ธรรมบรรยาย วางแผนชีวิต เพื่อพิชิตความทุกข์

ธรรมบรรยาย วางแผนชีวิต เพื่อพิชิตความทุกข์

เป็นธรรมะที่บรรยายโดยพระเทพสิงหบุราจารย์ (หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม) ในโอกาสต่างๆ ที่ผ่านมาในอดีต

วางแผน เรื่องทิศหก (เบื้องหน้า-เบื้องขวา-เบื้องซ้าย-เบื้องหลัง-เบื้องบน-เบื้องล่าง)
วางแผน เรื่องการแบ่งปันทรัพย์โดยสถาน ๕ (ใช้หนี้เก่า-ให้เขายืม-ใส่ปากงูเห่า จรเข้-ทิ้งเหว-ฝังดิน)
วางแผน เรื่องการเรียนรู้ ๕ ประการ (รู้หนังสือ-รู้คน-รู้โลก-รู้ร่างกายสังขาร-รู้วิญญาณ กิเลส)
วางแผน เรื่องภาระ ๕ ของชีวิต (ภาระคือพ่อแม่-ครูอาจารย์-ภาระสามีภรรยาภาระบุตรธิดา-ภาระชาติศาสนา-ภาระกิเลส-ภาระคือผู้มีพระคุณทั้งหลาย)
วางแผน ไม่ประมาทในกาลทั้ง ๓ (วัยเด็ก-วัยหนุ่มสาว-วัยแก่เฒ่าชรา-อดีตปัจจุบัน-อนาคต-มืดมามืดไป-มืดมาสว่างไป-สว่างมามืดไป-สว่างมาสว่างไป)
วางแผน เรื่องเพิ่มสาระ ๕ ให้ชีวิต (ศีลสาระ-สมาธิสาระ-ปัญญาสาระ-วิมุตติสาระ-วิมุติญาณทัศนะสาระ)
วางแผน เรื่องเรือน ๓ น้ำ ๔ โอวาท ๑๐ ของนางวิสาขา (สำหรับผู้หญิง) อ่านเพิ่มเติม

ธรรมบรรยาย วันมาฆบูชา

ธรรมบรรยาย วันมาฆบูชา
รวบรวมโดย พระราชสุทธิญาณมงคล

เป็นธรรมะที่บรรยายโดยพระเทพสิงหบุราจารย์ (หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม) ในโอกาสต่างๆ ที่ผ่านมาในอดีต

วันมาฆปุรณมีเพ็ญเดือน ๓ เป็นมงคลสมัยที่นิยมว่าตรงกับวันจาตุรงศิกสาวกสันนิบาตประชุมตั้งหลักสอนพระพุทธศาสนาและปรงพระชนมายุสังขารแห่งพระบรมศาสดา พระบูรณาจารย์ หากกำหนดไว้ดังนี้
จาตุรงศิกสาวกสันนิบาตนั้น คือประชุมสาวกสงฆ์ พร้อมด้วยองค์ ๔ ภิกษุซึ่งได้มาประชุมทั้งปวงล้วนเป็นเอหิภิกษุทั้งสิ้นนับเป็นองค์ ๑ ท่านเหล่านั้นล้วนเป็นอรหันต์ อยู่จบพรหมจรรย์ เสร็จกิจในปหานและภาวนาแล้วนับเป็นองค์ที่ ๒ ท่านเหล่านั้นได้นัดแนะเรียกร้องกัน มายังที่ประชุมโดยตนเองเป็นองค์ที่ ๓ วันประชุมนั้นเป็นดิถีเพ็ญที่ครบ ๓ เดือน แห่งเหมันต์ฤดูเป็นองค์ครบ ๔ การประชุมเช่นนี้แห่งพระพุทธเจ้าบางองค์มี ๓ วาระ บางองค์มี ๒ วาระ บางองค์มีวาระ ๑ เท่านั้น และนับภิกษุที่มาประชุมมากบ้างน้อยบ้างไม่มีนิยม แต่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเราทั้งหลาย มีสาวกสันนิบาตมหัศจรรย์เช่นนี้ วาระเดียวนิยม ภิกษุขีณาสพ มีกึ่งเป็นที่ครบ ๑๓ คือนับได้ ๑๒๕๐ นี้หมายถึงภิกษุบริวารของพระอุรุเวลกัสสป นทีกัสสป และคยากัสสป ซึ่งเรียกว่า ปุราณชฏิลมีประมาณ ๑๐๐๐ พระภิกษุบริวารของพระสาริบุตร และพระโมคคัลลานะ ซึ่งเรียกว่าปุราณปริพาชก อีก ๒๕๐ จึงรวมเป็น ๑๒๕๐ ถ้านับพระเถระผู้เป็นหัวหน้าด้วยก็เป็น ๑๒๕๕ และสันนิบาตนั้นได้มีแล้ว ณ เวรุวนาราม จังหวัดราชคฤห์ เมื่อเวลาตะวันบ่าย ดิถีเพ็ญพระจันทร์เสวยมาฆนักษัตร ในปีที่ตรัสรู้นั้นเมื่อมีสันนิบาตพร้อมด้วยองค์ ๔ เป็นอัศจรรย์เช่นนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงทรงทำวิสุทธิอุโบสถทรงแสดงขึ้นซึ่งโอวาทปาฏิโมกข์ ณ ที่ประชุมนั้น อ่านเพิ่มเติม

