง มันทั้งขึ้นทั้งร่องเราจะต้องปฏิบัติต่อมารดาของเรา แม้แก่เฒ่าชราแล้ว เพียงแต่เราต้องปฏิบัติต่อแม่ เดี๋ยวนี้เรามีอายุเป็นมารดา ดังนั้นการพูดกันถึงเรื่องแม่ตามโอกาสนี่นับว่าจึงเรียกว่ามีเหตุผล ดังนั้นอาตมาจึงขอถือโอกาสนี้พูดเรื่องแม่ แทนที่จะพูดเรื่องหลักธรรมะโดยทั่วไป แต่ถึงอย่างนั้นก็เถอะ ยังจะพูดเรื่องแม่ชั้นปรมัตอยู่นั้นเองเราจะพูดถึงผู้ที่เรียกว่าแม่ในความหมายที่ลึกขั้นที่เป็นปรมัต ขอให้ฟังให้ดีให้สำเร็จประโยชน์ทั้งผู้ที่มีแม่และผู้ที่กำลังเป็นแม่ และผู้ที่เป็นแม่แก่เด็กๆ เมื่อพูดโดยปรมัติ คำว่าแม่นั้นก็มีความหมายหลายอย่าง ซึ่งเขาไม่มองกัน อย่างน้อยที่สุดเราก็จะมองกันในแง่ที่ว่า แม่นั่นแหละคือผู้ที่สร้างโลก เขาจะพูดว่าพระเจ้าเป็นผู้สร้างโลกก็ตามใจเขา เดี๋ยวนี้เรามองว่า ผู้ที่เป็นแม่นั่นแหละเป็นผู้ที่สร้างโลก นั่นคือแม่สร้างลูก สร้างเด็กขึ้นมาในลักษณะอย่างไร คนเหล่านี้ก็ประกอบกันขึ้นเป็นโลก นั้นแหละมันดีมันชั่วอย่างไร
อ่านเพิ่มเติม

อินเดีย-ไทย ใกล้ชิดกันกว่าที่คุณคิด (ตอนที่ 2)

อินเดีย-ไทย ใกล้ชิดกันกว่าที่คุณคิด (ตอนที่ 2)

ตามที่ได้เกริ่นไว้ในตอนที่แล้วว่า ไทยได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากอินเดียมาไม่น้อย ไม่ทางตรงก็ทางอ้อม และถูกนำมาผสมกลมกลืนกับวิถีชีวิต ประเพณี ความเชื่อ โดยที่คนไทยอาจนึกไม่ถึง

ตอนที่แล้ว ยกตัวอย่างเรื่องภาษาซึ่งเป็นเรื่องที่เห็นชัดที่สุด แม้แต่คำว่า “ภาษา” (อินเดียออกเสียงว่า บาห์ซ่า) ก็เป็นคำสันสกฤต ที่คนอินเดียยังใช้อยู่ทุกวันนี้

พุทธศาสนาเป็นมรดกล้ำค่าอีกเรื่องที่ไทยรับมาจากอินเดียเต็มๆ แผ่นดินถิ่นพุทธภูมิ ต้นกำเนิดของพุทธศาสนา ศาสนาประจำชาติของไทย ก็คืออินเดีย พระเจ้าอโศกมหาราช กษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ในราชวงศ์โมริยะ ทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภกที่ทำนุบำรุงพุทธศาสนาให้รุ่งเรืองสูงสุดในอินเดีย และต่อมาได้ส่งสมณทูตไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาในดินแดนสุวรรณภูมิ

ท่านพุทธทาส ภิกขุ เคยเทศน์เรื่อง พระคุณที่อินเดียมีต่อไทย ในวันอาสาฬหบูชา เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2533 กล่าวถึงอานิสงส์ที่ไทยได้รับพุทธศาสนามาจากอินเดีย ซึ่งเป็นพื้นฐานของวัฒนธรรมและประเพณีอีกมากมายของไทย ท่านกล่าวตอนหนึ่งว่า วัฒนธรรมต่างๆ นี้ ได้กลายเป็นชีวิตเป็นเลือดเนื้อของชาวไทยไปเสียแล้ว…เรามีเลือดมีเนื้อเป็นอินเดีย มีศาสนาฮินดูเป็นแม่ มีศาสนาพุทธเป็นพ่อ อยู่โดยไม่รู้สึกตัว
อ่านเพิ่มเติม

พระธรรมโกศาจารย์ (ท่านพุทธทาสภิกขุ)

พระธรรมโกศาจารย์ (ท่านพุทธทาสภิกขุ)
วัดสวนโมกขพลาราม อ.ไชยา จ.สุราษฏร์ธานี
(๒๔๔๙ -๒๕๓๖)

พระพุทธศาสนา เป็นศาสนาแห่งบรมธรรม สำเร็จได้ด้วยใบไม้กำมือเดียว ไม่ต้องเรียนจนจบพระไตรปิฎก หรือไม่ต้องเรียน กันมากมาย ชั่วใบไม้กำมือเดียวว่า ทุกข์เกิดขึ้นอย่างไร ดับทุกข์อย่างไร นี่ก็…กำมือเดียว

พระพุทธองค์ท่านมีการตรัสทั้งภาษาคนและภาษาธรรม ต้องฟังให้ดี เช่น ตรัสโดยภาษาคนว่า “ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน” แต่ตรัสโดย ภาษาธรรมว่า “ตัวตนของตนนั้นไม่มี” ดังนี้ ถ้าฟังไม่ดีจะไม่รู้เรื่องและเห็นว่าเป็นคำพูดที่ขัดกัน ถ้ารู้จักฟังโดยหลักภาษาคนภาษาธรรมแล้วจะไม่ขัดกันเลย

พระพุทธองค์ตรัสว่า “แต่ก่อนก็ดี บัดนี้ก็ดี เราบัญญัติแต่เรื่องทุกข์กับความดับไม่เหลือแห่งทุกข์เท่านั้น”
ดังนั้น พวกเราอย่าต้องเสียเวลาในการศึกษาการถามการเถียงกันด้วยเรื่องอื่นที่มิใช่สองเรื่องนี้กันอีกเลย

คนมีใจเดินต่ำ มนุษย์มีใจเดินขึ้นสูง แล้วจะไม่ต่างกันยิ่งกว่าฟ้าและดินซึ่งหยุดอยู่เฉยๆ ได้อย่างไร
อ่านเพิ่มเติม

ท่านพุทธทาส

ท่านพุทธทาส

อานาปานสติ
จากหนังสือ “อานาปานสติ สมบูรณ์แบบ” ของ พุทธทาสภิกขุ
พิมพ์ครั้งที่ ๗ พ.ศ.๒๕๓๕ ธรรมสภาจัดพิมพ์เผยแพร่
PONG1930 ได้บันทึกไว้เมื่อ ๒๕ มกราคม ๒๕๓๘
สติปัฏฐาน ๔ (ขั้นตอนฝึกสติ อย่างละเอียด)
(กาย-เวทนา-จิต-ธรรม)
อานาปานสติ ๔ หมวด ๑๖ ลำดับขั้นตอน

หมวดที่ ๑ กายานุปัสสนา
ขั้นที่ ๑ หายใจยาว
ขั้นที่ ๒ หายใจสั้น
ขั้นที่ ๓ รู้พร้อม/เห็นความสัมพันธ์ของกายทั้งปวง (กายเนื้อ/กายลม)
ขั้นที่ ๔ ทำกายสังขารให้สงบระงับ มีเคล็ด (เทคนิค) ๔ ขั้นตอน :-
– วิ่งตาม
– เฝ้าดู
– สร้างมโนภาพ
– บังคับมโนภาพ
* ต้องมี “วสี” คือ ฝึกให้เกิดความชำนาญ
อ่านเพิ่มเติม