ธรรมบรรยาย วิถีชีวิตของคน

ธรรมบรรยาย วิถีชีวิตของคน

เป็นธรรมะที่บรรยายโดยพระเทพสิงหบุราจารย์ (หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม) ในโอกาสต่างๆ ที่ผ่านมาในอดีต

ท่านสาธุชนชายหญิงทั้งหลาย
วิถีชีวิตของคนนี้ หมายเอาหนทางดำเนินแห่งชีวิตของเราทุกคน ซึ่งมีการกระทำทางกิริยา วาจา ใจ พร้อมด้วยเจตนาเป็นสัญลักษณ์บอกให้รู้ว่า ถ้าการกระทำเป็นชั่วทุกระยะ ชีวิตก็มืดมัวทั้งมาและไป แต่หากการกระทำดีบ้างชั่วบ้างคละกันไป ชีวิตจะสว่างบ้างมืดบ้าง ตามระยะของการกระทำ และผิว่าการกระทำเป็นดีตลอดแล้ว ชีวิตก็จะสว่างทั้งมาและไป เชิญมาไปดูกันเถิด นี่วิถีชีวิตของคนเรา พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงไว้ ๔ จำพวก คือ คนมืดมาไปมืด, คนมามืดกลับไปสว่าง, คนมาสว่างกลับไปมืด, คนมาสว่างกลับไปสว่าง
คนมืดมาไปมืด ชีวิตของคนมามืดไปมืดนี้ มีมืดมัวตลอดต้นตลอดปลาย ย่อมเป็นสิ่งที่น่าสะดุ้งหวาดเสียเหลือล้น เราทุกคนไม่มีใครชอบ เพราะมันทรมานให้เราต้องเป็นทุกข์เดือดร้อน ยิ่งนัก มีลักษณะอยู่ ๓ ประการ อ่านเพิ่มเติม

ธรรมบรรยาย วันปิยมหาราช

ธรรมบรรยาย วันปิยมหาราช

เป็นธรรมะที่บรรยายโดยพระเทพสิงหบุราจารย์ (หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม) ในโอกาสต่างๆ ที่ผ่านมาในอดีต

รวมรวมโดย พระราชสุทธิญาณมงคล
ความหมาย
วันปิยมหาราช หมายถึง วันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงพัฒนาการศึกษา การทหาร การสื่อสาร การรถไฟ และทรงโปรดให้มีการเลิกทาส โดยมิได้มีการเสียเลือดเนื้อ
ความเป็นมา
เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นที่รักใคร่อย่างล้นเหลือของพสกนิกรทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ ตลอดทั่วขอบขัณฑสีมาปวงประชาราษฎร์ถือว่าพระองค์คือพระราชบิดาแห่งตนและประเทศชาติ รัฐบาลจึงประกาศให้วันที่ ๒๓ ตุลาคม เป็นวัน “ปิยมหาราช”
พระราชประวัติ
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ และสมเด็จพระเทพศิริน-ทราบรมราชินี ประสูติเมื่อวันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๓๙๖ พระนามเดิมว่า “สมเด็จเจ้าฟ้าชายจุฬาลงกรณ์” เมื่อพระชนม์ ๙ พรรษาได้รับสถาปนาเป็นกรมหมื่นพิฆเนศวรสุรสังกาศ ต่อมาอีก ๔ ปี ได้เลื่อนเป็น “กรมขุนพินิตประชานาถ” อ่านเพิ่มเติม

ธรรมบรรยาย วัดในพระพุทธศาสนา ในประเทศไทย

ธรรมบรรยาย วัดในพระพุทธศาสนา ในประเทศไทย
รวบรวมโดย พระราชสุทธิญาณมงคล วัดอัมพวัน จังหวัดสิงห์บุรี