หลวงพ่อพุทธทาสภิกขุ

หลวงพ่อพุทธทาสภิกขุ

พระธรรมโกษาจารย์ (เงื่อม อินทปัญโญ) หรือรู้จักในนาม พุทธทาสภิกขุ (27 พฤษภาคม พ.ศ. 2449 – 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2536) เป็นชาวอำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2449 เริ่มบวชเรียนเมื่ออายุได้ 20 ปี ที่วัดบ้านเกิด จากนั้นได้เข้ามาศึกษาพระธรรมวินัยต่อที่กรุงเทพมหานคร จนสอบได้เปรียญธรรม 3 ประโยค แต่แล้วท่านพุทธทาสภิกขุก็พบว่าสังคมพระพุทธศาสนาแบบที่เป็นอยู่ในขณะนั้นแปดเปื้อนเบือนบิดไปมาก และไม่อาจทำให้เข้าถึงหัวใจของพระพุทธศาสนาได้เลย ท่านจึงตัดสินใจหันหลังกลับมาปฏิบัติธรรมที่อำเภอไชยา ซึ่งเป็นภูมิลำเนาเดิมของท่านอีกครั้ง พร้อมปวารณาตนเองเป็น พุทธทาส เนื่องจากต้องการถวายตัวรับใช้พระพุทธศาสนาให้ถึงที่สุด ตลอดเวลาที่ดำรงสมณเพศ ท่านพุทธทาสภิกขุตั้งใจศึกษาพระปริยัติอย่างแน่วแน่ พร้อมตั้งมั่นปฏิบัติธรรมอย่างเคร่งครัด และวัตรเหล่านี้เองที่ทำให้ท่านพุทธทาสภิกขุเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยกิจทั้งด้านคันถธุระและวิปัสสนาธุระอย่างยากยิ่งที่จะหาพระภิกษุรูปใดเสมอเหมือน อ่านเพิ่มเติม

อะไร ๆ ในชีวิตสักแต่ว่า เป็นเรื่องของจิตสิ่งเดียว(พุทธทาส)

อะไร ๆ ในชีวิตสักแต่ว่า เป็นเรื่องของจิตสิ่งเดียว(พุทธทาส)

อะไร ๆ ในชีวิต สักแต่ว่า เป็นเรื่องของจิตสิ่งเดียว.

๕ มีนาคม ๒๕๒๖

ท่านสาธุชน ผู้มีความสนใจในธรรม ทั้งหลาย,

การบรรยายประจำวันเสาร์ แห่งภาคมาฆบูชา เป็นครั้งที่ ๙ ในวันนี้ อาตมาก็ยังคงกล่าวในชุดที่เรียกว่า ธรรมะเล่มน้อยเล่มเดียวจบ ต่อไปตามเดิม. แต่ขอให้ท่านสังเกตสักหน่อยว่า เล่มเดียวจบนั้น คือมันจบในการบรรยายครั้งหนึ่ง ๆ ตั้งแต่ต้นจนปลาย, จบเรื่องโดยสรุปทั้งหมดของสิ่งที่เรียกว่า ธรรมะ.

ในวันนี้จะกล่าวโดยหัวข้อย่อยว่า อะไร ๆ ในชีวิตสักแต่ว่าเป็นเรื่องของจิตสิ่งเดียว. นี่ขอให้จับใจความให้ได้ ว่าทุกอย่างทุกสิ่ง ทั้งหมดของเรื่องชีวิตหรือเกี่ยวกับชีวิต ทั้งหมดทั้งสิ้น เป็นเรื่องของสิ่งที่เรียกว่า จิต เพียงสิ่งเดียว. ฟังแล้วมันก็ไม่น่าเชื่อ; แต่ขอให้ฟังให้ดีจะเข้าใจ และเห็นด้วย; แต่มันยากที่จะมองเห็น คือมันยากที่ท่านผู้ฟังจะสรุปได้เองว่า ทุกเรื่องตั้งแต่ต้นจนปลาย, ตั้งแต่ต้นจนนิพพานนั้น เป็นเรื่องของสิ่งที่เรียกว่าจิตเพียงเรื่องเดียวสิ่งเดียว, ไม่ต้องมีคำว่าตัวตน อะไรที่ไหน.

เป็นห่วงอยู่ว่า มันจะเกิดอาการที่เรียกว่า เป่าปี่ให้เต่าฟังขึ้นมา ถ้าฟังไม่ถูกในการบรรยายเรื่องนี้; อาตมาก็กลายเป็นคนเป่าปี่ให้เต่าฟัง, แล้วผู้ฟังทั้งหลายก็กลายเป็นเต่าไปทั้งหมด, แล้วมันจะเสียหายสักเท่าไร. ขอให้คิดดู ว่ามันจะเสียหายสักเท่าไรในการจัดการทำ. มันจะต้องร่วมมือกันให้ดี คือท่านทั้งหลายฟังถูกรู้เรื่องแล้วมันก็พ้นจากอาการที่เรียกว่า เป่าปี่ให้เต่าฟังหรือให้แรดฟัง แล้วแต่จะใช้ คำไหนมันก็เหมือน ๆ กัน.
อ่านเพิ่มเติม