เป็นธรรมะที่บรรยายโดยพระเทพสิงหบุราจารย์ (หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม) ในโอกาสต่างๆ ที่ผ่านมาในอดีต

(๑) ประเทศไทยเป็นประเทศที่ประชาชนส่วนใหญ่นับถือพระพุทธศาสนา มาตั้งแต่อดีตอันไกล พระมหากษัตริย์ไทยผู้ทรงเป็นประมุขของประเทศชาติไทย และรัฐบาลไทย ผู้ปกครองประเทศชาติไทย ก็นับถือพระพุทธศาสนา งานพระพุทธศาสนา ก็เป็นงานพระราชภาระ และเป็นรัฐกิจที่สำคัญควบคู่กันกับการนับถือพระพุทธศาสนาของประชาชนมาตั้งแต่ต้น
เพราะฉะนั้น วัดในพระพุทธศาสนา อันเป็นที่ทำงานพระพุทธศาสนา โดยพระภิกษุสงฆ์เป็นผู้ดำเนินการ พระมหากษัตริย์ รัฐบาล และประชาชน เป็นผู้อุปถัมภ์ จึงมีอยู่ทั่วประเทศไทยในทุกจังหวัด และแทบจะทุกอำเภอ แม้ในภาคใต้ ขณะนี้วัดในประเทศไทย มีมากกว่า ๓๐,๐๐๐ วัด อ่านเพิ่มเติม

ธรรมบรรยาย เรื่องหน้าที่พุทธศาสนิกชน

ธรรมบรรยาย เรื่องหน้าที่พุทธศาสนิกชน
รวบรวมโดย พระราชสุทธิญาณมงคล วัดอัมพวัน จังหวัดสิงห์บุรี

เป็นธรรมะที่บรรยายโดยพระเทพสิงหบุราจารย์ (หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม) ในโอกาสต่างๆ ที่ผ่านมาในอดีต

1. กรรมศรัทธา เชื่อกรรม คือ เชื่อการกระทำเท่านั้น เป็นเหตุให้รวย หรือจน เท่านั้น ให้ดีหรือชั่ว ไม่ใช่เพราะโชคหรือเคราะห์ หรือผีสางเทวดาอะไรอำนวยให้
2. วิปากศรัทธา เชื่อผลของกรรม คือ เชื่อว่าผลของกรรรมนั้นต้องมีแน่นอน และให้ผลตรงตามกรรมที่ทำไว้จนได้ เว้นแต่จะช้าหรือเร็วเท่านั้น ไม่มีใครจะบิดเบือน หรือ ห้ามผลของกรรมที่กระทำมาแล้วไม่ให้บังเกิดผลได้
3. กัมมัสสกตาศรัทธา เชื่อว่าสัตว์มีกรรมเป็นของตนเอง ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว ไม่มีใครจะทำให้คนดีหรือคนชั่วได้ ตนเองก็ไม่สามารถจะทำให้ใครดีหรือชั่วได้ ความดีและความชั่วเป็นของจำเพาะตัวเท่านั้น
4. ตถาคตโพธิศรัทธา คือ เชื่อว่าพระพุทธเจ้าตรัสรู้ด้วยพระปัญญาของพระองค์เอง ไม่มีผู้ใดสั่งสอน และสิ่งที่พระองค์ตรัสรู้นั้นเป็นของจริง อย่างประเสริฐยิ่ง จะหาสิ่งใดจริงหรือประเสริฐเสมอ มิได้ อ่านเพิ่มเติม

ธรรมบรรยาย เรื่องหนอ

ธรรมบรรยาย เรื่องหนอ

เป็นธรรมะที่บรรยายโดยพระเทพสิงหบุราจารย์ (หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม) ในโอกาสต่างๆ ที่ผ่านมาในอดีต

คำว่า หนอ นี้ พุทธบริษัทผู้ที่ไม่ได้ศึกษาเล่าเรียนบาลีมา ย่อมจะต้องมีความข้องใจสงสัยไปตามวิจิกิจฉาเจตสิกของตนต่างๆ นานา บางท่านก็อาจจะคิดไปต่างๆ ในทางเป็นบุญเป็นกุศล บางท่านก็อาจจะคิดไปในทางไม่ดีไม่งาม เป็นบาปเป็นอกุศล บางท่านก็อาจจะวางตนเป็นกลางเฉยๆ คือฟังหูไว้หู ฝ่ายท่านที่เป็นมหาเปรียญได้ผ่านการเรียนบาลีไวยากรณ์แปลธรรมบท แปลมงคลทีปนี เป็นต้น มาดีแล้ว ก็คงจะเข้าใจดีอยู่แล้ว ข้าพเจ้าได้ถูกถามเรื่องหนอนี้มามากต่อมากแล้ว บางท่านก็ตั้งใจให้ข้าพเจ้าเป็น อาจารย์หนอ หรือ หลวงพ่อหนอ ก็มีบางท่านก็เอาไปล้อเลียนกันเล่นเป็นของสนุกไปได้ บางท่านก็อยากมาทดลองดู บางท่านก็ว่าปู่ย่าตายายของตนไม่เคยได้รู้ได้เห็น และบางท่านก็เกลียดหนอเสียจริงๆ ก็มี อ่านเพิ่มเติม

ธรรมบรรยาย เรื่องความสุข – ที่ควรใฝ่หา – เพื่อพัฒนาคุณภาพ

ธรรมบรรยาย เรื่องความสุข – ที่ควรใฝ่หา – เพื่อพัฒนาคุณภาพ
โดย พระราชสุทธิญาณมงคล วัดอัมพวัน อ.พรหมบุรี จ.สิงห์บุรี

เป็นธรรมะที่บรรยายโดยพระเทพสิงหบุราจารย์ (หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม) ในโอกาสต่างๆ ที่ผ่านมาในอดีต

งานสำคัญ – เพื่อชีวิตของทุกคน ๆ อย่างหนึ่ง ซึ่งทำด้วยตัวเองชั่วชีวิต เพราะเป็นงานกำหนดชาตาชีวิต ก็คือ งานพัฒนาตัวเอง
งานพัฒนาตัวเอง ได้แก่
1. การสร้างสรรค์สิ่งที่ตัวจำเป็นต้องมี หรือสิ่งที่ตัวควรจะมี แต่ยังไม่มี ให้มีขึ้น
2. การปรับปรุงสิ่งที่ตัวมีอยู่แล้วทั้งโดยการกระทำ ทั้งโดยธรรมชาติ แต่ไม่เหมาะสม ด้วยสภาพปัจจุบัน ให้มีความเหมาะสม
3. การแก้ไขสิ่งที่ตัวทำผิดพลาด ไม่ถูกต้อง ให้มีความถูกต้องตามสภาพที่พึงประสงค์
งานพัฒนาตัวเอง เป็นสิ่งที่ทุกคน ต้องทำด้วยตัวเอง เพราะไม่มีใครสามารถจะทำให้ใครได้ เหมือนการรับประทานอาหาร คนที่ต้องการอาหาร ต้องรับประทานด้วยตนเอง ไม่มีทางที่จะให้ใครรับประทานแทนได้ การรับการรักษาพยาบาล เมื่อเวลาป่วยไข้ คนป่วยต้องรับเอง คนป่วยต้องรับประทานยาเอง ต้องรับการฉีดยาเอง แม้มีความจำเป็นจะต้องผ่าตัด ก็ต้องรับการผ่าตัดเอง จะลำบากจะเจ็บปวดประการใด ก็จำต้องทนรับ จะให้ใครรับแทนไม่ได้ เพราะตนป่วย คนอื่นไม่ได้ป่วยด้วย อ่านเพิ่มเติม

ธรรมบรรยาย เราทนไม่ได้เพราะใจขาดธรรมะ

ธรรมบรรยาย เราทนไม่ได้เพราะใจขาดธรรมะ

เป็นธรรมะที่บรรยายโดยพระเทพสิงหบุราจารย์ (หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม) ในโอกาสต่างๆ ที่ผ่านมาในอดีต

เมื่อเข้าไปบรรยายธรรมในเรือนจำ คดีส่วนมาก ที่ผู้ต้องหากระทำผิด คือ :-
ฉุดคร่าอนาจาร
ลักขโมยฉกชิงวิ่งราว
ยักยอกทรัพย์ของทางราชการ
ทำร้ายร่างกาย ฆ่าฟัน
เสพและติดยาเสพติด
ขายยาเสพติด
หลอกลวงหญิงไปขาย
ขับรถประมาทเกิดอุบัติเหตุ
รับจ้างทำแท้ง
เป็นมือปืนรับจ้าง
นักกีฬาขายชาติ
คนทำลายป่าไม้
เจ้าหน้าที่รัฐรับสินบน
ภริยาสามีนอกใจและทะเลาะกัน
นักเรียนชิงสุกก่อนห่าม
วัยรุ่นมั่วสุมแหล่งเริงรมย์
ชาวบ้านถูกจับเพราะเล่นการพนัน
——————————