แก่นพุทธศาสน์

แก่นพุทธศาสน์
เรื่อง
ความว่าง (ตอนที่ ๑)
พระราชชัยกวี (ภิกขุ พุทธทาส อินทปัญโญ)

ธรรมกถาในโอกาสพิเศษ ณ ชุมนุมศึกษาพุทธธรรม (ศิริราช)
ในอุปการะของคณะแพทย์ศาสตร์และศิริราชพยาบาล
มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์

๕ มกราคม ๒๕๐๕

ท่านสาธุชนผู้สนใจในธรรมทั้งหลาย

การบรรยายในวันนี้จะได้ว่าด้วยเรื่องของ “ความว่าง” ทั้งนี้เป็นความต้องการของท่านผู้อำนวยการการอบรม
เนื่องจากการบรรยายครั้งที่แล้วมาได้กล่าวถึงความว่างในฐานะที่เป็นเรื่องสำคัญเรื่องหนึ่ง แต่โอกาสไม่อำนวยให้กล่าวถึงเรื่องนั้น แต่เรื่องเดียวโดยเฉพาะ เพื่อความเข้าใจที่ทั่วถึง เพราะฉะนั้น เรื่องความว่างจึงคลุมเครืออยู่บางประการ จึงได้มีการบรรยายเฉพาะเรื่อง ความว่างอย่างเดียวในวันนี้
ท่านทั้งหลายควรจะทราบว่า ความว่าง นั้น เป็นเรื่องที่เข้าใจยากที่สุด ในบรรดาเรื่องของพุทธศาสนา ทั้งนี้เพราะว่า เป็นเรื่องหัวใจอย่างยิ่งของพุทธศาสนา นั่นเอง
สิ่งที่เรียกกันว่าหัวใจ ก็พอจะมองเห็นหรือเข้าใจกันได้ทุกคนว่า หมายถึงสิ่งที่ลึก ที่ละเอียด สุขุม ประณีต ไม่เป็นวิสัยแห่งการเดา หรือความตรึกไปตามความเคยชิน หรือตามกิริยาอาการของคน ธรรมดา แต่จะเข้าใจได้ก็ด้วยการตั้งอกตั้งใจศึกษา คำว่า “ศึกษา” นี้ มีความหมายอย่างยิ่งอยู่ตรงการสังเกตสนใจ สังเกตพิจารณาอยู่เสมอ ทุกคราวที่มีเรื่องอะไรเกิดขึ้นกับใจ ที่เป็นความทุกข์หรือเป็นความสุขก็ตาม ผู้ที่มีความคุ้นเคยกับการสังเกตในเรื่องทางจิตใจเท่านั้นที่จะเข้าใจธรรมะได้ดี ผู้ที่เพียงแต่อ่านๆ ไม่สามารถจะเข้าใจธรรมะได้ บางทียิ่งไปกว่านั้นก็คือจะเฝือ แต่ถ้าเป็นผู้ที่พยายามสังเกตเรื่องเกี่ยวกับจิตใจของตัวเอง โดยเอาเรื่องจริงในใจของตัวเองเป็นเกณฑ์อยู่เสมอแล้ว ย่อมไม่มีทางที่จะฟั่นเฝือ จะเข้าใจสิ่งที่เรียกว่าความทุกข์ และความดับทุกข์ได้ดี และในที่สุดก็จะเข้าใจธรรมะ คือจะไม่อ่านหนังสือก็จะรู้เรื่องดี ลักษณะอย่างนี้เราเรียกว่ามีความเจนจัดทางวิญญาณ มาก คนเราตั้งแต่เกิดมาจนกว่าจะตาย ย่อมเต็มไปด้วยสิ่งๆ นี้ คือการที่ใจของเราได้สัมผัสกันเข้ากับสิ่งแวดล้อมแล้วเกิดผลเป็นอะไรขึ้นมา คราวไหนเป็นอย่างไร และคราวไหนเป็นอย่างไร เพราะว่าเรื่องที่เป็นไปเองนั้น ย่อมมีได้ทั้งฝ่ายที่เป็นทุกข์ และทั้งฝ่ายที่ไม่เป็นทุกข์ คือทำให้ฉลาดขึ้น และมีจิตใจเป็นปกติ เข้มแข็งขึ้น เพราะฉะนั้น ถ้าหากว่าเราคอยสังเกตว่า ความคิดเดินไปในรูปใด มันก่อให้เกิดความว่างจากความทุกข์ อย่างนี้แล้วจะมีความรู้ดีที่สุด และมีความเคยชินในการที่จะรู้สึกหรือเข้าใจ หรือเข้าถึงความว่างจากทุกข์นั้นได้มากขึ้น อ่านเพิ่มเติม

บทกลอนคลาสสิคของท่านพุทธทาส “เขามีส่วน เลวบ้าง ช่างหัวเขา”

บทกลอนคลาสสิคของท่านพุทธทาส “เขามีส่วน เลวบ้าง ช่างหัวเขา”

ชอบกลอนบทคลาสสิคของท่านพุทธทาสบทนี้มากคะ ทุกคนคงเคยได้ยินกันอยู่แล้ว
แต่ขออนุญาตส่งมาย้ำกันลืมอีกครั้งหนึ่งพร้อมบทความจากหนังสือพิมพ์ถึงท่านพุทธทาสนะคะ
@^_^@

เขามีส่วน เลวบ้าง ช่างหัวเขา
จงเลือกเอา ส่วนที่ดี เขามีอยู่
เป็นประโยชน์ โลกบ้าง ยังน่าดู
ส่วนที่ชั่ว อย่าไปรู้ ของเขาเลย

จะหาคน มีดี โดยส่วนเดียว
อย่ามัวเที่ยว ค้นหา สหายเอ๋ย
เหมือนเที่ยวหา หนวดเต่า ตายเปล่าเลย
ฝึกให้เคย มองแต่ดี มีคุณจริง ฯ

พุทธทาสภิกขุ.

ท่านพุทธทาส : ปราชญ์แห่งวงการสงฆ์
โดย เสถียรพงษ์ วรรณปก

เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ.2548 องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ได้ประกาศยกย่อง “ท่านพุทธทาส” เป็นบุคคลสำคัญของโลก เพื่อเฉลิมฉลองวาระครบ 100 ปี ชาตกาลในวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ.2549 สื่อมวลชนทุกแขนงได้แพร่ข่าวนี้ไปทั่วโลก ยังความยินดีปรีดาแก่สานุศิษย์และผู้ใคร่ธรรมทั้งไทยและประเทศโดยถ้วนหน้า
อ่านเพิ่มเติม

ทำไมเราจึงไม่ควรกินเนื้อสัตว์? โดยท่านพุทธทาสภิกขุ

ทำไมเราจึงไม่ควรกินเนื้อสัตว์? โดยท่านพุทธทาสภิกขุ

ข้อคิดพิจารณาธรรม
ท่านพุทธทาสภิกขุแห่งสวนโมกข์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี

ทำไมเราจึงไม่ควรกินเนื้อสัตว์?

เพราะเป็นการปฏิบัติเพื่อยึดเอาประโยชน์ทั้งฝ่ายโลกและฝ่ายธรรม การไม่กินเนื้อสัตว์เป็นทางก้าวหน้าของสัมมาปฏิบัติอย่างหนึ่ง ซึ่งได้ผลมาก โดยลงทุนทางวัตถุน้อยที่สุดแต่ให้ผลมากทางใจ