ขอบคุณข้อมูล : http://palipage.com/watam/piyapan4/K00066.htm

ธรรมบรรยาย เมื่อสูงอายุ – เมื่อสูงวัย

ธรรมบรรยาย เมื่อสูงอายุ – เมื่อสูงวัย

เป็นธรรมะที่บรรยายโดยพระเทพสิงหบุราจารย์ (หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม) ในโอกาสต่างๆ ที่ผ่านมาในอดีต

เมื่อความชรา คือ ธรรมชาติของมนุษย์ซึ่งเป็นสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่ง เป็นขบวนการซึ่งมีความต่อเนื่องมาตั้งแต่วัยหนุ่มสาว เมื่อใดก็ตามที่มนุษย์มีอายุยืนยาวขึ้นนั้น หมายความว่ามนุษย์ผู้นั้นต้องเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาตินั้นหลีกเลี่ยงไม่ได้
ความเปลี่ยนแปลงที่พบได้ในวัยชรานั้น พบได้หลายด้านอาทิ เช่น
๑. การเปลี่ยนแปลงทางสุขภาพอนามัย
ด้วยอวัยวะที่เสื่อมสลายประสิทธิภาพการทำงานย่อมลดลง ผู้สูงอายุจึงอาจมีโรคต่าง ๆ ได้ง่ายกว่าคนทั่วไป โรคเหล่านี้ล้วนมีสาเหตุมาจากความเสื่อมเสียเป็นส่วนใหญ่ ทั้งป้องกันได้และป้องกันไม่ได้ เช่น โรคสมองเสื่อม ข้อเสื่อม ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ เบาหวาน มะเร็ง แม้ไม่เป็นโรคประสิทธิภาพในการด้านอื่น ๆ อาจลดลง เช่น ขี้หลงขี้ลืม คิดช้า ความต้านทานโรคลดลง การย่อยอาหารลดลง ทำให้เกิดอาการท้องอืดท้องเฟ้อ อ่านเพิ่มเติม

ธรรมบรรยาย มรรครวมตัว

ธรรมบรรยาย มรรครวมตัว

เป็นธรรมะที่บรรยายโดยพระเทพสิงหบุราจารย์ (หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม) ในโอกาสต่างๆ ที่ผ่านมาในอดีต

ไตรสิกขาเป็นเหตุ วิมุตติเป็นผล
(จะเข้าถึงวิมุตติต้องปฏิบัติให้บริบูรณ์ ในศีล สมาธิ ปัญญา)
อริยมรรคมีองค์ ๘ ตัวปฏิบัติวิปัสสนาอยู่ที่สติปัฏฐาน ๔
(คือ กาย เวทนา จิต ธรรม)
ปฏิบัติ เพื่อละอภิชฌา และโทมนัส (ซึ่งมีอัตตาเป็นเหตุ)
เมื่อมรรครวมตัว จะรู้จักกำหนดทุกอย่างรอบตัวเรา เป็นธรรมะทั้งหมด
เมื่อมรรครวมตัว จะรู้จักกำหนดทุกอย่างรอบตัวเรา เป็นทุกข์ทั้งหมด
เมื่อมรรครวมตัว จะรู้จักกำหนดทุกอย่างรอบตัวเรา เป็นอนิจจังทั้งหมด
เมื่อมรรครวมตัว จะรู้จักกำหนดทุกอย่างรอบตัวเรา เป็นอนัตตาทั้งหมด
ในอริยมรรคมีองค์ ๘ บทใดที่ท่านให้เราละ เราละเว้นแล้วหรือยัง?
ในอริยมรรคมีองค์ ๘ บทใดที่ท่านให้เราเจริญ เราเจริญแล้วหรือยัง?
คำว่า รูป – นาม คำว่า มรรค – ผล คำว่า นิพพาน อ่านเพิ่มเติม

ธรรมบรรยาย ภัยของชีวิต

ธรรมบรรยาย ภัยของชีวิต

เป็นธรรมะที่บรรยายโดยพระเทพสิงหบุราจารย์ (หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม) ในโอกาสต่างๆ ที่ผ่านมาในอดีต

อุทกภัย ภัยคือน้ำท่วม (น้ำสุราต่างๆ ชนิด)
อัคคีภัย ภัยคือไฟไหม้ (ไฟบุหรี่-กัญชา-ฝิ่น)
ปีศาจภัย ภัยจากผีหลอก (ดนตรี-ลิเกต่างๆ)
อิตถียภัย ภัยจากผู้หญิง (โรคเอดส์)
ปุริสภัย ภัยจากผู้ชาย (ถูกเขาหลอกไปขาย)
พาลภัย ภัยจากการคบคนพาล (ติดคุก)
ปมาทภัย ภัยจากความประมาทมัวเมา อ่านเพิ่มเติม