ประโยชน์ทางฝ่ายธรรม
ข้อที่ ๑ เป็นการเลี้ยงง่ายยิ่งขึ้น
เพราะพวกพืชผัก เป็นของหาง่ายในหมู่คนยากจนเข็ญใจ ซึ่งมีการปรุงอาหารด้วยผักเป็นพื้น นักกินผักย่อมไม่มีเวลาไปกระวนกระวายเพราะอาหารไม่ค่อยจะถูกปากถูกลิ้นนัก เลย ในขณะที่นักกินเนื้อมักต้องเลียบๆ เคียงๆ เพื่อให้ได้มาซึ่งภัตตาหารเนื้อบ่อยๆ ญาติโยมเสียไม่ได้ในท่าทีก็พยายามหามาถวายศรัทธาญาติโยมที่มีใจเป็นกลาง เคยปรารภกับข้าพเจ้าหลายต่อหลายครั้งว่า เขาสามารถจะเลี้ยงพระได้ถึง ๕๐ รูป โดยไม่รู้สึกลำบากอะไรเลย หากเป็นอาหารที่ไม่เกี่ยวกับเนื้อกับปลา แต่ที่ผ่านมาต้องฝืนใจทำเป็นไม่รู้ไม่ชี้อย่างมากๆ ไม่ใช่ว่าจะคิดว่า เนื้อมีราคาแพงกว่าผักแต่เป็นเพราะรู้ว่าสัตว์ถูกฆ่าตาย เพื่อการทำบุญเลี้ยงพระของเรามีอีกหลายคน ที่ทีแรกค้านว่าการทำอาหารมังสวิรัติวุ่นวายลำบาก แต่เมื่อได้ทดลองทำไป ๒-๓ ครั้ง กลับสารภาพว่าเป็นการง่ายเสียยิ่งกว่าง่าย เพราะบางคราวไม่ต้องไปติดไฟเลยก็มี ตัณหาของนักกินผักกับกินเนื้อมีความแตกต่างกันอย่างไร จะกล่าวในข้อหลังเฉพาะข้อนี้ขอจงทราบไว้ว่า อ่านเพิ่มเติม

อินเดียน้อย..? ธรรมเทศนาพุทธทาสภิกขุ..

อินเดียน้อย..? ธรรมเทศนาพุทธทาสภิกขุ..

เปิดเน็ตไปเรื่อยๆจนได้รู้จักชื่อหนังสือเล่มหนึ่งคือ “อินเดียน้อย” ก็สงสัยมากครับว่าอินเดียก็มีใหญ่มีน้อยด้วยเหรอ..?
ก็เลยอยากจะซื้อหนังสือเล่มนี้มาอ่านแต่หาซื้อไม่ได้ เพราะหนังสือเล่มนี้พิมพ์ตั้งแต่ปี 2539 ในวันล้ออายุท่านอาจารย์พุทธทาสภิกขุ..
ผมก็เลยพยายามสืบเสาะหาซื้อ “หนังสืออินเดียน้อย” มือสองและก็สมใจได้มา 1 เล่ม หนังสือเล่มนี้หนามากๆมีจำนวนหน้าถึง 724 หน้าเลยครับ..

เมื่อเปิดอ่าน “ภาคบทนำ” ในหน้าที่ 7 หัวข้อ “พระคุณของอินเดียที่มีต่อไทย”..
ซึ่งเป็นพระธรรมเทศนา ของพระธรรมโกศาจารย์ พุทธทาสภิกขุ ณ ลานหินโค้ง สวนโมกขพลาราม..
เมื่อวันอาสาฬหบูชา ที่ 8 กรกฏาคม 2533 นั้น และเมื่อผมอ่านคำแสดงธรรมเทศนาเรื่องพระคุณของอินเดียจบ จึงได้รู้ว่า..

..อินเดียน้อย..หมายถึงประเทศไทยนั่นเอง…

เพื่อนๆอาจจะสงสัยเช่นกันว่าทำไม..? เพราะเราเคยได้ยินแต่ชนเผ่าไทยใหญ่-ไทยน้อยในสมัยเรียนวิชาประวัติศาสตร์เท่านั้น..
เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น…ในธรรมเทศนานี้มีคำตอบ และเป็นตอบคำที่แสดงให้เห็นถึงประวัติความเป็นมาของชาติไทยเราด้วย..
ไม่ว่าจะเป็นเรื่องปัจจัย 4 เรื่องการทำกิน..ศิลปะวัฒนธรรมต่างๆ..เรื่องการศึกษาและศาสนาที่ยึดเหนี่ยวจิตใจพวกเราอยู่ทุกวันนี้..
ผมเห็นว่าตรงนี้สำคัญมากอยากจะให้ธรรมเทศนานี้แพร่หลาย ก็ขออนุญาติคัดลอกข้อความบางส่วนในหนังสือเล่มนี้มาฝากคนไทยทุกคนด้วยนะครับ..
อ่านเพิ่มเติม

. . . . . . .