ธรรมบรรยาย พุทธศาสนาเป็นเรื่องของการทำใจ

ธรรมบรรยาย พุทธศาสนาเป็นเรื่องของการทำใจ

เป็นธรรมะที่บรรยายโดยพระเทพสิงหบุราจารย์ (หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม) ในโอกาสต่างๆ ที่ผ่านมาในอดีต

ชีวิตคนเรามันไหลอยู่ตลอดเวลา เป็นก้อนเนื้อที่มันไหลมาและจะไหลไปต่อไปไม่สิ้นสุด
อวัยวะร่างกายของเรา มันจะแก่มันจะไหลไปสู่ความแก่ เราห้ามไม่ได้
ฝนจะตก น้ำจะท่วม ลมจะพัด แดดจะร้อน อากาศจะหนาว เราห้ามไม่ได้
พ่อแม่พี่น้องของเรา ท่านจะแก่ จะเจ็บ จะตาย เราห้ามไม่ได้
เพราะขาดประสบการณ์ทางจิต เราจึงรัก เราจึงหลง เราจึงร้องไห้
เพราะมีประสบการณ์ทางจิตเราจึงไม่รัก ไม่หลง ไม่ร้องไห้
พระอริยะอรหันต์ พระพุทธเจ้า ก็ป้องกันไม่ให้ใครแก่เจ็บตายได้
แต่ท่านเหล่านั้น มีประสบการณ์ทางจิต ทำใจได้ไม่เป็นทุกข์ ไม่ร้องไห้ ไม่เสียใจ
ปุถุชนเช่นเรา ขาดประสบการณ์ทางจิต ทำใจไม่ได้ จึงเป็นทุกข์ จึงร้องไห้ จึงเสียใจ
อริย-ปุถุชน ต่างกันตรงที่ทำใจได้ และทำใจไม่ได้ อ่านเพิ่มเติม

ธรรมบรรยาย เป้าหมายการพัฒนาวัด

ธรรมบรรยาย เป้าหมายการพัฒนาวัด
รวบรวมโดย พระราชสุทธิญาณมงคล วัดอัมพวัน จังหวัดสิงห์บุรี

เป็นธรรมะที่บรรยายโดยพระเทพสิงหบุราจารย์ (หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม) ในโอกาสต่างๆ ที่ผ่านมาในอดีต

1. ปกครองมีระเบียบรัดกุม
2. บริเวณวัด สะอาดร่มรื่น
3. มีกิจกรรมอำนวยประโยชน์แก่ประชาชน
การที่จะไปถึงเป้าหมายทั้ง ๓ นั้นได้มีจุดสำคัญที่เจ้าอาวาสจะพึงสนใจดูแลอยู่ ๘ จุดด้วยกัน คือ
1. สงฆ์ คือ พระในวัด
2. สมณธรรม คือ ทำกิจวัตร
3. เสนาสนะ คือ ที่อยู่อาศัย
4. สวัสดิการ คือ ปัจจัยอำนวยความผาสุข
5. สมบัติของวัด คือ ผลประโยชน์รายได้
6. สัปบุรุษ คือ ชาวบ้านผู้บำรุงวัด
7. สังฆาธิการ คือ การประสานงานกับเจ้าคณะ
8. สาธารณะสงเคราะห์ คือ การบำเพ็ญประโยชน์

อ่านเพิ่มเติม

ธรรมบรรยาย ประโยชน์ของชีวิตในโลกทั้งสาม

ธรรมบรรยาย ประโยชน์ของชีวิตในโลกทั้งสาม

เป็นธรรมะที่บรรยายโดยพระเทพสิงหบุราจารย์ (หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม) ในโอกาสต่างๆ ที่ผ่านมาในอดีต

(ธรรมชาติของมวลมนุษย์ทุกคนกลัวจน แต่อยากรวย)
ต้องขยันในการกระทำกิจการงานทั้งหลายทั้งปวง
อารักขสัมปทา หมั่นรักษาในทรัพย์ที่ตนหามาได้ไว้
(มิให้น้ำท่วม ไฟไหม้ ผีหลอก ทรัพย์ได้)
รู้จักเลือกคบคนดี มีศีล มีธรรมะ มีคุณธรรม เป็นเพื่อนเป็นมิตรเป็นสหาย
(อเสวนา จ พาลานัง)
รู้จักแบ่งปันทรัพย์ที่ตนหามาได้ โดยทางที่ชอบ
(ใช้หนี้เก่า ให้เขายืม ใส่ปากงูเห่าจรเข้ ทิ้งเหว ฝังดิน)
ประโยชน์ในโลกเบื้องหน้า

อ่านเพิ่มเติม

ธรรมบรรยาย ประโยชน์ของการบริหารจิต

ธรรมบรรยาย ประโยชน์ของการบริหารจิต

เป็นธรรมะที่บรรยายโดยพระเทพสิงหบุราจารย์ (หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม) ในโอกาสต่างๆ ที่ผ่านมาในอดีต

คำว่า ประโยชน์ หมายถึงสิ่งที่ดีที่ถูกและที่ควร สิ่งใดก็ตามเป็นสิ่งที่ดีที่ถูกที่ควร สิ่งนั้นเรียกว่าสิ่งมีประโยชน์ การกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งก็ตามเป็นการกระทำที่ดีที่ถูกที่ควร การกระทำสิ่งนั้นเป็นการกระทำเป็นประโยชน์ คำพูดใดเป็นคำพูดที่ดีที่ถูกที่ควร คำพูดนั้นเป็นคำพูดมีประโยชน์ ความคิดใดเป็นความคิดไม่ดีไม่ถูกไม่ควร ความคิดนั้นเป็นความคิดไม่เป็นประโยชน์ ในทางตรงกันข้าม สิ่งใดก็ตาม การกระทำใดก็ตาม การพูดใดก็ตาม ความคิดใดก็ตาม เป็นไปในทางไม่ดี ไม่ถูกไม่ควร สิ่งนั้นเป็นต้น เรียกว่าไร้ประโยชน์หรือไม่เป็นประโยชน์ สิ่งของบางอย่างมีประโยชน์มากเมื่อนำไปใช้ในทางที่ดีที่ถูกที่ควร แต่ถ้านำไปใช้ในทางไม่ดีไม่ถูกไม่ควรก็มีโทษมหาศาล พอจะเข้าใจคำว่า ประโยชน์กันแล้วซึ่งได้กล่าวในวงกว้างๆ

อ่านเพิ่มเติม

ธรรมบรรยาย ประโยชน์ของโลกเบื้องหน้า

ธรรมบรรยาย ประโยชน์ของโลกเบื้องหน้า

เป็นธรรมะที่บรรยายโดยพระเทพสิงหบุราจารย์ (หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม) ในโอกาสต่างๆ ที่ผ่านมาในอดีต

(ธรรมชาติของมวลมนุษย์ทุกคนกลัวจน แต่อยากรวย)
ต้องขยันในการกระทำกิจการงานทั้งหลายทั้งปวง
อารักขสัมปทา หมั่นรักษาในทรัพย์ที่ตนหามาได้ไว้
(มิให้น้ำท่วม ไฟไหม้ ผีหลอก ทรัพย์ได้)
รู้จักเลือกคบคนดี มีศีล มีธรรมะ มีคุณธรรม เป็นเพื่อนเป็นมิตรเป็นสหาย
(อเสวนา จ พาลานัง)
รู้จักแบ่งปันทรัพย์ที่ตนหามาได้ โดยทางที่ชอบ
(ใช้หนี้เก่า ให้เขายืม ใส่ปากงูเห่าจรเข้ ทิ้งเหว ฝังดิน)
ประโยชน์ในโลกเบื้องหน้า
ถึงพร้อมด้วยศรัทธาในพระรัตนตรัย เชื่อกรรม เชื่อผลของกรรม เชื่อปัญญาการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
ถึงพร้อมด้วยศีล จุลศีล มัชฌิมศีล มหาศีล ปาริสุทธิศีล อริยกันตศีล
ถึงพร้อมด้วยการบริจาค ถึงพร้อมด้วยบุญญเจตนา บุญญเขต บุญญสถาน บุญญวัตถุ อามิสทาน ธรรมทาน อภัยทาน สุญญตาทาน ให้ชีวิตเลือดเนื้อเป็นทาน
ถึงพร้อมด้วยปัญญา ทั้งโลกิยปัญญา และโลุกตรปัญญา ที่รอบรู้ในกองสังขาร ตามความเป็นจริง
ประโยชน์อย่างยิ่ง คือพระนิพพาน อ่านเพิ่มเติม

ธรรมบรรยาย บาปบันดาล บุญบันดาล

ธรรมบรรยาย บาปบันดาล บุญบันดาล

เป็นธรรมะที่บรรยายโดยพระเทพสิงหบุราจารย์ (หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม) ในโอกาสต่างๆ ที่ผ่านมาในอดีต

บาปบันดาล ให้เกิดเป็นผู้หญิง เพราะผิดศีลข้อกาเมสุมิจฉาจาร
ให้เกิดเป็นกะเทยบัณเฑาะก์ เพราะผิดศีลข้อกาเมฯ
ให้เกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน เพราะความหลง
ให้เกิดเป็นเปรต อสูรกาย เพราะความโลภ
ให้เกิดเป็นสัตว์นรก เพราะความโกรธ
ให้เกิดเป็นมนุษย์ ง่อย-บ้าใบ้-หูหนวก-ตาบอด-พิการต่างๆ เพราะผิดศีลข้อปาณาติบาต
ให้โง่เขลา เพราะดูถูกสติปัญญาผู้อื่น
ให้เกิดในตระกูลมิจฉาทิฏฐิ เพราะดูถูกพระธรรม
ให้มีบุตรธิดาเป็นมิจฉาทิฏฐิ เพราะกรรมที่ทำลายพระศาสนา อ่านเพิ่มเติม

ธรรมบรรยาย บรรยายธรรม ญาติของผู้ป่วย

ธรรมบรรยาย บรรยายธรรม ญาติของผู้ป่วย
คุณโยมชาญ กรศรีทิพา

เป็นธรรมะที่บรรยายโดยพระเทพสิงหบุราจารย์ (หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม) ในโอกาสต่างๆ ที่ผ่านมาในอดีต

วันพุธที่ ๒๗ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๓๓
ตรงกับวันขึ้น ๕ ค่ำ เดือน ๘ ปีมะเมีย

เมื่อกาลครั้งหนึ่ง อาตมาได้มาเยี่ยมโยมชาญ กรศรีทิพา ขณะอยู่ที่บ้านและกำลังป่วยอยู่ โยมพวงรัตน์ พร้อมบุตรธิดา ได้พร้อมใจกันถวายสังฆทาน เป็นการทำบุญแทนโยมชาญ กรศรีทิพา ที่ท่านป่วย โดยมีความระลึกถึงท่าน มีจิตใจรักและมีความผูกพันต่อท่าน หวังจะให้ท่านได้หายจากความเจ็บป่วยนี้ ในฐานะที่เป็นพุทธศาสนิกชน สิ่งที่จะเป็นเครื่องบำรุงจิตใจที่สำคัญก็คือการทำบุญ การที่ได้มาใกล้ชิดพระรัตนตรัย ได้อาศัยอานุภาพบุญกุศล และอาศัยพุทธคุณ ธรรมคุณ และสังฆคุณ เป็นเครื่องอภิบาลรักษาในยามเจ็บไข้ได้ป่วย ซึ่งเป็นเวลาที่สำคัญนี้ เรื่องของจิตใจก็สำคัญมาก ทั้งจิตใจของผู้ป่วย และจิตใจของญาติ ตลอดจนท่านที่มีความเคารพนับถือ ซึ่งพากันห่วงใย อ่านเพิ่มเติม

ธรรมบรรยาย บทบาทของพระสงฆ์ กับ สังคมไทย

ธรรมบรรยาย บทบาทของพระสงฆ์ กับ สังคมไทย
เรื่องกิจกรรมของพระสงฆ์ กับ สังคมไทย

เป็นธรรมะที่บรรยายโดยพระเทพสิงหบุราจารย์ (หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม) ในโอกาสต่างๆ ที่ผ่านมาในอดีต

กิจกรรมของสงฆ์
1. สิ่งที่จะต้องศึกษาแสวงหาความรู้ทั้งทางโลก และทางธรรม
2. สิ่งที่จะต้องละความไม่ดีไม่งามทั้งหมด
3. สิ่งที่จะทำให้แจ้งถึงจิตถึงใจ
4. สิ่งที่ควรจะพัฒนา – ทำความเจริญทั้งรูปธรรม – นามธรรม
วัดจะต้องมีกิจกรรมอยู่ ๕ ประการ
1. วัดเป็นที่อาศัยพำนักของภิกษุสามเณร
2. วัดเป็นที่บวชเรียนของลูกหลานชาวบ้าน
3. วัดเป็นที่ทำบุญบำเพ็ญกุศลของชาวบ้านรอบวัด
4. วัดและพระสงฆ์ เป็นที่พึ่งทางใจของประชาชน
5. วัดเป็นศูนย์กลางทางกิจกรรมของสังคมและประชาชน อ่านเพิ่มเติม

. . . . . . .